151
พูดถึงเรื่องเขียนเปเปอร์ มีทริคในการเขียนมาแชร์ครับ
สมัยเรียนป.ตรี ที่ได้คะแนนเปเปอร์ดีเพราะใช้หลัก 4 cons ได้แก่
1) concise
2) concrete
3) convince
4) contribute
152
@Devilkin21 @typx27 เขียนทวิตนี้เพิ่มต่อท้ายแต่ติดงาน มาอีกทีคนรีไปเยอะแล้ว อย่าเพิ่งไปตีกันว่าใช้กันเกลื่อนไม่เกลื่อนนะครับ 55 คือท่อนข้อความที่มี They is มันพิมพ์ว่า John is my friend. They is a doctor แต่เป็นท่อนในอารติเคิลแนว queer น่ะครับ น้องถามพิมพ์ผิดไหม ผมบอกว่าเขาน่าจะใช้เพื่อชูประเด็น 55
153
@Devilkin21 @typx27 ถ้าในเชิง syntax ยังไม่มีข้อตกลงว่าใช้ได้เป็นสากลครับ อันนี้ก็ถกกับนักเรียนตอนสอนเหมือนกันว่ามันยังผิด แต่ในเชิง pragmatics มีการใช้ในลักษณะนี้เพื่อฉุดประเด็นเรื่้องความเท่าเทียมทางเพศน่ะครับ ไม่เป็นที่กว้างขวางยังใช้เฉพาะกลุ่มงานที่เป็นงานสาย queer
154
155
@stampwords พอเป็นแบบนี้คนเลยใส่ความหมายชั่วคราวหรือสร้างวาทกรรมของการนั่งไขว่ห้างว่าเป็นอะไรก็ได้ ได้ง่ายมากโดยคนไม่ตะขิดใจเรื่องนี้เท่าไหร่ ก็น่าแปลกที่ค.หมายของท่าไม่จับตัวมากพอให้ตีความได้ทางเดียว เมื่อเทียบกับท่านั่งประเภทอื่นที่มีความหมายค่อนข้างแน่ชัด เช่นขัดสมาธิ หรือพับเพียบ
156
@stampwords นอกจากประเด็นค.ต่างในการตีความแล้วที่น่าสนใจอีกอย่างคือ การนั่งไขว่ห้างเป็น liquid indexicality คือมันเก็บสัญญะของท่าทางมันได้ไม่นาน ค.หมายเปลี่ยนไวมากยุคนี้มองแบบนึง ยุคนั้นมองอีกแบบ แสดงว่ามันเป็นท่านั่งที่ไม่ได้มีมานานครับ ไม่อยู่ใน gesture corpus แต่แรกที่มนุษย์ทำกัน
157
@stampwords ในขณะที่ในบางกลุ่มวัฒนธรรมเช่น อิสลามการนั่งไขว่ห้างดูเป็นการท้าทายอำนาจและสามหาวครับ
ที่น่าสนใจคือ ในวัฒนธรรมเอเชียท่าทางดังกล่าวกลับถูกตีความว่ามีเสน่ห์ ผ่านประเด็นที่ว่าการนั่งไขว่ห้างทำให้เห็นสัดส่วนร่างกายชัดขึ้นด้วยครับ
158
@stampwords คำถามน่าสนใจมากครับ ถ้าให้นักสังคมวิทยาอย่างผมตอบคือ การนั่งไขว่ห้าง เป็น gesture ที่มี social meaning ครับ เคยอ่านจากสักที่ ซึ่งที่น่าสนใจคือมันถูกตีความต่างกัน ในวัฒนธรรมยุโรปการนั่งไขว่ห้างสะท้อนถึงสัญญะของ open-minded personality ผ่านการดูอยู่ใน position ที่ inactive ครับ
159
(2) น้องติวเตอร์บอกว่า เรียนเอาที่เรียนไปใช้หาตังต่อได้ เขาจะสอนต่อ
น้องคนเรียนถึงขั้นสะอื้นแต่ผมประทับใจและชื่นชมสปิริตความเป็นผู้ให้ของน้องติวเตอร์จริงๆ ครับ :)
ขนาดนั่งข้างๆ ยังรับรู้ได้ว่าเขาเองก็ทุ่มเทกับการสอนจริงๆ
เอาจริงๆ ถ้านักเรียนตั้งใจ ไม่มีผู้สอนคนไหนไม่อยากสอนนะ
160
(1) วันนี้ตอนรอสอนพิเศษอยู่ มีรุ่นน้องร่วมอาชีพติวเตอร์นั่งอยู่โต๊ะถัดไป ตอนท้ายคาบน้องที่เรียนด้วยบอกว่า นี่เป็นคาบสุดท้ายที่จะได้เรียนแล้ว น้องคนสอนก็งงๆ น้องบอกว่าตังเก็บที่สะสมมาเรียนหมดแล้ว พอดีมีเรื่องต้องใช้
น้องติวเตอร์บอกว่า งั้นมาเรียนเถอะ มีมาคืนค่อยเอามาคืน
161
(1) หลังสอนเสร็จบางครั้งนักเรียนจะถามว่า ที่เรียนไปเอาไปใช้ทำ(อาชีพ)อะไรได้บ้างไหม และทุกครั้งผมก็จะแจงว่า ศาสตร์บนโลกนี้แบ่งได้คร่าวๆ เป็นฝั่ง “วิชาการ” กับ “วิชาชีพ”
บางวิชาเป็นสายวิชาการ คือ เป็นศาสตร์ที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพื่อไปประกอบอาชีพอะไร แต่เป็นวิชาให้ค.เข้าใจที่ลึกซึ้ง
162
163
พออ่านแนวสังคมวิทยามานุษยวิทยาเข้าหนักๆ ขอเสียอย่างหนึ่งคือ ทำให้เราดูไม่มีจุดยืนในสายตาคนที่มีจุดยืนมากๆ ไปเลย
ออกแนวรู้ว่าฝ่ายที่มีจุดยืนต่างๆ ทำไมมีจุดยืนแบบนั้น พอเข้าใจก็จะ “โอเค” จบ 55
จะว่าไม่มีจุดยืนเลยก็ไม่ถูก มีแต่ก็เข้าใจอีกฝ่ายจนไม่ได้แสดงจุดยืนอะไรออกมาแรงๆ มากกว่า
164
(1) เมื่อสอนนักเรียนเรื่อง mate selection trend ในวิชาสังคมวิทยาเบื้องต้น
เปิดประเด็นด้วยการพูดถึงการศึกษาโดยนักสังคมวิทยาที่พบว่า เรามักจะเลือกคู่ที่มีลักษณะทางสังคมอยู่ระดับเดียวกับเรา เช่น race เดียวกัน socioeconomic status เดียวกัน ซึ่งสิ่งนี้เรียกว่า homogamy
165
(2) นอกจากแนวโน้มชื่นชอบคู่ครองแบบ homogamy แล้ว การเลือกคู่ครองยังมีแนวโน้มที่จะเลือกคนที่อยู่ไม่ไกลจากตัวเราด้วย
นักสังคมวิทยาพบว่า หากคนที่เราคุยด้วย อยู่ในพื้นที่สังคมใกล้เรา เช่น จบรร. หรือมหาลัยเดียวกัน เราจะมีแนวโน้มปันใจให้ง่ายกว่า สังวิทย์เรียกอันนี้ว่า propinquity
166
167
วันนี้มีคำที่ใช้กันสักพักแล้วในวงการวิชาการ แต่ผู้เรียนอยู่อาจจะยังไม่คุ้น หรือคิดว่ายังไม่มีการบัญญัติ คำนั้นคือคำว่า
“พิชญพิจารณ์” ครับ เป็นศัพท์บัญญัติของคำว่า “peer review”
คำที่ใช้กันก่อนบัญญัติคือ “การทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน”
ชอบการบัญญัติคำนี้ สวย เข้าใจง่ายและดูแพง
168
(3) ยังไม่นับว่าสนใจศึกษารูปแบบของการทำว่าเป็นยังไง มี correlation กับ independent variables ตัวไหนยังไง แล้วมันจะยิ่งน่าสนใจทีนี้พอได้ pilot มาประมานนึงแล้วเอามาขยายด้วย conceptual framework ตั่งต่าง
169
(2) แล้วจริงๆ พอมันมีปรากฏการณ์ที่มี drawback เกิดขึ้นเราก็ hypothesize ได้เลยว่าสังคมออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียมี chaos และมีสภาพ toxic เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่งั้นคำนี้จะไม่สะท้อนออกมาชัดและเริ่มแผ่ขยายขนาดนี้ นี่เลยอยากศึกษา mechanism ว่าสภาพแวดล้อมเช่นไร induce ให้คนทำ social detox
170
(1) ตอนนี้ได้ยินคำว่า social detox จากคนรอบข้างถี่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทุกคนที่ใช้คำนี้นิยามไปในทางเดียวกันว่าคือ การพักและเอาตัวเองออกมาจากการเล่นโซเชียลมีเดีย หรือ การกลับมาอยู่กับตัวตนในโลกจริงๆ
สนใจประเด็นนี้มากตรงที่นั่นสะท้อนให้เห็นว่ามันมี drawback จากการใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์
171
ถามอ.ว่า คนที่ได้เกียรติ 1 ควรมีเท่าไหร่ต่อคนทั้งรุ่น อ.ให้ค.เห็นว่าควรมีประมาณ 10 เปอร์เท่านั้น ให้คนที่เป็นเลิศจริงๆ ซึ่งเขาต้องแสดงให้เห็นผ่านความรู้หลายๆ วิชา อ.บอกว่ามันสำคัญกับการสมัครงานสายวิชาการ แบบมันยังพูดได้เต็มปากว่าจะสมัครอาจารย์แต่คุณไม่ได้เกียรตินิยมมาราศีก็ไม่จับ
172
ได้คุยกับอ.ท่านนึงถึงค.น่าเชื่อถือของการได้เกียรตินิยมอันดับ 1 สรุปสาระที่ได้คือ
1. คุณค่าของเกียรติ 1 ลดลงไปเยอะ จากการแจกเกรดและการกำหนดเกณฑ์ได้อันดับ 1 ลดลงมาในบางม.
2. คนตีความคำนี้ผิดไป เจตนาเดิมที่คำนี้มอบให้ผู้เป็นเลิศทางวิชาการ แต่คนเหมารวมไปด้วยว่าต้องมีค.สามารถรอบได้
173
รู้สึกว่าการให้นิยามเป็นขั้นตอนสำคัญมากก่อนจะมาถกเถียงกัน
เหมือนเวทีเลย แบบดีเบตจะไม่หลุดไปไกลกว่าขอบเขตนี้นะ ดี๋ยวนี้คนใช้คำเดียวกันในค.หมายต่างกันเยอะมาก
เพื่อนถกกันเรื่องทอมคบผู้ชายผิดมากไหม ถกกันแทบตาย คนนึงเข้าใจทอมว่าคือผญ.แต่งแมนๆ คนนึงเข้าใจว่าเป็นรสนิยมทางเพศแบบนึง
174
(1) ถกกับเพื่อนประเด็น ทำไมรู้สึกว่าทฤษฎีสังคมวิทยาไม่เหมือนวงการทฤษฎีอื่น สรุปได้ข้อนึงคือ จุดมุ่งหมายของทฤษฎีไม่ได้โฟกัสที่ richness in thinking อันที่จริงเรื่องนี้เห็นได้ชัดจากต้นกำเนิดของศาสตร์เองที่นักคิดเช่น เดอร์ไคม์ สร้างแนวคิดขึ้นมาเพื่อใช้ทำวิจัยในประเด็นทางสังคมด้วยซ้ำ
175
#มีหนังสือมาเสนอ
การโกหกเป็นกิจกรรมน่าสนใจในหลายมิติครับ การโกหกทำหน้าที่ในเชิงวัฒนธรรม/ปวศ. ยังไง เกี่ยวข้องกับโครงสร้างทางสังคมยังไง การโกหกเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้หรือเรามีความสามารถนี้โดยกำเนิด นส.เล่มนี้พาไปทัวร์มุมมองสังคมวิทยาเพื่อตอบปัญหาที่ว่ามานี้ครับ ใครสนใจลองดูนะครับ