เพราะเวลาน้องแมวรู้สึกผ่อนคลาย เค้าก็จะชอบทำตาเล็กๆ หรี่ๆ เหมือนกัน . เวลาเราเลียนแบบสีหน้า ทำเหมือนที่น้องแมวกำลังผ่อนคลาย น้องแมวจะรู้สึกปลอดภัย ไม่ระแวงอีกครับ . นั่นคือสาเหตุที่น้องแมวกล้าเข้าใกล้ เมื่อเรากระพริบตาช้าๆ แบบนี้ (กระพริบตาให้เห็นด้วยนะ555)
ยินดีกับน้องด้วยนะครับ น้องเก่งจริงๆ #LISAforVogueJapan twitter.com/kinowhatsnew/s…
เค้าบอกว่าตอนที่แมวนั่ง แล้วส่ายหางไปมา มีความหมายว่า “กำลังหงุดหงิด” เป็นสัญญาณหางที่บอกว่า “ไม่อยากถูกจับ หรือไม่อยากให้มายุ่ง” . ถ้าเจอแมวนั่งส่ายหางอยู่ ให้ปล่อยน้องไปก่อน อย่าเพิ่งไปยุ่งนะ #สาระญี่ปุ่นกับคุณบูม
เค้าบอกว่าถ้าเป็นซาลารี่แมนอย่างเดียวไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติม เป็นไปไม่ได้ที่จะมีรายได้ขนาดนั้น . หนึ่งวิธีที่เจ้าของกระทู้แนะนำคือ การทำอาชีพที่ได้เงินเดือนสูง เค้าเลยแปะอาชีพรายได้สูงไว้ให้ดู นักบินได้ 20.48 ล้านเยน/ปี หมอได้ 11.61 ล้านเยน/ปี ศาสตราจารย์มหาลัยได้ 10.81 ล้านเยน/ปี
เห็นเค้าบอกว่านี่คือสัญญาณขอความช่วยเหลือ SOS ที่เป็นสากล ไม่แน่ใจว่าใช่มั้ยครับ? เพิ่งรู้เลย twitter.com/nekonekovideo/…
นิสัยอ่านหนังสือ, นิสัยฟัง podcast,นิสัยเขียนบันทึกประจำวัน, นิสัยชอบหาคอนเนคชันใหม่ๆ, นิสัยค้นคว้าสิ่งที่สนใจ, นิสัยชอบไปสัมมนา, นิสัยเปลี่ยนเวลาเดินทาง เป็นเวลาเรียนรู้, นิสัยชอบถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่น, นิสัยมีเป้าหมาย ทำแค่อันใดอันหนึ่งในนี้ได้ทุกวัน ชีวิตดีขึ้นแน่นอนขอการันตี
การนอน เป็นสิ่งสำคัญมากๆ โดยเฉพาะยุคนี้ที่มีโรคแพร่ระบาด การนอนนอกจากจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานและใช้ชีวิตดีขึ้นแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันให้ร่างกายด้วย . ถ้าอยากมีคุณภาพการนอนที่ดี ผมเอา 9 เทคนิคจาก Professor นิชิโนะมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนครับ #สุขภาพญี่ปุ่นกับคุณบูม
เทคนิคที่ผมกำลังจะเล่าทั้ง 9 อย่างนี้คือคำแนะนำจาก Prof. Nishino เจ้าของหนังสือ Bestseller ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการนอนหลับ นักวิจัยระดับโลกที่ทำวิจัยเกี่ยวกับการนอนหลับ ผู้อำนวยการสถาบันการวิจัยการนอนหลับแห่งม.Stanford ม.อันดับ 2 ของโลกด้วย ท่านทำเรื่องนี้มามากกว่า 30 ปีแล้ว
เค้าบอกว่า เรื่องนอน เป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะช่วงนี้ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด พบว่าคนญี่ปุ่นยิ่งหนักใจมากขึ้นเกี่ยวกับ “ปัญหาการนอนไม่พอ” . จากการสำรวจคนเมือง 1,000 คน 40%ตอบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการนอน และค่าเฉลี่ยการนอนคนญี่ปุ่นอยู่อันดับโหล่จาก 33 ประเทศ นอนแค่ 7ชม22 นาที/วัน
เมื้อนอนไม่พอ อาจจะมีโรคอื่นๆ ตามมาได้ เช่น โรคอ้วน โรคซึมเศร้า โรคสมองเสื่อม โรคมะเร็ง ที่สำคัญภูมิคุ้มกันร่างกายก็จะตกลงด้วย ซึ่งจะทำให้ร่างกายเรามีภาวะเสี่ยงที่จะติดโควิดมากขึ้น . ฉะนั้น วันนี้ผมจะมาแนะนำ นิสัย 9 อย่างที่จะช่วยแก้ไขให้คุณภาพการนอนของเราดีขึ้น
ก่อนที่จะไปดูเทคนิคเพิ่มคุณภาพการนอน ผมอยากให้พวกเราลองตรวจสอบตัวเองก่อนว่า เรามีปัญหาเรื่องการนอนจริงหรือไม่ เคยมั้ยที่เรารู้สึกว่าคืนนี้เรานอนเยอะนะ แต่ยังตื่นมายังรู้สึกเพลีย ล้า รู้สึกนอนไม่พอ อ.เรียกสิ่งๆ นี้ว่า “เราติดหนี้การนอน” คืออาการนอนหลับไม่เต็มอิ่มที่มันสะสมมาเรื่อย
เราติดหนี้การนอนหรือไม่ เช็คได้จาก 7 ข้อนี้ (คุณภาพการนอนไม่ดี/ร่างกายนอนไม่เต็มอิ่มหรือไม่?) □ 1.แค่เริ่มต้นวันจันทร์ก็รู้สึกเหนื่อยแล้ว □ 2.รู้สึกหลงลืมมากขึ้น □ 3.วันหยุดจะนอนนานกว่าวันธรรมดา มากกว่า 90 นาที □ 4.หลับได้ภายใน 5 นาที(ดูเหมือนจะดีแต่ไม่ดีนะเดี๋ยวอธิบายทีหลัง)
□ 5.รู้สึกหงุดหงิดง่ายกับเรื่องเล็กๆ (ตย.เช่น เพื่อนตอบไลน์ช้าก็หงุดหงิดแล้ว) □ 6.ชอบเล่นสมาร์ทโฟนก่อนนอน □ 7.เผลอนอนหลับที่โซฟา
อ่านแล้วรู้สึกว่าตัวเองเข้าข่ายไปกี่ข้อกันบ้างครับ ? prof.nishino อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า... เช็คได้ 2-3 ข้อ : มีความเป็นไปได้ที่จะติดหนี้การนอน เช็คได้ 4-5 ข้อ : มีปัญหาติดหนี้การนอน เช็คได้ 6-7 ข้อ : ติดหนี้การนอนแน่นอน
ข้อ 4 ที่บอกว่าหลับได้ภายใน 5 นาทีนั้น ดูเหมือนเป็นเรื่องดีสำหรับการนอนนะ แต่อาจารย์บอกว่า คนที่มีแนวโน้มติดหนี้การนอนนั้น จะมีภาวะเผลอหลับ วูบหลับได้ง่ายด้วย ก็เลยเอามาเป็น 1 ในเช็คลิสต์นั่นเอง
เทคนิคสร้างนิสัยการนอนที่ดีมีคุณภาพ เทคนิค 1 : ให้นอนตะแคง . เพราะเราจะหายใจได้ง่ายขึ้นขณะนอนท่านี้ (แถมช่วยลดปัญหาให้กับคนที่มีปัญหาชอบนอนกรนด้วย) .
เทคนิค 2 ให้ทานน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะก่อนนอน . จะผสมกับน้ำอุ่น หรือชาสมุนไพรแบบไม่มีคาเฟอีนก็ได้ การทานน้ำผึ้งจะช่วยให้ร่างกายรักษาระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างนอนหลับ ช่วยป้องกันปัญหาคุณภาพการนอนไม่ดี
เทคนิค 3 ใช้เจลเย็นวางแนบไว้กับหมอนเพื่อให้หมอนเย็นขึ้น . เค้าบอกว่ากลไกการนอนของคนเรา จะเริ่มจากการที่ร่างกายค่อยๆ ลดอุณหภูมิให้ต่ำลง จนกระทั่งหลับ .
การทำให้หมอนเย็นลง เค้าบอกว่าจะช่วยให้เราเข้าสู่โหมดการนอนได้สมูทขึ้นครับ . คุณอะกะโฮชิ นักเบสบอลชื่อดังในญี่ปุ่นที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ เค้าทดลองทำตามวิธีนี้ แล้วยืนยันด้วยครับว่า คุณภาพการนอนดีขึ้นจริงๆ
เทคนิค 4 (เป็นเทคนิคที่เข้ากับไลฟ์สไตล์คนญี่ปุ่นที่ชอบแช่โอฟุโระอาบน้ำ) “ให้แช่โอะฟุโระก่อนนอน 90 นาที” 40 องศา 15 นาที ตอนนอนร่างกายเราจะมีการหลั่งเมลาโทนิน อุณหภูมิร่างกายค่อยๆ ลดลง ช่วยให้หลับได้อย่างธรรมชาติ (กลไกของร่างกายจะรู้สึกง่วงเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูง แล้วค่อยๆต่ำลง)
เทคนิค 5 “เปลี่ยนชุดเป็นชุดนอน” . การใส่ชุดนอน ช่วยให้ร่างกายอยู่ในสภาพสบาย เนื้อผ้าของชุดนอนนั้นถูกออกแบบให้ซับเหงื่อและระบายอากาศ/ความร้อนได้ดี นอกจากนี้การเปลี่ยนชุดนอนยังช่วยสื่อสารไปยังสมองด้วยว่า “กำลังจะนอนแล้ว” ช่วยให้สมอง อวัยวะในร่างกายพร้อมลดอุณหภูมิเข้าสู่โหมดนอน
ส่วนชุดนอนที่แนะนำ เน้นชุดนอนที่ผ้าสวมสบาย เช่น ผ้าฝ้าย หรือ silk . ในรายการเค้าได้ทำการทดลองด้วย โดยเปรียบเทียบระหว่างการใส่ชุดนอนผ้าสเวต กับผ้าฝ้าย 100% ใส่อันไหนคุณภาพการนอนจะดีกว่ากัน ทดลองกับ ญ วัย 30 วัย 40 และ ช วัย 40
เทคนิค 6 “ก่อนนอนทุกครั้งให้อิมเมจตัวเองว่า จะตื่นกี่โมง ตื่นมาแล้วจะทำอะไร” . เช่น พรุ่งนี้เราจะตื่น 7 โมงเช้านะ ตื่นมาเราจะจัดมื้อเช้าให้เต็มที่เลย พอคิดเช่นนี้แล้วค่อยเข้านอนนะ จะช่วยให้คุณภาพการนอนดีขึ้นครับ
เค้าบอกว่าก่อนนอน ถ้าฝึกอิมเมจว่า “จะตื่นกี่โมง ตื่นแล้วจะทำอะไร”จะช่วยให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลมากขึ้น ตื่นนอนจะรู้สึกสดชื่นมีพลัง เวลาอยากตื่นก็จะตื่นได้ดี รู้สึกกระปรี้กระเปร่าด้วย
เทคนิค 7 มื้อเช้าให้ตั้งใจเคี้ยว (วิธีหลังจากนี้ทำได้หลังตื่นนอน) เมื่อตื่นนอนใหม่ๆ สมองของเรายังคงหลับอยู่ การตั้งใจเคี้ยวในมื้อเช้า เหมือนเป็นการส่งสัญญาณไปที่สมองว่า “ตอนนี้เราตื่นแล้วนะ” . เป็นการเปิดสวิตซ์ให้สมอง ช่วยให้จังหวะต่างๆ ของร่างกายเกิดความสมดุล