102
ใครอยากได้เป็นไฟล์โหลดได้ตามลิงก์นี้เลยครับ blogs.monm.edu/writingatmc/fi…
103
ช่วงนี้มีคนมาขอให้ช่วยเรื่องการเขียน essay ช่วยไปแนะนำ source ให้ไปลองดูเพิ่ม และพบว่ามี Youtube channel ที่สอนเรื่องนี้ไว้ได้ดีมากทีเดียวครับ สนใจลองดูนะครับ
youtu.be/UFXN8v4V-fI
104
#มีหนังสือมาเสนอ
นส.เล่มนี้เป็นตำราเรียนวิจัยสังคมศาสตร์ที่หลายๆ มหาวิทยาลัยใช้ครับ การันตีคุณภาพว่ามีค.รู้จำเป็นในการทำวิจัยสายสังคมอยู่เต็มเปี่ยม Earl Babbie ผู้เขียนอธิบายแนวคิดต่างๆ ตั้งแต่การวิจัยคืออะไร ตัวแปรเป็นยังไง พร้อมยกตัวอย่างไว้ละเอียดทีเดียว ใครสนใจลองหาดูครับ
105
(1) ว่าด้วยเรื่องการเขียน argumentative essay
ปีนี้เจอคนที่มีปัญหากับการเขียน argumentative essay เยอะเหมือนกัน เลยจะมาแชร์ทริคในการเขียนแนวนี้ให้ครับ
argumentative essay หลักๆ คือการหาเรื่องมา 1 เรื่อง (ซึ่งเรื่องนั้นควรประเด็นที่ controversy ประมานนึง คือ มีมุมมองได้หลายมุม)
106
(2) เมื่อเลือกเรื่องแล้ว ให้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้นเพื่อทำค.เข้าใจเรื่องก่อน โดย 1) ศึกษาพัฒนาการในเชิงแนวคิดหรือปวศ.ของเรื่องนั้น 2) ศึกษาแง่มุมค.เห็นต่างๆ ของเรื่องนั้น หลังจากนั้นเลือกมุมมองหรือแนวคิดมา 1 มุมที่เราคิดว่ามุมนี้หรือทางนี้แหละคือ แง่ที่ดีในการมอง
107
ว่าด้วยเรื่อง such as ...
ได้ตรวจงานเขียนแล้วพบว่า วลีใช้ยกตย. ส่วนมากที่ชอบใช้กันคือ such as กับ for example
จริงๆ มีให้เลือกใช้อีกหลายตัวเลย ได้แก่
..including:
..but not limit to:
..some of which are:
..which include:
..for instance:
.. ー x, y and z to name a few.
108
(1) มีโอกาสได้ฟังและให้คะแนนงานนำเสนอของนิสิตปี 1
เรื่องของเรื่องคือ มีนิสิตคนนึงนำประเด็นซีรีส์ Y มาพูด ซึ่งพูดได้น่าสนใจว่า ซีรีส์ Y นำไปสู่การสร้างกรอบแบ่งประเภทผู้ชายใหม่ เป็นผู้ชายมาดเคะ และผู้ชายมาดเมะ ซึ่งการแบ่งเช่นนี้ทำให้สังคมเปลี่ยนการให้คุณค่าในพฤติกรรมของผู้ชายไป
109
(5) และยังเหลืออีกหลายๆ คำถามที่น่าหาคำตอบครับ จริงๆ ในห้อง นิสิตคนที่เสนอก็ชูประเด็นเรื่องซีรีส์ Y นอกจากจะยัดเยียดกรอบในการตีค่าแล้ว ยังทำให้ภาพผู้ชายแบบเคะ ที่โดน sexual harrassment ดูเป็นเรื่องปกติไปด้วย โดยการเสนอภาพว่าในท้ายที่สุดการถูกทำเช่นนั้นก็จบลงที่รักกันอย่างมีค.สุข
110
วันนี้นักเรียนไปสอบวัดระดับญี่ปุ่น ใครสอบ N3 เล่าให้ฟังทีได้ไหมครับ เกิด war อะไรขึ้น น้องที่สอนเล่าว่า มีคนยกมือเทปเสียงก้องไป การสอบชะงักลง คนขอออก อยากรู้ความวุ่นวายเป็นไง จริงๆ น้องที่สอบ N5 N4 ก็บ่น
ส่วนตัวมองว่าการเอา Impact เป็นสนามสอบไม่เวิร์คอยู่แล้ว
111
ถ้าเยีขนข้อวคามประมนานี้แล้ยวังอ่าอนอกสาบยๆ แดสงว่าภษาาไทยก็เกิด typoglycemia เมหือนกัน
Typoglycemia ที่ว่านี้คือความสามารถของสมองในการอ่านข้อความที่สลับตัวอยู่บ้างเล็กน้อยออก ทำให้นักภาษาศาสตร์รู้ว่าจริงๆ แล้วสมองเราอ่านตัวอักษรในคำไม่หมดแล้วเราอ่านเพื่อเข้าใจคำทั้งคำ
112
เอาเข้าจริง การเรียนภาษาที่ 2 ที่ 3 ไปจนถึงจุดสูงๆ พื้นฐานภาษาแม่ก็ต้องดีด้วย
จริงๆ ก็คิดแบบนี้มาสักพักแล้วจากการเรียนของตัวเอง แต่พอได้สอนก็ยิ่งมั่นใจมากขึ้น ว่าพอขึ้นชั้นสูง การมีคลังศัพท์และมีความละเอียดอ่อนในภาษาแม่ตัวเอง ทำให้ข้าใจภาษาอื่นที่กำลังเรียนอยู่ได้ง่ายขึ้นจริงๆ
113
#มีเปเปอร์มาเสนอ
งานนี้ศึกษาคนไร้เพศ ผู้วิจัยเสนอว่าการระบุตัวตนเป็นคนไร้เพศเป็นกระบวนการซับซ้อนผ่านการรับรู้เรื่องเพศรวมถึงชีวิตเรือนร่างที่อาบไปด้วยประสบการณ์ของบุคคลดั่งกล่าว
นอกจากนี้ วาทกรรมการแบ่งเพศภาวะแบบ LGBTQ+ ก็ทำให้ภาพความไร้เพศซับซ้อนขึ้นด้วย ใครสนใจลองหาอ่านดูครับ
114
115
116
117
อ้อ อัตรานี้เริ่มใช้ปี 63 นะครับ นิสิตที่เข้าเรียนก่อนปี 63 ยังคงใช้อัตราเดิมจนจบการศึกษาในปริญญานั้นๆ ทั้งป.ตรีและระดับบัณฑิตศึกษาครับ
118
#มีหนังสือมาเสนอ
นส.เล่มนี้มอง “เวลา” ในฐานะตัวแปรที่มีค.สัมพันธ์กับปรากฏการณ์สังคมครับ
นส.พาไปทำค.เข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับเวลาในด้านต่างๆ พร้อมทั้งชักชวนให้ตั้งคำถาม อาทิ การรับรู้เกี่ยวกับเวลาเมื่อวิทยาศาสตร์พยายามทำให้เวลาทางสังคมกลายเป็นภาพเชิงปริมาณ
ใครสนใจลองหาอ่านดูนะครับ
119
120
น่าเปิดคลาสสอนเขียน essay
สอนตั้งแต่กระบวนการคิด เทคนิคจำเป็นพวกการสแกนและคัดเลือกบทความ ดีไซน์บันทึกข้อค้นพบ การใช้ข้อมูลที่ได้ การเขียนส่วนต่างๆ เช่น ความนำแบบต่างๆ กลเม็ดเขียนบอดี้
แถมการใช้ Endnote ทำคลังข้อมูลอ้างอิง สอนว่าใช้การอ้างแบบไหนตอนไหน
เอาจริงมหาลัยควรมีวิชานี้
121
เป็นคนติดจำคำศัพท์จากที่มา หรือส่วนประกอบของคำ ชอบพวก prefix / suffix / root มาตั้งแต่จำความได้ รู้สึกว่า ถ้ารู้คำนี้ประกอบมาจากอะไร ประกอบขึ้นมายังไง ก็จะจำคำนั้นได้ไปเลย เช่น พอรู้ว่า ab- แปลว่า ‘away’ คำอย่าง absent / abduct / adject ก็เข้าใจง่ายขึ้นมาทันที
122
ให้นร.เขียน essay ในหัวข้อที่สนใจ นร.เลือก การค้าประเวณี ซึ่งเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องใช้ศัพท์เกี่ยวกับการ "ร่วมเพศ"
นร.มีคำถามว่า นอกจาก sexual intercourse แล้ว มีคำอื่นอีกไหม เลยบอกเพิ่มอีก 3 คำ คือ
- copulation
- coition
- fornication (คำนี้ใช้กับการร่วมเพศของคนที่ยังไม่แต่งงาน)
123
ว่าด้วยเรื่อง toxic masculinity
(1) คนนำคำนี้มาใช้ตามสื่อเยอะขึ้นเรื่อยๆ จำนวนหนึ่งเข้าใจว่าคำนี้พูดถึงผู้ชายที่มีพฤติกรรมหรือทัศนคติที่เป็นพิษเมื่ออยู่ด้วย
ที่จริงแล้ว โดยเฉพาะในวงวิชาการคำนี้อ้างถึง สภาพที่บรรทัดฐานทางสังคมเกี่ยวกับเพศชายได้ทำร้ายผู้ชาย รวมถึงคนอื่นๆ ในสังคม
124
(2) คำนี้ถูกคิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 80-90 ครับ ตามนิยามเดิมหมายถึง การที่ค่านิยมค.เป็นชาย เช่น ผู้ชายต้องปกปิดความอ่อนแอ ต้องมีภาพผู้นำ ดูเข้มแข็ง ดูมีอำนาจ น่ายำเกรง สร้างเงื่อนไขหรือกดดันผู้ชายที่ออกจากบรรทัดฐานดังกล่าวให้ดูด้อยลง ที่เราพูดว่า “ดูไม่แมน” นั่นแหละครับ
125
(3) นอกจากนี้ ยังใช้อ้างถึงภาวะที่สังคมยอมรับ/ทำเป็นเพิกเฉยต่อค.รุนแรงบางประเภท เช่นการชกต่อยระหว่างผู้ชาย หรือค.รุนแรงในครอบครัว เนื่องจากมองว่าเป็นสิ่งที่ผู้ชายกระทำได้ในสังคมจากธรรมชาติความเป็นชายตามบรรทัดฐานทางสังคม ซึ่งในท้ายที่สุด กลับเป็นผลเสียต่อคนในสังคมเสียเอง