26
วันนี้นั่งคุยกับอาจารย์ที่รู้จักท่านนึงเรื่องการเขียนวิจัยและวิทยานิพนธ์ ซึ่งพวกเราเห็นตรงกันอยู่เรื่องนึงว่า สิ่งที่นิสิตส่วนใหญ่ยังไปไม่ถึงคือ การเขียนบททบทวนวรรณกรรมให้ดี
การเขียนทบทวนวรรณกรรมไม่ใช่การ copy / paste ข้อมูลมาแปะๆ
27
concept การบนด้วยการแจกเงินนี่น่าสนใจมาก
กำลังคิดเล่นๆ ว่าถ้ามองมุมมานุษยวิทยาในอดีต การบนบานเป็น sacred แต่ตอนนี้ถูกทำให้ profane ขึ้นเยอะ
เริ่มจากการใช้วัตถุเป็นข้อแลกเปลี่ยนเพื่อแสดงถึงความตั้งมั่น (คิดว่า based assumption ของการบนอยู่ ที่ความเชื่อเรื่องแรงดึงดูดนะ)
28
29
คอนเฟิร์มว่าดีครับ อ.เวียงรัฐ อธิบายภาพของระบบอุปถัมภ์กับการหาเสียงไว้ได้ดีมาก ในปัจจุบันการหาเสียงและล็อคคะแนนมันไม่ได้จบแค่การเอาเงินฟาดแล้ว แต่มีกลไกในการใช้อำนาจเข้ามาแลกเปลี่ยนอีกหลายๆ อย่างเลยครับ เช่น ไม่เลือกคนนี้ก็ใช้ถนนเลนต่อนะ เป็นต้น ใครสนใจมันดีจริงๆ twitter.com/Prasitism/stat…
30
พรุ่งนี้สอบวิชาสุดท้ายในชีวิตนักเรียนภาษาศาสตร์แล้ว เลยรีวิววิชากันหน่อย
เทอมนี้ลงวิชา “ภาษาศาสตร์จิตวิทยา (psycholinguistics)” ถ้าคุณเป็นคนนึงที่เห็นชื่อวิชาแล้วคิดว่าจะได้เรียนทริคในการใช้ภาษาจูงใจคน หรือเข้าใจจิตใจมนุษย์ผ่านภาษา ยินดีด้วยเราโดนหลอกเป็นเพื่อนกัน
31
ภาษาศาสตร์จิตวิทยาถึงเป็นสาขาที่ครอบคลุมความรู้ทางภาษาหลายๆ ด้าน แต่ไม่ใช่สาขาที่สอนเรื่องจิตใจกับภาษา หลักๆ แล้วสาขานี้สนใจ
1. การผลิตและทำความเข้าใจภาษา
2.การรับและเรียนภาษา
3.ภาษากับสมอง
คำถามในสาขานี้เช่น อายุมีผลต่อการเรียนภาษาไหม? หรือ เราจัดเก็บคำศัพท์ในหัวยังไง?
32
#มีหนังสือมาเสนอ
เคยมีโมเมนต์คำติดอยู่ในหัว นึกภาพออกแต่พูดออกมาไม่ได้ไหมครับ?
ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า slip of the tongue การเกิดแบบนี้แสดงว่าการค้นภาพของสิ่งที่เราอยากสื่อสารกับการค้นคำเรียกสิ่งนั้นเป็นคนละเรื่องกันหรือเปล่า? หนังสือเล่มนี้มีคำตอบของคำถามนี้ครับ
33
จะรีวิว “ภาษาศาสตร์สังคม (sociolinguistics)” ให้ฟัง
วิชานี้เรียนเกี่ยวกับค.สัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคม เช่น ถิ่นที่อยู่ เพศ กับการใช้ภาษา
เพศที่ต่างกันน่าจะมีลักษณะภาษาบางอย่างต่างกัน แต่ผู้ชายเดี๋ยวนี้ใช้ ค่ะ บ่อยขึ้น เราจะอธิบายปรากฏการณ์นี้ยังไง? วิชานี้มีคำตอบให้ครับ
34
จะรีวิว “สังคมวิทยา” ให้ฟัง
สังคมวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาค.สัมพันธ์ของสังคมกับมนุษย์ที่อยู่ในนั้นครับ สังคมคืออะไร? ใช่คนจำนวนมากๆ มาอยู่รวมกันอย่างเดียวไหม? มีคนในลิฟท์อยู่ 5 คน เราเรียกภาพแบบนี้ว่าสังคมไหม? ถ้าไม่ได้มีแค่คนหลายคนอยู่รวมกันแล้วสังคมคืออะไรกันแน่?
35
จะรีวิว "มานุษยวิทยา" ให้ฟัง
มานุษยวิทยาเป็นวิชาที่ขอบเขตเนื้อหากว้างมากครับ สาขาหลักๆ ของศาสตร์นี้ได้แก่ มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม มานุษยวิทยาภาษาศาสตร์ มานุษยวิทยากายภาพ และโบราณคดีครับ แต่สิ่งที่ทั้ง 4 สาขามีจุดร่วมเหมือนกันคือการทำความเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ผ่านสังคมที่อยู่
36
#มีหนังสือมาเสนอ
หนังสือเล่าปรัชญาการเมืองอย่าง utilitarianism egalitarianism liberalism และ communism ผ่านเรื่องเล่าของศาสตราจารย์การิทัตที่ต้องผจญภัยไปยังเมืองที่ใช้อุดมการณ์เหล่านี้ในการปกครองเพื่อตามหาเมืองที่ดีที่สุด เป็นนิยายปรัชญาดีๆ ที่สนุกไม่แพ้ Sophie's world ครับ
37
รายละเอียดโครงสร้างหลักสูตร Politics and Global studies หลักสูตรนานาชาติที่รัฐศาสตร์จุฬากำลังจะเปิดในปีนี้ออกแผนการศึกษามาเบื้องต้นแล้วครับ มาแชร์บอกเผื่อใครอยากเข้า หรือ แนะนำคนอื่น
Handbook รายละเอียดเต็มๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้นะครับ
issuu.com/pgs.chula/docs…
38
จะเล่าประวัติสังคมวิทยาแบบย่อๆ ให้ฟังครับ
(1) สังคมวิทยาตั้งเป็นศาสตร์แยกออกมาจากสาขาใกล้เคียงอย่างจิตวิทยาในศตวรรษที่ 19 เนื่องด้วยความสนใจของนักคิดกลุ่มหนึ่งที่อยากศึกษาสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปอย่างมากในช่วงนั้น สังคมวิทยาในยุคนั้นจึงเกิดจากความสนใจในประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
39
#มีหนังสือมาเสนอ
ถ้าสงสัยประเด็น เช่น
1. ภาษาเกิดจากวิวัฒนาการหรือผุดขึ้นมาเอง?
2. ภาษาต้องเรียนหรือมียีนช่วยรับภาษา?
3. การผลิตกับการรับรู้เสียงพูดสัมพันธ์กันไหม?
4. ค.หมายกับคำสัมพันธ์ในแง่ไหนบ้าง?
5. แกรมม่ากับการมองโลกเกี่ยวกันไหม?
เล่มนี้มีมุมดีๆ มาเสนอเยอะเลยครับ
40
ข่าวการถึงแก่อนิจกรรมของพลเอกเปรมเป็นข่าวที่นักรัฐศาสตร์ให้ความสนใจสูงมาก เนื่องจากตัวท่านถือเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางโครงสร้างการเมืองคนหนึ่ง การถึงแก่อนิจกรรมครั้งนี้ทำให้โครงสร้างที่นิ่งมานานสั่นไหว การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขนาดไหน เกิดทางไหน ส่งผลต่อการเมืองในอนาคตยังไง น่าสนใจมากครับ
41
(2) ดังนั้นนักการเมืองฝั่ง tradition และจริงๆ ก็ทุกคนที่อยู่ใน Thai politics shpere รับรู้ว่าท่านมี autonomy บางอย่างในเชิงการเมือง ท่านเป็นผู้นำที่มีสิ่งที่ Weber เรียกว่า charismatic power สูงมาก คือ Autonomy ของท่านมาจากบารมีที่ท่านได้สร้างไว้
42
(1) ในฐานะนักสังคมวิทยา ผมเสนอให้ลองมองอย่างนี้ครับว่า พลเอกเปรมเป็นเหมือนเสาหลักของภาพแทนการเมืองที่นักการเมืองฝั่ง traditional ให้ความเคารพมากพอสมควร เราเห็นได้จากการต้องเข้าบ้านสี่เสาเทเวศน์เพื่อขอความเห็นท่านในประเด็นต่างๆ
43
(3) ที่น่าสนใจคือ ในทางสังคมวิทยา ผู้นำแบบบารมี (charismatic leader) มีจุดแข็งและจุดอ่อนบางประการที่น่าสนใจ จุดแข็งคงหนีไม่พ้นการสร้าง social order ที่มีประสิทธิภาพมาก แต่จุดอ่อนคือ การถ่ายโอน charisma ให้คนอื่นเป็นไปได้ยากมาก (มันต้องสั่งสมเองในตัวแต่ละคน ส่งกันไม่ได้)
44
(4) ดังนั้นถ้าไม่มีใครมารับช่วงต่อแบบเตรียมการไว้ดีแล้ว โครงสร้าง social order ที่แข็งแรงมันจะสั่นอย่างรวดเร็ว และเกิดความขัดแย้ง รวมถึงสภาพวุ่นวายภายในสูง ถึงจะมีการแต่งตั้งตัวแทนได้ ตัวแทนดังกล่าวก็ไม่ได้มี autonomy เท่าผู้นำคนก่อน เพราะครไม่ได้ศรัทธาเท่ากัน
45
(5) เปิดโอกาสให้เกิดผู้นำแบบอื่น เช่น rational leader ที่ตั้งตามกฎหมายหรือการลงความเห็น ภาพนี้จะเกิดขึ้นถ้าการเมืองภายในมี consensus ในทางเดียวกัน แต่ถ้าแตกเป็นหลายๆ ฝ่ายอันนี้ น่าสนใจแล้วครับว่าทิศทางจะเป็นไงต่อ แล้วดันมาประจบกับช่วงเปิดสภา ช่วงผลัดแผ่นดิน มันมีอะไรให้ขบคิดอยู่
46
47
2) e.g. ย่อมาจาก exempli gratia (ɪgzɛmplaɪ greɪʃiə) แปลว่า ยกตัวอย่างเช่น เป็นวลีที่คิดว่าทุกคนน่าจะเคยเจอกัน
3) i.e. ย่อมาจาก id est (ɪd ɛst) แปลว่า นั่นคือ ส่วนตัว เห็นคนเอามาใช้ในเซนส์ e.g. บ่อย แต่จริงๆ มันใช้ในการขยายความที่เนื้อความคือ การพาราเฟสมากกว่ายกตัวอย่างครับ
48
8) status quo (steɪ təs kwoʊ) แปลว่า ในภาวะหนึ่ง ๆ ที่ดำรงอยู่ (ของสิ่งนั้น) ครับ คำนี้เป็นคำที่คนมักจะงงความหมาย ในทางสังคมวิทยามักใช้ในความหมายว่า ภาวะทางสังคมขณะนั้น (ที่ไม่เปลี่ยนแปลง) เซนส์จะออกไปเชิงลบอ่อนๆ มันควระมีการเปลี่ยนแปลงแต่ยังคงมีสิ่งนี้ที่มีสภาวะดำรงอยู่ครับ
49
4) ibid ย่อมาจาก ibidem (ɪbidɛm) ครับ แปลว่า ในที่เดียวกัน เป็นวลีใช้ในรายการอ้างอิงครับ เวลาอ้างอะไรที่อยู่ในหนังสือเล่มเดียวกันแต่คนละหน้า ใช้ ibid ละการอ้างเต็มได้ (ส่วนมากทำใน note นะครับ)
5) Ad hoc (ɑd hoʊk) แปลว่า เกิดขึ้นเป็นกรณีพิเศษ เกิดขึ้นอย่างไม่ได้มีเตรียมการมาก่อน
50
6) in situ (ɪnsɪtu) แปลว่า ในที่ตั้ง (ของสิ่งนั้น) ครับ จริงๆ คำนี้ใช้หลายเซนส์ ในเชิงสังคมวิทยามักใช้ในเซนส์ว่าในพื้นที่นั้น ๆ แต่ในเชิงวิทยาศาสตร์อาจมีนัยยะว่าทำการศึกษาในห้องแล็บ หรือในที่ตั้งหนึ่งๆ ก็ได้ครับ
7) per se (pɜr seɪ) แปลว่า โดยเนื้อใน หรือ โดยแก่นแท้ (ของสิ่งนั้น)