1
#มีเทคนิคดีๆมาฝาก
หาวิธีการอ่านให้เข้าหัวอยู่ไหมครับ ถ้าใช่ลองใช้ ปรับเอา Primacy-Recency model มาใช้ดูครับ
โมเดลนี้คือโมเดลการจดจำข้อมูลระยะยาว (Retention) ได้ของสมองครับ เรื่องมันมีอยู่ว่าเมื่อเริ่มเรียน สมองจะมีช่วงที่รับข้อมูลและฝังแน่นได้นานอยู่ เรียกช่วงนี้ว่า Prime time
2
#มีความเห็นมาเสนอ
ว่าด้วย “ศิลป์-ภาษา” กับการเรียนมหาลัย
เป็นช่องโหว่สำคัญคือ ไม่ค่อยมีใครแนะน้องสายนี้ว่าการเรียนภาษาในชั้นสูงขึ้น มีกลุ่มสาระอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ คือ
Lit(erature)
Ling(uistics)
Lang(age and culture)
สำคัญมากในการเลือกคณะและวางแผนการเรียน
#dek66 #dek67
3
#มีหนังสือมาเสนอ
เป็นเล่มที่ดีมากหากอยากจะเริ่มฝึกเขียนงานวิชาการ จุดเด่นคือ มันไม่ฝืนคนไม่มีพื้นเหมือนนส.เล่มอื่น
ปกติเล่มอื่นจะวางโลจิกเขียนวิชาการเลยโดยไม่สนค.คุ้นชินเดิมคนอ่าน แต่เล่มนี้พยายามเอาทักษะที่คนมีอยู่แล้วอย่างการวางเรื่องเหมือนแต่งนิยายมาไกด์การเขียนงานทางวิขาการ
4
#มีทริคดีๆมาเสนอ
สำหรับคนเรียนทางสังคมศาสตร์ครับ
อ.จะแลคเชอร์ฟังดูพูดไปเรื่อย (ซึ่งมีบ้างที่ไปเรื่อยจริงๆ 😂) จนไม่รู้ว่าต้องจดอะไร หรือจับประดันอะไร
วันนี้เลยมาบอกสูตรจับใจความคลาสแบบนี้ให้ครับ
แรกสุด คือค้น theme ให้เจอ-ความไปเรื่อยมันอยู่บนธีมสักธีม จับจุดให้ได้ว่าคืออะไร
6
มีรุ่นน้องที่รู้จักส่งทวิตหนึ่งซึ่งแสดงค.เห็นถึงการคัดตัวอักษรบนไอแพด ทวิตนั้นให้ค.เห็นว่า ควรคัดบนกระดาษ โดยอ้างเหตุผลเรื่อง muscle memory ส่วนตัวรู้สึกว่าการให้เหตุผลนี้แปลกๆ ทำไมเขียนตัวอักษรด้วย iPad จะทำให้นักเรียนจำไม่ได้ ? นั่งหาเปเปอร์เรื่องนี้ก็ยังไม่เจอ negative effect
7
ไหนๆ มิสไทยแลนด์ยูก็พูดคำว่า empirical evidence ละ มาดูนิยามกันครับ คือ
= หลักฐานที่เห็นได้เป็นปกติ ในสายสังคมใช้อิงถึง สิ่งทีคนในสังคมรับรู้ร่วมกันด้วยครับ เช่น
empirical evidence หนึ่งของสังคมชายเป็นใหญ่ คือค.ไม่เท่าเทียมจากก.แบ่งเพศ โดยผู้ชายได้สิทธิเหนือกว่าเพศอื่น เป็นต้น
8
Miss Thailand Universe ปี 2021 ที่เพิ่งประกาศไปจบสังคมวิทยามาหรือเปล่านะ 🤔 ตอบได้เหมือนคนเรียนสังคมวิทยามา
9
“ตราบที่ยังมองศพเป็นภาพเดียวเดี่ยว ๆ ที่น่ากลัว และไม่วิเคราะห์ระบบนิเวศของการจัดการศพ เรื่องการจัดการศพจะเป็นปัญหามาก”
ชวนอ่านบทความอ.ที่ปรึกษาผมครับ
theurbanis.com/life/02/08/202…
10
#มีหนังสือมาเสนอ
ใครอยากฝึกภาษาอังกฤษ แนะนำ collocations in use ครับ เพราะเวลาใช้ศัพท์จริง มันไม่ได้มาเป็นคำโดดๆ แต่มากับคำอื่นๆ ที่ใช้คู่กัน
นส.น้อยเล่มที่จะเน้นว่าคำนี้ใช้กับคำไหนได้อีกบ้าง แปลว่าอะไรบ้าง พวกนี้เจอบ่อยตามซีรีส์ / หนัง รู้ไว้ก็เสพสื่อสนุกขึ้น หาอ่านกันดูครับ
11
Trick ได้เกรดมหาลัยดีเรื่องแรกคือ คุณต้องทำเกรดเทอมต้นๆ ให้ดีมากๆ เพราะเวลาคิดเกรด มันหารหน่วยกิตรวม
คิดตามแบบนี้นะ ตอนปี 1 A มันหารนก.รวมต่ำไง ช่วงนั้น A จะพยุงเกรดได้เยอะ แต่ A ตอนปี 4 อะ นก.รวมที่หารเกินร้อยแล้ว มันดึงเกรดไม่เท่าปี 1 ละใครคิดว่าค่อยทำ A ปีสูงๆ คือจบไม่สวยนะ
12
#มีเปเปอร์มาเสนอ
เปเปอร์น่าสนใจครับ พูดถึงอิทธิพลโครงสร้างสังคมต่อโรคซึมเศร้า ต่างกับเปเปอร์ปกติที่โยง cutural / political / economic factors มาอธิบายโรค
เปเปอร์นี้ชวนมอง “คู่มือวินิจฉัยโรคซึมเศร้า” ที่ออกโดยองค์กรวิชาชีพ argue ว่ามีค.พัวพันกับการเพิ่มขึ้นของโรคซึมเศร้าหมือนกัน
13
#มีหนังสือมาเสนอ
ใครคิดจะเริ่มแตะปรัชญา มีนส.มาแนะนำครับ ของ DK ย่อยเนื้อหาปรัชญาเบื้องต้นได้ดีมาก เหมาะสำหรับคนต้องการปูพื้นทางด้านนี้เลย นส. เป็นสารานุกรมในตัวด้วย ถึงจะเขียนเป็นภาษาอังกฤษแต่อ่านไม่ยากครับ
ใครสนใจ เล่มนี้มีขายที่คิโนะพารากอนโซนนส.ปรัชญาครับ
14
ไม่ต้องพูดถึงเรื่องสภาพแวดล้อม การคมนาคมสาธารณะ และมลพิษ พอเอามารวมๆ แล้วเนี่ย ทั้งระบบนิเวศ กับลักษณะเมือง คือ shape พฤติกรรม “อยู่บ้านดีกว่า” เห็นๆ เลย เอาจริงเศร้านะ เราต้องอยู่ในเมืองที่ยัดเยียดให้เราเก็บตัวมากกว่าเชื้อเชิญให้เราออกไปทำกิจกรรมข้างนอก 🤔🤔
15
เมืองมันดีไซน์มาให้คิดแบบนี้จริงๆ ที่รู้สึกแบบข้อ 1 กับ 2 คือ ออกทีต้นทุนสูง ทั้งเงินที่ต้องใช้เดินทาง อารมณ์ที่เสียไป ไหนจะค่าใช้จ่ายอื่นๆ พอออกไปแปปเดียวแล้วเทียบกับเสียต้นทุนคือ ไม่คุ้ม
ส่วนข้อ 3 หลักๆ คือ กทม. มีแต่ห้าง แล้วไม่มีโซนอื่นๆ เลย กิจกรรมที่ทำได้มันน้อย
16
อยู่กทม.มา 10 กว่าปี หลายครั้งเลย รู้สึกว่าเวลาออกจากห้องทีคือ
1. ต้องออกไปที่ไกลๆ หน่อย ถ้าออกไปใกล้ๆ รู้สึกไม่คุ้ม
2. ถ้าออกต้องออกทั้งวัน ออกไปแค่ 2-3 ชม. ไม่ได้ รู้สึกเสียเวลา ออกสายกลับเย็น ออกบ่ายกลับค่ำๆ ดึกๆ มี 2 โมเดลหลักๆ
3. ไม่มีฟีลแบบอยากออกไปเรื่อยเปื่อย ออกขำๆ
17
ชอบสังคมวิทยาอย่างหนึ่งตรงที่เป็นวิชาเน้นทำค.เข้าใจคนรอบๆ ตัวในสังคมมากๆ
อ.ที่สอนบอกว่า พอเรารู้ BG เขา รู้ค.คิดเขา เข้าใจในตัวเขาจากมุมที่เป็นเขาได้ เรากับเขาจะยืนบนพื้นเดียวกัน เสน่ห์ของวิชานี้ไม่ใช่แค่โลกทัศน์ที่กว้างขึ้น แต่คือการได้รู้สึกว่าทุกคนคือมนุษย์เท่าๆ กัน
18
คุยกับเพื่อนเรื่องม็อบกับคนรุ่นใหม่ มีข้อสังเกตฝว่า สิ่งที่ดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้ไปม็อบในตอนนี้มันไม่ใช่แค่เรื่องของอุดมการณ์และการเรียกร้อง แต่มันเป็นเรื่อง “พื้นที่” ของม็อบเองที่ทำให้คนรุ่นใหม่ได้รู้สึกถึงการเปิดรับทางค.คิดและการแสดงออกจากแวดวงสังคมอื่นที่คอยกดทับเขามาตลอด (ต่อ)
19
#มีหนังสือมาเสนอ
หัวข้อใหญ่มากๆ อันหนึ่งในสังคมวิทยาคือ เรื่องเพศครับ การมี Handbook ไว้ explore ประเด็นต่างๆ จึงมีปย.มาก ใครหานส.ที่ช่วยเปิดภาพกว้างด้านนี้ทางสังคมวิทยา แนะนำเล่มนี้ครับ หัวข้ออัพเดทพอสมควร (แม้จะยังตามไม่ทันค.ซับซ้อน) แต่ไว้เป็นเล่มศึกษาเบื้องต้นได้ดีทีเดียว
20
ช่วงนี้โดนเพื่อนทักว่าใช้ภาษาไทยแปลก ๆ เช่น ชอบพูดปย.ปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ (double negation) แบบ "ไม่มีใครเลยที่ไม่ชอบ.." กับเอาคำวิเศษณ์ขยายกริยาวางไว้หลังประธานของปย. แบบ "ส่วนตัว จริงๆ แล้ว ไม่คิดแบบนั้น" เป็นต้น ก็เลยตระหนักได้ว่าเป็นเพราะสอนญป.นานมากจนเกิด L3 transfer แล้วแน่ ๆ
21
สิ่งที่ตกผลึกจากการดิสคัสเรื่องทฤษฎีทางสังคมกับการเลือกข้างทางการเมือง
1. การเรียนทฤษฎีไม่ได้ช่วยให้เลือกข้างง่ายขึ้น การเลือกข้างประกอบปัจจัยอื่นๆ อีกมาก แต่ทฤษฎีทำให้เราตรวจสอบ คิดสะท้อนย้อนกลับ มองคุณค่าของสิ่งที่เราตัดสินใจลงไปได้ดีขึ้น ง่ายๆ คือรอบคอบในการตัดสินใจมากขึ้น
22
#มีเปเปอร์มาเสนอ
เปเปอร์นี้พูดถึงการศึกษากลุ่มผู้ชุมนุมในเชิงสังคมวิทยาครับ
เนื้อหาเป็นปวศ.ของการศึกษาด้านนี้ในสังคมวิทยา และแนวคิดทฤษฎีการมองการชุมนุมทางการเมืองครับ ว่ารูปแปปที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับการเมืองและกลไกการเกิดเป็นอย่างไร ใครสนใจหาอ่านดูนะครับ
23
24
#มีหนังสือมาเสนอ
นส. ชวนมองมิติสังคมของอาหารครับ เริ่มด้วยทำค.เข้าใจอาหารในค.คิดทางสังคม เป็นอะไร? อยู่ในฐานะไหน? ต่อด้วยการเล่าถึงปวศ.ของอาหารกับสังคมผ่านการเกษตร แล้วโยงไปประเด็น เช่น วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ตลอดจนการเมืองครับ
ใครสนใจ google books มีฉบับดิจิทัลราคาประมาน700 ครับ
25
อ.ชวนวิจัยเรื่องการจัดการร่างศพ ความตาย และสังคม ตอบตกลงโดยไม่คิด
สนใจมานานมากแล้ว โอกาสในการ explore มาถึงในที่สุด
ไว้เจออะไรน่าสนใจจะมาแชร์ครับ แต่มาแน่ๆ แล้วคือ #มีหนังสือมาเสนอ เพราะต้องช่วยอ.ทบทวนวรรณกรรม หัวข้อแรกเป็นเรื่องการอาบยาศพ เพิ่งอ่านได้ 3 บท สนุกมาก