51
9) De facto (deɪ fæktoʊ) แปลว่า ในเชิงพฤตินัย ครับ ทางสังคมศาสตร์ใช้พูดกันประมาณว่า ในเชิงข้อเท็จจริงแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นคือ...
10) De jure (deɪ dʒʊəreɪ) แปลว่า ในเชิงนิตินัย ครับ ทางสังคมศาสตร์ใช้พูดกันประมาณว่า ในเชิงตัวบทกฎหมายแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นควร ....
52
53
54
อันนี้น่าสนใจตรงที่ว่า จริงๆ คนไทยทั่วไปมองคนที่อ่านนส. อยู่สองแบบหลักๆ ไม่เนิร์ด ก็ขยัน ส่วนตัวคิดว่าอยู่ที่การเข้าสังคมของคนอ่านนส.ด้วยว่าจะ extrovert ขนาดไหน ถ้ามีหน่อยก็จะแซวไปในแนว ขยัน ถ้าเก็บตัวไม่สุงสิงก็จะออกไปทางเนิร์ด / หนอนหนังสือ
55
รุ่นน้องบ่นให้ฟังว่าเวลาอ่านนส. โดยเฉพาะที่ที่เจอคนรู้จัก) จะชอบโดยคนชม (หรือแซว) ว่า “ขยันจัง อ่านนส.”
รุ่นน้องบอกว่าจริงๆ อ่านเพราะชอบอ่านเหมือนเป็นงานอดิเรกแบบนึง พอโดนชมก็ถูกมองว่าเป็นคนขยันเลยหงุดหงิดเพราะมันมีค.คาดหวังจากคนอื่นเวลาเป็นคนขยัน แต่จริงๆ ตัวเองไม่ใช่แบบนั้น
56
ใคร sapio อยากจีบคนที่ชอบอ่านนส. อันนี้ผมบอกเลยได้ผล สร้างค.ประทับใจได้ดี 55
57
แต่เห็นด้วยว่าคนอ่านหนังสือ (ถ้าอ่านจริงๆ เพราะชอบ) ก็ไม่ได้อยากได้คำชมอะไรกับการอ่านนะ คือชอบอยู่แล้วด้วยตัวเอง ไม่ต้องชมก็ได้ (แอบเข้าใจรุ่นน้องในจุดนี้) นี่ก็คุยว่าถ้าคนที่เข้ามาแบบนี้ ถามใหม่เป็นอ่านเรื่องอะไร เนื้อหาเป็นยังไง คิดว่าสนุกไหม คนชอบอ่านนส.น่าจะแฮปปี้กว่า
58
@stampwords พูดให้วิชาการหน่อยคือ จิตร ภูมิศักดิ์มอง art as social object คือเป็นวัตถุ ถ้าสร้างมาแล้วมีค.หมายย่อมดีกว่าสถาปนาขึ้นแล้วให้ค่าไม่ได้
แต่นศ.มอง art as social facts คือ ศิลปะมีค.จริงทางสังคมในตัวของมันเอง (ถูกสร้างให้มีแต่พอมีแล้วอยู่เองได้) fact ของมัน (สุนทรียภาพ) เลยมีพลังครับ
59
#มีเปเปอร์มาเสนอ
เปเปอร์นี้พูดถึง Nothing ผู้เขียนตั้งคำถามกับความว่างเปล่าในเชิงสังคมวิทยาว่าจริงๆ ค.ว่างเปล่าถูกมองในภาวะใดได้บ้าง และอยู่ในรูปแบบใดได้บ้าง แล้วมีความหมายไหม
ลองคิดถึงความเงียบเป็นตัวอย่างก็ได้ครับ ความเงียบเป็นความไม่มีที่มีค.หมายทางสังคมอยู่ ใครสนใจลองดูครับ
60
#มีแนวคิดมาเสนอ
ปั่น thesis ต่อแล้วเข้าช่วงที่ต้องอ่านเกี่ยวกับ bilinguals พอดีเลยจะมาแชร์สิ่งที่ได้จากการอ่าน
(1) พอได้ยินคำว่า bilinguals ส่วนใหญ่จะนึกถึงคนที่สามารถพูดได้สองภาษาแบบคล่องทั้งคู่จนดูเป็นภาษาแม่ของคนพูด มองแบบนี้คือกำลังมองคำว่า bilinguals ในค.หมายอย่างแคบอยู่
61
#มีหนังสือมาเสนอ
พอได้ยินคำว่าอาย คนมักมองคำนี้ในแง่บุคลิกของคนที่รู้สึกว่าการเข้าสังคมกับคนอื่นเป็นเรื่องยากกว่าปกติ ทว่านส.เล่มนี้ชวนมองค.อายกว้างและลึกขึ้นอีกนิดครับโดยเชื้อเชิญให้คิดว่าที่จริงค.อายก็เกี่ยวกับสังคม ค.อายในระดับนี้มีประเด็นที่น่าสนใจอีกเยอะเลย ลองหาอ่านดูครับ
62
ช่วงนี้ได้โอกาสร่วมงานกับอ.ที่ภาคโดยเป้าหมายคือ ทำค.เข้าใจว่าทำไมปัญหาพฤติกรรมทางการเมืองในปัจจุบันถึงยังรุนแรงอยู่ ทั้งที่เชิงสถาบัน/โครงสร้างเริ่มมีการสอนเกี่ยวกับหน้าที่พลเมืองมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475
คำตอบหนึ่งคือ ไทยขัดเกลาประชาชนให้มีมารยาททางสังคมและการเมือง (civility) ไม่พอ
63
64
#มีหนังสือมาเสนอ
Marx เป็นนักคิด classic ที่นักเรียนสังคมวิทยาทุกคนต้องเจอ นส.เกี่ยวกับ Marx มีออกมาเยอะแต่มีหนังสือนส.เพียงไม่กี่หยิบมือที่กลั่นปรัชญา Marx แล้วเขียนให้เป็น concept ทางสังคมวิทยาได้ดีและอ่านเข้าใจง่าย เล่มนี้เป็นหนึ่งในนั้น ใครสนใจ Marx เชิงสังคมวิทยา ผมแนะนำเลย
65
(1) จากปสก.และที่รู้มา แอบเห็นปฏิบัติการของตัวแปรที่ทำให้คนจะคบกันอยู่ 3 ตัวคือ 1) การคุยกันถูกคอในครั้งแรกๆ ที่พบ (สร้างบรรยากาศแบบนี้ได้ 3-4 ครั้งแรก ที่คุยกัน) เป็นตัวแปรสำคัญมากในการสร้างค.สัมพันธ์ให้เกินเพื่อน ร่วมกับตัวแปรด้าน 2) หน้าตา และ 3) การมีใจ แล้วมันทำงานร่วมกันนะ
66
#มีหนังสือมาเสนอ
การโกหกเป็นกิจกรรมน่าสนใจในหลายมิติครับ การโกหกทำหน้าที่ในเชิงวัฒนธรรม/ปวศ. ยังไง เกี่ยวข้องกับโครงสร้างทางสังคมยังไง การโกหกเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้หรือเรามีความสามารถนี้โดยกำเนิด นส.เล่มนี้พาไปทัวร์มุมมองสังคมวิทยาเพื่อตอบปัญหาที่ว่ามานี้ครับ ใครสนใจลองดูนะครับ
67
(1) ถกกับเพื่อนประเด็น ทำไมรู้สึกว่าทฤษฎีสังคมวิทยาไม่เหมือนวงการทฤษฎีอื่น สรุปได้ข้อนึงคือ จุดมุ่งหมายของทฤษฎีไม่ได้โฟกัสที่ richness in thinking อันที่จริงเรื่องนี้เห็นได้ชัดจากต้นกำเนิดของศาสตร์เองที่นักคิดเช่น เดอร์ไคม์ สร้างแนวคิดขึ้นมาเพื่อใช้ทำวิจัยในประเด็นทางสังคมด้วยซ้ำ
68
รู้สึกว่าการให้นิยามเป็นขั้นตอนสำคัญมากก่อนจะมาถกเถียงกัน
เหมือนเวทีเลย แบบดีเบตจะไม่หลุดไปไกลกว่าขอบเขตนี้นะ ดี๋ยวนี้คนใช้คำเดียวกันในค.หมายต่างกันเยอะมาก
เพื่อนถกกันเรื่องทอมคบผู้ชายผิดมากไหม ถกกันแทบตาย คนนึงเข้าใจทอมว่าคือผญ.แต่งแมนๆ คนนึงเข้าใจว่าเป็นรสนิยมทางเพศแบบนึง
69
ได้คุยกับอ.ท่านนึงถึงค.น่าเชื่อถือของการได้เกียรตินิยมอันดับ 1 สรุปสาระที่ได้คือ
1. คุณค่าของเกียรติ 1 ลดลงไปเยอะ จากการแจกเกรดและการกำหนดเกณฑ์ได้อันดับ 1 ลดลงมาในบางม.
2. คนตีความคำนี้ผิดไป เจตนาเดิมที่คำนี้มอบให้ผู้เป็นเลิศทางวิชาการ แต่คนเหมารวมไปด้วยว่าต้องมีค.สามารถรอบได้
70
ถามอ.ว่า คนที่ได้เกียรติ 1 ควรมีเท่าไหร่ต่อคนทั้งรุ่น อ.ให้ค.เห็นว่าควรมีประมาณ 10 เปอร์เท่านั้น ให้คนที่เป็นเลิศจริงๆ ซึ่งเขาต้องแสดงให้เห็นผ่านความรู้หลายๆ วิชา อ.บอกว่ามันสำคัญกับการสมัครงานสายวิชาการ แบบมันยังพูดได้เต็มปากว่าจะสมัครอาจารย์แต่คุณไม่ได้เกียรตินิยมมาราศีก็ไม่จับ
71
(1) ตอนนี้ได้ยินคำว่า social detox จากคนรอบข้างถี่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทุกคนที่ใช้คำนี้นิยามไปในทางเดียวกันว่าคือ การพักและเอาตัวเองออกมาจากการเล่นโซเชียลมีเดีย หรือ การกลับมาอยู่กับตัวตนในโลกจริงๆ
สนใจประเด็นนี้มากตรงที่นั่นสะท้อนให้เห็นว่ามันมี drawback จากการใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์
72
(3) ยังไม่นับว่าสนใจศึกษารูปแบบของการทำว่าเป็นยังไง มี correlation กับ independent variables ตัวไหนยังไง แล้วมันจะยิ่งน่าสนใจทีนี้พอได้ pilot มาประมานนึงแล้วเอามาขยายด้วย conceptual framework ตั่งต่าง
73
(2) แล้วจริงๆ พอมันมีปรากฏการณ์ที่มี drawback เกิดขึ้นเราก็ hypothesize ได้เลยว่าสังคมออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียมี chaos และมีสภาพ toxic เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่งั้นคำนี้จะไม่สะท้อนออกมาชัดและเริ่มแผ่ขยายขนาดนี้ นี่เลยอยากศึกษา mechanism ว่าสภาพแวดล้อมเช่นไร induce ให้คนทำ social detox
74
วันนี้มีคำที่ใช้กันสักพักแล้วในวงการวิชาการ แต่ผู้เรียนอยู่อาจจะยังไม่คุ้น หรือคิดว่ายังไม่มีการบัญญัติ คำนั้นคือคำว่า
“พิชญพิจารณ์” ครับ เป็นศัพท์บัญญัติของคำว่า “peer review”
คำที่ใช้กันก่อนบัญญัติคือ “การทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน”
ชอบการบัญญัติคำนี้ สวย เข้าใจง่ายและดูแพง
75