⠵⠑⠝⠚⠊(@zenjigame)さんの人気ツイート(新しい順)

126
รูปน่าสนใจครับ จริงๆ ก็อยากถามความเห็นอยู่เหมือนกัน คิดว่าทุกวันนี้ (เอาตัวคุณเป็นที่ตั้งนะ) ตามภาพนี้ยังคงจริงอยู่ไหม
127
ทำ slide สอนนิสิตปี 4 ทำไปทำมาคิดว่ามีประโยชน์กับคนที่ต้องใช้ SPSS อยู่ เลยเอามาแบ่งปันครับ chart นี้เป็น chart แสดงค่าสถิติเมื่อต้องการทดสอบประเด็นต่างๆ ในงานวิจัยสายสังคม ปกติก็ดูกันว่ามีนัยยะสำคัญไหม ไม่ก็ดูระดับความเข้มข้นและทิศทางของค.สัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ขนมาให้หมดละครับ
128
#มีเปเปอร์มาเสนอ งานนี้ศึกษาคนไร้เพศ ผู้วิจัยเสนอว่าการระบุตัวตนเป็นคนไร้เพศเป็นกระบวนการซับซ้อนผ่านการรับรู้เรื่องเพศรวมถึงชีวิตเรือนร่างที่อาบไปด้วยประสบการณ์ของบุคคลดั่งกล่าว นอกจากนี้ วาทกรรมการแบ่งเพศภาวะแบบ LGBTQ+ ก็ทำให้ภาพความไร้เพศซับซ้อนขึ้นด้วย ใครสนใจลองหาอ่านดูครับ
129
เอาเข้าจริง การเรียนภาษาที่ 2 ที่ 3 ไปจนถึงจุดสูงๆ พื้นฐานภาษาแม่ก็ต้องดีด้วย จริงๆ ก็คิดแบบนี้มาสักพักแล้วจากการเรียนของตัวเอง แต่พอได้สอนก็ยิ่งมั่นใจมากขึ้น ว่าพอขึ้นชั้นสูง การมีคลังศัพท์และมีความละเอียดอ่อนในภาษาแม่ตัวเอง ทำให้ข้าใจภาษาอื่นที่กำลังเรียนอยู่ได้ง่ายขึ้นจริงๆ
130
ถ้าเยีขนข้อวคามประมนานี้แล้ยวังอ่าอนอกสาบยๆ แดสงว่าภษาาไทยก็เกิด typoglycemia เมหือนกัน Typoglycemia ที่ว่านี้คือความสามารถของสมองในการอ่านข้อความที่สลับตัวอยู่บ้างเล็กน้อยออก ทำให้นักภาษาศาสตร์รู้ว่าจริงๆ แล้วสมองเราอ่านตัวอักษรในคำไม่หมดแล้วเราอ่านเพื่อเข้าใจคำทั้งคำ
131
วันนี้นักเรียนไปสอบวัดระดับญี่ปุ่น ใครสอบ N3 เล่าให้ฟังทีได้ไหมครับ เกิด war อะไรขึ้น น้องที่สอนเล่าว่า มีคนยกมือเทปเสียงก้องไป การสอบชะงักลง คนขอออก อยากรู้ความวุ่นวายเป็นไง จริงๆ น้องที่สอบ N5 N4 ก็บ่น ส่วนตัวมองว่าการเอา Impact เป็นสนามสอบไม่เวิร์คอยู่แล้ว
132
(5) และยังเหลืออีกหลายๆ คำถามที่น่าหาคำตอบครับ จริงๆ ในห้อง นิสิตคนที่เสนอก็ชูประเด็นเรื่องซีรีส์ Y นอกจากจะยัดเยียดกรอบในการตีค่าแล้ว ยังทำให้ภาพผู้ชายแบบเคะ ที่โดน sexual harrassment ดูเป็นเรื่องปกติไปด้วย โดยการเสนอภาพว่าในท้ายที่สุดการถูกทำเช่นนั้นก็จบลงที่รักกันอย่างมีค.สุข
133
(1) มีโอกาสได้ฟังและให้คะแนนงานนำเสนอของนิสิตปี 1 เรื่องของเรื่องคือ มีนิสิตคนนึงนำประเด็นซีรีส์ Y มาพูด ซึ่งพูดได้น่าสนใจว่า ซีรีส์ Y นำไปสู่การสร้างกรอบแบ่งประเภทผู้ชายใหม่ เป็นผู้ชายมาดเคะ และผู้ชายมาดเมะ ซึ่งการแบ่งเช่นนี้ทำให้สังคมเปลี่ยนการให้คุณค่าในพฤติกรรมของผู้ชายไป
134
ว่าด้วยเรื่อง such as ... ได้ตรวจงานเขียนแล้วพบว่า วลีใช้ยกตย. ส่วนมากที่ชอบใช้กันคือ such as กับ for example จริงๆ มีให้เลือกใช้อีกหลายตัวเลย ได้แก่ ..including: ..but not limit to: ..some of which are: ..which include: ..for instance: .. ー x, y and z to name a few.
135
(2) เมื่อเลือกเรื่องแล้ว ให้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้นเพื่อทำค.เข้าใจเรื่องก่อน โดย 1) ศึกษาพัฒนาการในเชิงแนวคิดหรือปวศ.ของเรื่องนั้น 2) ศึกษาแง่มุมค.เห็นต่างๆ ของเรื่องนั้น หลังจากนั้นเลือกมุมมองหรือแนวคิดมา 1 มุมที่เราคิดว่ามุมนี้หรือทางนี้แหละคือ แง่ที่ดีในการมอง
136
(1) ว่าด้วยเรื่องการเขียน argumentative essay ปีนี้เจอคนที่มีปัญหากับการเขียน argumentative essay เยอะเหมือนกัน เลยจะมาแชร์ทริคในการเขียนแนวนี้ให้ครับ argumentative essay หลักๆ คือการหาเรื่องมา 1 เรื่อง (ซึ่งเรื่องนั้นควรประเด็นที่ controversy ประมานนึง คือ มีมุมมองได้หลายมุม)
137
#มีหนังสือมาเสนอ นส.เล่มนี้เป็นตำราเรียนวิจัยสังคมศาสตร์ที่หลายๆ มหาวิทยาลัยใช้ครับ การันตีคุณภาพว่ามีค.รู้จำเป็นในการทำวิจัยสายสังคมอยู่เต็มเปี่ยม Earl Babbie ผู้เขียนอธิบายแนวคิดต่างๆ ตั้งแต่การวิจัยคืออะไร ตัวแปรเป็นยังไง พร้อมยกตัวอย่างไว้ละเอียดทีเดียว ใครสนใจลองหาดูครับ
138
ช่วงนี้มีคนมาขอให้ช่วยเรื่องการเขียน essay ช่วยไปแนะนำ source ให้ไปลองดูเพิ่ม และพบว่ามี Youtube channel ที่สอนเรื่องนี้ไว้ได้ดีมากทีเดียวครับ สนใจลองดูนะครับ youtu.be/UFXN8v4V-fI
139
ใครอยากได้เป็นไฟล์โหลดได้ตามลิงก์นี้เลยครับ blogs.monm.edu/writingatmc/fi…
140
แจก writing template ในการเขียนเปเปอร์เป็นอิ้งครับ เรียงให้ตามใจความที่อยากสื่อ
141
(1) หลังจากตรวจข้อสอบกลางภาคของนิสิตปี 3 ในภาคก็ลองทำ Thematic analysis เพื่อค้นหาว่าอะไรทำให้เด็กปีนี้ได้คะแนนดีไม่ดีในวิชาทฤษฎี หลังทำได้ข้อค้นพบบางอย่างดังนี้ 1. นิสิตที่ได้คะแนนไม่ดีมักเกิดจากโครงสร้างการเขียนเป็นหลัก ใจความไม่ได้ต่างกันแต่การเรียบเรียงเละ คะแนนจะน้อยลงทันที
142
#มีคอร์สมาเสนอ #มีหนังสือมาเสนอ browse course ฟรีใน edX ดูแล้วพบคอร์นนี้จาก Harvard เป็นคอร์สให้ค.รู้เกี่ยวกับเมืองต่างๆ ของโลกตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันผ่านหลายๆ มุมทั้งสังคมวิทยา มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ อ.เจ้าของคอร์สมีนส.ที่เนื้อหาเกี่ยวเนื่องกันด้วยครับ ใครสนใจลองดูครับ
143
ทาง American Psychological Association (APA) ซึ่งเป็นคนคิด Format การอ้างอิงแบบ APA style ได้ออกมาเผยว่า ในเวอร์ชั่น 7 ที่กำลังจะออกมา ไม่จำเป็นต้องใส่ ”สถานที่พิมพ์” ในส่วนการอ้างหนังสือแล้วนะครับ ** ใดๆ หากใครต้องอ้าง ตอนนี้ต้องใส่ไปก่อนนะครับ เวอร์ชั่นนี้ยังไม่ประกาศทางการ
144
(1) ส่วนตัวรู้สึกว่าข้อความนี้น่าสนใจ อยากเสนอภาพที่ซับซ้อนขึ้นอีกนิดว่า ไม่ใช่ไม่มีใครสนใจฟังอย่างเดียว ทว่าคนที่ฟังต้องเป็นคนที่เขาอยากเล่าด้วย ไม่ใช่ใครก็ได้ งานวิจัยพบว่าการเกิดอารมณ์เหงา/หว่าเว้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่รู้จักอย่างเดียว แต่อยู่ที่คุณภาพของคนที่รู้จักด้วย twitter.com/aloneww/status…
145
#มีหนังสือมาเสนอ นส.เล่มนี้ไม่วิชาการจ๋าครับ คนไม่มีพื้นก็อ่านได้สบายๆ นส.พาเราไปทำค.เข้าใจการเปลี่ยนแปลงสังคมครับ ผู้เขียนเล่าถึงการเปลี่ยนผ่านทางสังคมโดยดูจากพลวัตรของบรรทัดฐานซึ่งวิเคราะห์ผ่านมุมมองต่าง ๆ ทั้งในเชิงจิตวิทยา สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมครับ ลองหาอ่านดูครับ
146
(1) การวิจารณ์งานเขียนของคนอื่นอย่างสร้างสรรค์ หรือที่เรียกว่า “ติเพื่อก่อ” มีวิธีการวิจารณ์ดังนี้ครับ 1. ควรเริ่มด้วย comment ภาพรวมของงานในเชิงบวกครับ ต่อให้งานนั้นจะมีคุณภาพงานอย่างไรก็ตาม 2. ระบุจุดแข็งของงานที่จะวิจารณ์สัก 1-2 ข้อครับ ว่างานนี้มีดียังไงก่อนเริ่มวิจารณ์
147
Contribute คือ งานควรมีข้อเสนอแนะไม่เชิงวิชาการก็นโยบายต่อสังคมบ้าง อันนี้มักใช้เป็นตัวจบเปเปอร์เพื่อให้เปเปอร์มีคุณค่า ไม่ก็เขียนที่มาและความสำคัญด้วย ปกติ ประเด็นนี้คิดไว้ตั้งแต่ตอนคิดหัวข้อที่จะเขียนจะดีมาก เพราะถ้าคิดออกว่าอยาก contribute อะไรก็จะได้ตัวเปิดกับตัวปิดไปด้วยเลย
148
Concrete คือ ยกตัวอย่างสะท้อนสิ่งที่ต้องการจะสื่อให้คนอ่านเห็นภาพให้ได้ ปกติจะไม่ยกตัวอย่างเป็นเหตุการณ์สมมติ (ถ้าทำได้) พยายามใช้ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงๆ จากข่าวหรืองานวิจัย เพื่อทำให้คำกล่าวอ้างของเรามีน้ำหนักมากที่สุด บางครั้งก็ยกตย.เพื่อช่วยให้คนอ่านเข้าใจแนวคิดเราด้วย
149
Convince คือ เขียนให้มีประเด็นชัด และไม่วกวน จัดเรียงโลจิกในการเขียนดีๆ ปกติส่วนนี้คือจะเช็คหลังจากเขียนใกล้จะจบ ถ้าตัวเองอ่านแล้วพยักหน้าให้ตัวเองได้ก็ผ่าน ทริคคือ ร่างโครงร่างที่จะเขียนก่อน แบ่งเป็น theme แล้วก็เขียน support ideas ลงไปในแต่ละ theme แล้วหาวิธีเรียงให้ดู convince
150
Concise คือ การเขียนให้แนวคิดเราถูกต้อง หรือคำจำกัดความสอดคล้องกับเรื่องที่เขียนครับ ในย่อหน่าที่ต้องมีการนิยามศัพท์ต่างๆ จะต้องยืดหลักว่าคนอ่านต้องเข้าใจว่าเราจะสื่ออะไร และสิ่งที่ยกมาต้องมีที่ไปที่มาสนับสนุน หรือถ้าจะเป็นการนิยามด้วยตัวเองก็ควรมีต้นเหตุว่าได้แรงบันดาลใจมาจากไหน