76
(1) เมื่อสอนนักเรียนเรื่อง mate selection trend ในวิชาสังคมวิทยาเบื้องต้น
เปิดประเด็นด้วยการพูดถึงการศึกษาโดยนักสังคมวิทยาที่พบว่า เรามักจะเลือกคู่ที่มีลักษณะทางสังคมอยู่ระดับเดียวกับเรา เช่น race เดียวกัน socioeconomic status เดียวกัน ซึ่งสิ่งนี้เรียกว่า homogamy
77
(2) นอกจากแนวโน้มชื่นชอบคู่ครองแบบ homogamy แล้ว การเลือกคู่ครองยังมีแนวโน้มที่จะเลือกคนที่อยู่ไม่ไกลจากตัวเราด้วย
นักสังคมวิทยาพบว่า หากคนที่เราคุยด้วย อยู่ในพื้นที่สังคมใกล้เรา เช่น จบรร. หรือมหาลัยเดียวกัน เราจะมีแนวโน้มปันใจให้ง่ายกว่า สังวิทย์เรียกอันนี้ว่า propinquity
78
พออ่านแนวสังคมวิทยามานุษยวิทยาเข้าหนักๆ ขอเสียอย่างหนึ่งคือ ทำให้เราดูไม่มีจุดยืนในสายตาคนที่มีจุดยืนมากๆ ไปเลย
ออกแนวรู้ว่าฝ่ายที่มีจุดยืนต่างๆ ทำไมมีจุดยืนแบบนั้น พอเข้าใจก็จะ “โอเค” จบ 55
จะว่าไม่มีจุดยืนเลยก็ไม่ถูก มีแต่ก็เข้าใจอีกฝ่ายจนไม่ได้แสดงจุดยืนอะไรออกมาแรงๆ มากกว่า
79
80
(1) หลังสอนเสร็จบางครั้งนักเรียนจะถามว่า ที่เรียนไปเอาไปใช้ทำ(อาชีพ)อะไรได้บ้างไหม และทุกครั้งผมก็จะแจงว่า ศาสตร์บนโลกนี้แบ่งได้คร่าวๆ เป็นฝั่ง “วิชาการ” กับ “วิชาชีพ”
บางวิชาเป็นสายวิชาการ คือ เป็นศาสตร์ที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพื่อไปประกอบอาชีพอะไร แต่เป็นวิชาให้ค.เข้าใจที่ลึกซึ้ง
81
(1) วันนี้ตอนรอสอนพิเศษอยู่ มีรุ่นน้องร่วมอาชีพติวเตอร์นั่งอยู่โต๊ะถัดไป ตอนท้ายคาบน้องที่เรียนด้วยบอกว่า นี่เป็นคาบสุดท้ายที่จะได้เรียนแล้ว น้องคนสอนก็งงๆ น้องบอกว่าตังเก็บที่สะสมมาเรียนหมดแล้ว พอดีมีเรื่องต้องใช้
น้องติวเตอร์บอกว่า งั้นมาเรียนเถอะ มีมาคืนค่อยเอามาคืน
82
(2) น้องติวเตอร์บอกว่า เรียนเอาที่เรียนไปใช้หาตังต่อได้ เขาจะสอนต่อ
น้องคนเรียนถึงขั้นสะอื้นแต่ผมประทับใจและชื่นชมสปิริตความเป็นผู้ให้ของน้องติวเตอร์จริงๆ ครับ :)
ขนาดนั่งข้างๆ ยังรับรู้ได้ว่าเขาเองก็ทุ่มเทกับการสอนจริงๆ
เอาจริงๆ ถ้านักเรียนตั้งใจ ไม่มีผู้สอนคนไหนไม่อยากสอนนะ
83
@stampwords คำถามน่าสนใจมากครับ ถ้าให้นักสังคมวิทยาอย่างผมตอบคือ การนั่งไขว่ห้าง เป็น gesture ที่มี social meaning ครับ เคยอ่านจากสักที่ ซึ่งที่น่าสนใจคือมันถูกตีความต่างกัน ในวัฒนธรรมยุโรปการนั่งไขว่ห้างสะท้อนถึงสัญญะของ open-minded personality ผ่านการดูอยู่ใน position ที่ inactive ครับ
84
@stampwords ในขณะที่ในบางกลุ่มวัฒนธรรมเช่น อิสลามการนั่งไขว่ห้างดูเป็นการท้าทายอำนาจและสามหาวครับ
ที่น่าสนใจคือ ในวัฒนธรรมเอเชียท่าทางดังกล่าวกลับถูกตีความว่ามีเสน่ห์ ผ่านประเด็นที่ว่าการนั่งไขว่ห้างทำให้เห็นสัดส่วนร่างกายชัดขึ้นด้วยครับ
85
@stampwords นอกจากประเด็นค.ต่างในการตีความแล้วที่น่าสนใจอีกอย่างคือ การนั่งไขว่ห้างเป็น liquid indexicality คือมันเก็บสัญญะของท่าทางมันได้ไม่นาน ค.หมายเปลี่ยนไวมากยุคนี้มองแบบนึง ยุคนั้นมองอีกแบบ แสดงว่ามันเป็นท่านั่งที่ไม่ได้มีมานานครับ ไม่อยู่ใน gesture corpus แต่แรกที่มนุษย์ทำกัน
86
@stampwords พอเป็นแบบนี้คนเลยใส่ความหมายชั่วคราวหรือสร้างวาทกรรมของการนั่งไขว่ห้างว่าเป็นอะไรก็ได้ ได้ง่ายมากโดยคนไม่ตะขิดใจเรื่องนี้เท่าไหร่ ก็น่าแปลกที่ค.หมายของท่าไม่จับตัวมากพอให้ตีความได้ทางเดียว เมื่อเทียบกับท่านั่งประเภทอื่นที่มีความหมายค่อนข้างแน่ชัด เช่นขัดสมาธิ หรือพับเพียบ
87
88
@Devilkin21 @typx27 ถ้าในเชิง syntax ยังไม่มีข้อตกลงว่าใช้ได้เป็นสากลครับ อันนี้ก็ถกกับนักเรียนตอนสอนเหมือนกันว่ามันยังผิด แต่ในเชิง pragmatics มีการใช้ในลักษณะนี้เพื่อฉุดประเด็นเรื่้องความเท่าเทียมทางเพศน่ะครับ ไม่เป็นที่กว้างขวางยังใช้เฉพาะกลุ่มงานที่เป็นงานสาย queer
89
@Devilkin21 @typx27 เขียนทวิตนี้เพิ่มต่อท้ายแต่ติดงาน มาอีกทีคนรีไปเยอะแล้ว อย่าเพิ่งไปตีกันว่าใช้กันเกลื่อนไม่เกลื่อนนะครับ 55 คือท่อนข้อความที่มี They is มันพิมพ์ว่า John is my friend. They is a doctor แต่เป็นท่อนในอารติเคิลแนว queer น่ะครับ น้องถามพิมพ์ผิดไหม ผมบอกว่าเขาน่าจะใช้เพื่อชูประเด็น 55
90
พูดถึงเรื่องเขียนเปเปอร์ มีทริคในการเขียนมาแชร์ครับ
สมัยเรียนป.ตรี ที่ได้คะแนนเปเปอร์ดีเพราะใช้หลัก 4 cons ได้แก่
1) concise
2) concrete
3) convince
4) contribute
91
Concise คือ การเขียนให้แนวคิดเราถูกต้อง หรือคำจำกัดความสอดคล้องกับเรื่องที่เขียนครับ ในย่อหน่าที่ต้องมีการนิยามศัพท์ต่างๆ จะต้องยืดหลักว่าคนอ่านต้องเข้าใจว่าเราจะสื่ออะไร และสิ่งที่ยกมาต้องมีที่ไปที่มาสนับสนุน หรือถ้าจะเป็นการนิยามด้วยตัวเองก็ควรมีต้นเหตุว่าได้แรงบันดาลใจมาจากไหน
92
Convince คือ เขียนให้มีประเด็นชัด และไม่วกวน จัดเรียงโลจิกในการเขียนดีๆ ปกติส่วนนี้คือจะเช็คหลังจากเขียนใกล้จะจบ ถ้าตัวเองอ่านแล้วพยักหน้าให้ตัวเองได้ก็ผ่าน ทริคคือ ร่างโครงร่างที่จะเขียนก่อน แบ่งเป็น theme แล้วก็เขียน support ideas ลงไปในแต่ละ theme แล้วหาวิธีเรียงให้ดู convince
93
Concrete คือ ยกตัวอย่างสะท้อนสิ่งที่ต้องการจะสื่อให้คนอ่านเห็นภาพให้ได้ ปกติจะไม่ยกตัวอย่างเป็นเหตุการณ์สมมติ (ถ้าทำได้) พยายามใช้ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงๆ จากข่าวหรืองานวิจัย เพื่อทำให้คำกล่าวอ้างของเรามีน้ำหนักมากที่สุด บางครั้งก็ยกตย.เพื่อช่วยให้คนอ่านเข้าใจแนวคิดเราด้วย
94
Contribute คือ งานควรมีข้อเสนอแนะไม่เชิงวิชาการก็นโยบายต่อสังคมบ้าง อันนี้มักใช้เป็นตัวจบเปเปอร์เพื่อให้เปเปอร์มีคุณค่า ไม่ก็เขียนที่มาและความสำคัญด้วย
ปกติ ประเด็นนี้คิดไว้ตั้งแต่ตอนคิดหัวข้อที่จะเขียนจะดีมาก เพราะถ้าคิดออกว่าอยาก contribute อะไรก็จะได้ตัวเปิดกับตัวปิดไปด้วยเลย
95
(1) การวิจารณ์งานเขียนของคนอื่นอย่างสร้างสรรค์ หรือที่เรียกว่า “ติเพื่อก่อ” มีวิธีการวิจารณ์ดังนี้ครับ
1. ควรเริ่มด้วย comment ภาพรวมของงานในเชิงบวกครับ ต่อให้งานนั้นจะมีคุณภาพงานอย่างไรก็ตาม
2. ระบุจุดแข็งของงานที่จะวิจารณ์สัก 1-2 ข้อครับ ว่างานนี้มีดียังไงก่อนเริ่มวิจารณ์
96
#มีหนังสือมาเสนอ
นส.เล่มนี้ไม่วิชาการจ๋าครับ คนไม่มีพื้นก็อ่านได้สบายๆ นส.พาเราไปทำค.เข้าใจการเปลี่ยนแปลงสังคมครับ ผู้เขียนเล่าถึงการเปลี่ยนผ่านทางสังคมโดยดูจากพลวัตรของบรรทัดฐานซึ่งวิเคราะห์ผ่านมุมมองต่าง ๆ ทั้งในเชิงจิตวิทยา สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมครับ ลองหาอ่านดูครับ
97
(1) ส่วนตัวรู้สึกว่าข้อความนี้น่าสนใจ อยากเสนอภาพที่ซับซ้อนขึ้นอีกนิดว่า ไม่ใช่ไม่มีใครสนใจฟังอย่างเดียว ทว่าคนที่ฟังต้องเป็นคนที่เขาอยากเล่าด้วย ไม่ใช่ใครก็ได้
งานวิจัยพบว่าการเกิดอารมณ์เหงา/หว่าเว้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่รู้จักอย่างเดียว แต่อยู่ที่คุณภาพของคนที่รู้จักด้วย twitter.com/aloneww/status…
98
99
#มีคอร์สมาเสนอ #มีหนังสือมาเสนอ
browse course ฟรีใน edX ดูแล้วพบคอร์นนี้จาก Harvard เป็นคอร์สให้ค.รู้เกี่ยวกับเมืองต่างๆ ของโลกตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันผ่านหลายๆ มุมทั้งสังคมวิทยา มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ อ.เจ้าของคอร์สมีนส.ที่เนื้อหาเกี่ยวเนื่องกันด้วยครับ ใครสนใจลองดูครับ
100
(1) หลังจากตรวจข้อสอบกลางภาคของนิสิตปี 3 ในภาคก็ลองทำ Thematic analysis เพื่อค้นหาว่าอะไรทำให้เด็กปีนี้ได้คะแนนดีไม่ดีในวิชาทฤษฎี หลังทำได้ข้อค้นพบบางอย่างดังนี้
1. นิสิตที่ได้คะแนนไม่ดีมักเกิดจากโครงสร้างการเขียนเป็นหลัก ใจความไม่ได้ต่างกันแต่การเรียบเรียงเละ คะแนนจะน้อยลงทันที