101
มันไม่ได้อยู่ที่ว่าคุณอ่านหนังสือประเภทไหน มันอยู่ที่ว่าคุณอ่านเพื่ออะไร สิ่งที่คุณได้จากหนังสือ แม้เป็นเล่มเดียวกัน ก็จะต่างกัน
วันที่คุณหยิบหนังสือเล่มเก่ามาอ่านใหม่ด้วยจุดประสงค์ในหัวที่ต่างจากเดิม โลกอักขระในนั้นก็กลายเป็นการเดินทางครั้งใหม่ให้คุณได้ตื่นเต้นไปกับมันอีกครั้ง
102
#มีศัพท์Textมาเสนอ
ardently = (มีอารมณ์) อย่างแรงกล้า
yearning = ความปราถนาอันแสนยาวนาน (ในอะไรบางอย่าง)
brazenly = อย่างไม่เกรงกลัว
grandeur = สิ่งที่ดูสูงศักดิ์
inveterate = ที่ติดเป็นนิสัย
monumental = อย่างมหันต์
prosaic = ธรรมดาๆ จืดชืด
peripatetic = เดินทางไป-มา
103
#มีศัพท์Textมาเสนอ
servitude = ความเป็นทาส ถ้าใช้ในเชิงรัฐศาสตร์หรือกฎหมายแปลว่า “ภาระจำยอม” ได้ด้วยครับ
horrid = น่ากลัว, น่าสยดสยอง
palpable = ซึ่งสัมผัสได้, ซึ่งรับรู้ได้ชัดเจน
virility = ความมีกำลังวังชา
malady = โรค
ignominiously = อย่างน่าอัปยสอดสู
104
#มีศัพท์Textมาเสนอ
credulity = ความเชื่อคนง่าย, หูเบา
satirize = ถากถาง, เหน็บแนม
frivolous = เหลาะแหละ, ทำอะไรเล่นๆ ไม่เอาจริงเอาจัง
unselfconcious = ซึ่งไม่เสแสร้ง
blatantly = (แสดงออกมา) อย่างโจ่งแจ้ง
arduous = อันแสนยากลำบาก, ตรากตรำ
esoteric = (บางอย่าง) ซึ่งรู้กันในวงจำกัด
105
106
#มีศัพท์Textมาเสนอ
อ่าน Text แล้วเจอศัพท์น่าสนใจ
1. lyceum = ใน text ให้ค.หมายว่า ห้องแสดงปาฐกถา แต่จริงๆ ยังหมายถึงสถานศึกษารูปแบบหนึ่งด้วยครับ
2. bequeath = กริยา แปลว่า มอบให้ ยกให้ ใน text ใช้ในบริบทที่คนมีค.รู้มากกว่ายกค.รู้ให้
3. Chalatan = คนแสร้งทำเป็นมีค.รู้ มีทักษะ
107
ที่ปรึกษาป.ตรีพูดว่ามีคนในโลกวิชาการสองแบบใหญ่ ๆ คนที่ see things as they are กับ see things as they should be
2 แบบนี้ไม่ได้ compete กัน แต่ compromise สำคัญคือ ต้องรู้จักเรียนรู้ว่าอีกฝ่าย set value ไว้ยังไง แบบไหน เรื่องต่าง ๆ ของเราอยู่จุดไหนบน spectrum นี้
108
มีคอร์สออนไลน์มาเสนอครับ
เป็นคอร์สโดยภาควิชาภาษาศาสตร์ จุฬา คอร์สนี้มีที้งสิ้น 11 ตอน พูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงภาษา (Language Change)
ตัวคอร์สจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในทุกระดับเลยครับ ตั้งแต่เสียง คำ ไวยากรณ์ ใครสนใจลองดูคลิปแนะนำได้ครับ
youtu.be/8IZFvhUXfnc
109
110
ทำ self-reflection บ่อย จนมีไกด์ไลน์ที่ใช้ประจำ อยากสำรวจตัวเองแต่ไม่รู้เริ่มยังไงลองดูสูตรผมกัน 55
1 ตอนนี้ทำกี่บทบาท
2 บทบาทต่างๆ ดำเนินราบลื่นไหม อะไรกำลังจะจบ อะไรเพิ่งเริ่ม ทิศทางแต่ละอันเป็นไง
3 แต่ละบทบาท โอเค/ไม่โอเค? เพราะอะไร? (อันนี้ทำเพื่อหาต้นตอการ burn out ด้วย)
111
112
(7) ในแง่นึง พอค.หมายของ toxic masculinity กว้างขึ้น คำนี้ก็นำไปใช้ในค.หมายว่า “ผู้หญิง” ที่มีพฤติกรรมหรือทัศนคติแย่ อยู่แล้วรู้สึกเป็นพิษ ได้เช่นกัน
ตอนนี้ทั้งสองคำอยู่ในภาวะที่ค.หมายเกิดค.ลื่นไหลอยู่ หากนำไปใช้ควรระบุค.หมายที่ต้องการสื่อให้ชัดเจนเพื่อกันค.เข้าใจคลาดเคลื่อนครับ
113
(6) เช่นค่านิยม อาทิ ผู้หญิงต้องรักนวลสงวนตัว ผู้หญิงห้ามพูดจาโผงผาง ผู้หญิงควรนอบน้อมเชื่อฟังคนอื่น ผู้หญิงต้องมีเสน่ห์ปลายจวัก ได้ไปกดทับเสรีภาพพึงกระทำได้ของผู้หญิง หรือสร้างเงื่อนไขให้ผู้หญิงเสียเอง
114
(5) ด้วยกระแสการใช้ toxic masculinity ที่มากขึ้น คำอย่าง toxic femininity ก็เกิดขึ้นมาด้วย
ตรงนี้เป็นปัญหาว่า มันเกิดขึ้นมาจากการเทียบกับ toxic masculinity ใน sense ไหน? แต่ถ้ายึดตามขนบ คำนี้ควรอ้างถึงภาวะที่ความเป็นหญิงตามบรรทัดฐานสังคมถูกใช้ทำร้ายผู้หญิงและส่งผลเสียต่อสังคม
115
(4) ทว่าในปัจจุบันคำนี้ได้ขยายค.หมายโดยคลุมถึง “ตัวผู้ชาย” ที่ใช้ค.รุนแรงในการแก้ปัญหา เหยียดเพศ ทัศนคติป่วย ด้วย ซึ่งฉีกออกจากค.หมายที่ใช้แต่แรก ในแง่นี้จึงอาจจะต้องดูบริบทในการใช้ดีๆ ครับ
ค.หมายล่าสุดยังถูกจำกัดในเชิงวิชาการ ดังนั้นหากใครใช้ในงานวิชาการอาจจะต้องระวังนิดนึงครับ
116
(3) นอกจากนี้ ยังใช้อ้างถึงภาวะที่สังคมยอมรับ/ทำเป็นเพิกเฉยต่อค.รุนแรงบางประเภท เช่นการชกต่อยระหว่างผู้ชาย หรือค.รุนแรงในครอบครัว เนื่องจากมองว่าเป็นสิ่งที่ผู้ชายกระทำได้ในสังคมจากธรรมชาติความเป็นชายตามบรรทัดฐานทางสังคม ซึ่งในท้ายที่สุด กลับเป็นผลเสียต่อคนในสังคมเสียเอง
117
(2) คำนี้ถูกคิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 80-90 ครับ ตามนิยามเดิมหมายถึง การที่ค่านิยมค.เป็นชาย เช่น ผู้ชายต้องปกปิดความอ่อนแอ ต้องมีภาพผู้นำ ดูเข้มแข็ง ดูมีอำนาจ น่ายำเกรง สร้างเงื่อนไขหรือกดดันผู้ชายที่ออกจากบรรทัดฐานดังกล่าวให้ดูด้อยลง ที่เราพูดว่า “ดูไม่แมน” นั่นแหละครับ
118
ว่าด้วยเรื่อง toxic masculinity
(1) คนนำคำนี้มาใช้ตามสื่อเยอะขึ้นเรื่อยๆ จำนวนหนึ่งเข้าใจว่าคำนี้พูดถึงผู้ชายที่มีพฤติกรรมหรือทัศนคติที่เป็นพิษเมื่ออยู่ด้วย
ที่จริงแล้ว โดยเฉพาะในวงวิชาการคำนี้อ้างถึง สภาพที่บรรทัดฐานทางสังคมเกี่ยวกับเพศชายได้ทำร้ายผู้ชาย รวมถึงคนอื่นๆ ในสังคม
119
ให้นร.เขียน essay ในหัวข้อที่สนใจ นร.เลือก การค้าประเวณี ซึ่งเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องใช้ศัพท์เกี่ยวกับการ "ร่วมเพศ"
นร.มีคำถามว่า นอกจาก sexual intercourse แล้ว มีคำอื่นอีกไหม เลยบอกเพิ่มอีก 3 คำ คือ
- copulation
- coition
- fornication (คำนี้ใช้กับการร่วมเพศของคนที่ยังไม่แต่งงาน)
120
เป็นคนติดจำคำศัพท์จากที่มา หรือส่วนประกอบของคำ ชอบพวก prefix / suffix / root มาตั้งแต่จำความได้ รู้สึกว่า ถ้ารู้คำนี้ประกอบมาจากอะไร ประกอบขึ้นมายังไง ก็จะจำคำนั้นได้ไปเลย เช่น พอรู้ว่า ab- แปลว่า ‘away’ คำอย่าง absent / abduct / adject ก็เข้าใจง่ายขึ้นมาทันที
121
น่าเปิดคลาสสอนเขียน essay
สอนตั้งแต่กระบวนการคิด เทคนิคจำเป็นพวกการสแกนและคัดเลือกบทความ ดีไซน์บันทึกข้อค้นพบ การใช้ข้อมูลที่ได้ การเขียนส่วนต่างๆ เช่น ความนำแบบต่างๆ กลเม็ดเขียนบอดี้
แถมการใช้ Endnote ทำคลังข้อมูลอ้างอิง สอนว่าใช้การอ้างแบบไหนตอนไหน
เอาจริงมหาลัยควรมีวิชานี้
122
123
#มีหนังสือมาเสนอ
นส.เล่มนี้มอง “เวลา” ในฐานะตัวแปรที่มีค.สัมพันธ์กับปรากฏการณ์สังคมครับ
นส.พาไปทำค.เข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับเวลาในด้านต่างๆ พร้อมทั้งชักชวนให้ตั้งคำถาม อาทิ การรับรู้เกี่ยวกับเวลาเมื่อวิทยาศาสตร์พยายามทำให้เวลาทางสังคมกลายเป็นภาพเชิงปริมาณ
ใครสนใจลองหาอ่านดูนะครับ
124
อ้อ อัตรานี้เริ่มใช้ปี 63 นะครับ นิสิตที่เข้าเรียนก่อนปี 63 ยังคงใช้อัตราเดิมจนจบการศึกษาในปริญญานั้นๆ ทั้งป.ตรีและระดับบัณฑิตศึกษาครับ
125