⠵⠑⠝⠚⠊(@zenjigame)さんの人気ツイート(新しい順)

76
เมื่อวานสอนคลาสสถิติเพื่อการวิจัยไป เป็นหัวข้อที่ผมคิดว่ามีประโยชน์กับหลาย ๆ คนที่กำลังเริ่มทำโปรเจ็กกันด้วย คือเรื่องชนิดตัวแปร ครับ ในทางวิจัยตัวแปรมีหลัก ๆ อยู่ 4 ประเภท คือ ตัวแปรต้น (independent) ตัวแปรตาม (dependent) ตัวแปรแทรกซ้อน (intervenning) และตัวแปรนำ (antecedent)
77
ประเด็นต่างๆ ช่วงนี้สะท้อนปฏิบัติการภาษาออกมาไม่น้อย ที่น่าสนใจประการนึงคือ ป้ายต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงค.เห็น มีการใช้อักษรย่อมากขึ้น การย่อคำเป็นการเพิ่มค.กำกวม ซึ่งต้องใช้ค.รู้ที่มีร่วมกัน ในการคลาย มันจึงสร้างค.เป็น “กลุ่มเดียวกัน” ได้หากเห็นตรงกัน
78
ทริกในการจำศัพท์คือ จำพร้อมกับแหล่งที่เจอ การจำพร้อมแหล่งที่เจอทำให้นึกถึงศัพท์คำนั้นออกมาได้ไว รวมถึงเก็บในหัวได้นานกว่า เลยเป็นสาเหตุว่าคนที่ฟังเพลง ดูซีรีส์ หรืออ่านนส.จะได้ศัพท์มากกว่าการนั่งท่องแผ่นศัพท์เป็นหน้าๆ วิธีการนี้เป็นโลจิกของพวกแต่งศัพท์เป็นเพลงด้วย
79
- การเลือกเพื่อนจึงถือเป็น taste กล่าวคือ เป็นผลผลิตจากการขัดเกลาทางสังคมที่เราอยู่ สังคมทุกวันนี้คิดอะไรเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น (จากสภาพต่าง ๆ ตั้งแต่ยุคโมเดิร์น) นอกจากนี้ภาพของการมองเพื่อนก็เปลี่ยนไป ที่น่าสงสัยคือ "นิยาม, คุณค่า, ค.หมาย" ของคำว่าเพื่อน เป็นอย่างไรในทุกวันนี้ ?
80
- มุมหนึ่งทางสังคมวิทยาที่อธิบายเรื่องนี้ได้ คือ เพื่อนเป็น node ในเครือข่ายสังคมทำหน้าที่ share data ให้กับเรา การได้เพื่อนที่เป็น node แบบที่เรา (พ่อแม่เรา สังคมเรา) พอใจย่อมดีกว่า ซึ่งสิ่งนี้ ไม่ได้เป็นเรื่องที่ปัจเจกกำหนดได้มากนักในตอนต้นของชีวิต แต่ถูก shape มาแล้วระดับหนึ่ง
81
- จากข้อข้างบน ทำให้ในสมัยนี้การคบเป็น strategic planing ที่ได้รับการฝังเข้าไปเป็น program หนึ่งในสถาบันครอบครัว พ่อแม่เลือกรร. ไม่ใช่แค่เพราะรร.ดี แต่สังคม ซึ่งหมายรวมถึงการได้เอคนเพื่อเป็นเพื่อน ก็ถูกกำหนดรวมไว้ในนี้ด้วย อีกทั้งพ่อแม่พยายามเลือกเพื่อนให้ลูกตั้งแต่เด็กๆ
82
วันนี้คุยกับเพื่อนนักสังคมวิทยาด้วยกัน ถกกันเรื่องแนวโน้มของการคบเพื่อน (friend making) สรุปที่ถกกันได้ว่า - mode of making friend ได้รับการ rationalization กล่าวคือ ทุกวันนี้เรา "เลือก" คบเพื่อนด้วยเหตุผลอะไรบางอย่างเสมอที่นอกกว่าอยู่ด้วยกัน ทำงานด้วยกัน เลยเป็นเพื่อนกัน
83
#มีศัพท์textมาเสนอ intertwine = เกี่ยวเนื่อง, พัวพัน resurgence = การหวนคืนมา, การกลับมาผงาดอีกครั้ง sustenance = การดำรงอยู่, การยังชีพ decolonisation = การปลดปล่อยอาณานิคม, การให้เอกราช inextricably = ที่หนีไม่รอด, ที่เอาไม่ออก bound up = ผูกติดไว้กับ, ยึดไว้กับ
84
#มีศัพท์textมาเสนอ innocuous = ไม่มีพิษมีภัย, ไม่มีเจตนาแอบแฝง unrelenting = (กับลักษณะของคน) ที่ไม่ยอมอ่อนข้อ, ที่ไม่ปราณี (กับสถานการณ์) ที่ไม่หยุดหย่อน hyperbole = คำพูดที่กล่าวเกินจริง, อติพจน์ far-fetched = ไกลจากความจริง, ซึ่งดูเป็นไปได้ยาก Topple = โค่นล้ม, คะมำ
85
วันนี้คุยกับอ.ที่ภาคเรื่องการยกตัวอย่าง อ.บอกว่าหลังๆ นิสิตเขียนแนว one case explains all เยอะมาก คือยกเคสสุดโต่งที่ตรงและสะท้อนแนวคิดนั้นๆ แต่ outlier แบบค.ถี่ในการเจอต่ำกว่าภาพอื่นๆ มันตรงทฤษฎี แต่ไม่มีพลังในการอธิบายภาพทั้วไปในประเด็นนั้น เลยยากจะเคลม validity อยู่ดี
86
ใครกำลังจะเขียน study plan ขอทุนไปเรียนต่อ กำลังเรียนป.โท ป.เอก ทำวิทยานิพนธ์ เชิญเลยครับ บทความที่ผมเขียนเป็นการบอกเล่าเก้าสิบการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อใช้ในการเรียนและเรียนต่อ หวังว่าจะเป็นประโยชนนะครับ minimore.com/b/b5Kvx/4
87
มีความคิดอยากเขียนเรื่อง How to + Tips and tecniques การเขียนโครงร่างวิจัย (proposal) เพื่อเอาไว้ใช้ทำ study plan ส่งทุนต่างๆ / ทำโปรเจ็คจบ / เขียนธีสิส มี content ละ แต่จะมีเวลาเขียนให้เสร็จไหมอีกเรื่อง แต่ตะมีใครอยากอ่านก่อน 😂😂
88
ประกาศรายละเอียด+ขั้นตอนการสมัครรัฐศาสตร์ ฬ inter ในหลักสูตร Politics and Global Studies and มาแล้วนะครับ ตามรูปเลย
89
#มีศัพท์textมาเสนอ escalate = ทำให้มากขึ้น, บานปลาย prefigure = คาดการณ์ไว้ outlandish = แปลกประหลาด (จากค่านิยม/บรรทัดฐานคนในพื้นที่) nomadic = เรร่อน, ไม่อยู่เป็นที่ husbandry = กสิกรรม, การทำไร่ไถนา intransigent = เปลี่ยนแปลงยาก impasse = ทางตัน residual = ซึ่งเป็นเศษตกค้าง
90
รีวิว: การเรียนสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่ ฬ เผื่อใครจะใช้ประกอบการตัดสินใจเข้าเรียนที่สาขานี้ครับ minimore.com/b/b5Kvx/3
91
#มีหนังสือมาเสนอ ทรัพยากรค.รู้ขุมหนึ่งที่สังคมวิทยาไม่ค่อยนำมาใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาคือ วรรณกรรมและเรื่องเล่าครับ นส.เล่มนี้เป็น monograph ที่นำเสนอว่าสิ่งเหล่านี้เองก็บรรจุค.รู้เกี่ยวกับสังคมไว้ รวมถึงนำเสนอหนทางใช้สิ่งเหล่านี้ในการศึกษาสังคมวิทยาครับ ใครสนใจลองหาอ่านดูนะครับ
92
เรียนสังคมวิทยา เอาจริงเหนื่อยนะ ทุกวินาทีในสังคมคือ รันเวย์ ต้องผงาดเท่าทันเหตุการณ์น้อยใหญ่ในสังคม ขั้นปรมจารย์ในวงการนี้จะออกแนว enlighten ไปจุดที่ เรื่องที่พวกนายอินกันตอนนี้ ฉันรู้มาตั้งแต่ 10 ปีก่อนแล้ว 55
93
#มีศัพท์Textมาเสนอ Alienation = ความรู้สึกแปลกแยก (สังคมวิทยา: ภาวะที่บุคคลถูกทำให้กลายเป็นอื่น หรือไม่มีค.เชื่อมต่อกับสังคม), อัญภาวะ Dissociation = กลไกทางจิตแตกแยก (จิตวิทยา: ภาวะที่คนคนหนึ่งมีบุคลิกอื่นที่ต่างจากปกติชั่วคราว) Xenocentrism = นัตนิยมทางวัฒนธรรม
94
เคยสงสัยไหมครับว่า self คืออะไร? สังคมมีส่วนช่วยในการสร้างตัวตนเราไหม? พันธุกรรม และ/หรือ การเลี้ยงดูเข้ามาเอี่ยวกับความเป็นมนุษย์ขนาดไหน? บทความนี้ผมตั้งใจเล่าสิ่งเหล่านี้ผ่านเลนส์ทางสังคมวิทยาครับ minimore.com/b/QJqAj/3
95
มีโอกาสได้ติวเศรษฐศาสตร์มหาภาคพื้นฐานให้รุ่นน้องที่คณะ เอาส่วนหนึ่งของสไลด์ที่ทำมาแชร์ครับ เผื่อใครกำลังประสบชะตากรรมต้องอ่านเรื่องเดียวกัน ได้ยินจากนร.ที่จะสอบเข้ามหาลัยว่า เนื้อหาเศรษฐศาสตร์ม.ปลายตอนนี้ก็โหดเอาเรื่องด้วย หวังว่าจะช่วยครับ
96
ไปค่ายเยาว์แล้วมีน้องคนนึงถามประมาณว่าเข้ารัดสาด ฬ skill อะไรสำคัญบ้าง? อันแรกที่ควรมีแน่ๆ คือ สกิลอ่าน text อิ้ง Slide + sheet เป็นอิ้งเยอะ สกิลไม่ต้องถึงขั้นเทพอะไร เอาให้อ่านแล้วจับใจความได้ อ่านไม่ช้ามาก ถ้าใครจะเข้าว่างๆ ฝึกจากพวกเว็บไซต์สำนักข่าวดู
97
#มีศัพท์Textมาเสนอ intellectuals = ปัญญาชน mavericks = ผู้ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด, พวกสวนกระแส, พวกแหวกแนว proletariate = ชนชั้นกรรมาชีพ lumpenproletariate = ชนชั้นล่าง, เศษชนชั้น bourgeoisie = ชนชั้นนายทุน, ชนชั้นกลาง, ชนชั้นกระฎุมพี technocrat = ขุนนางนักวิชาการ
98
#มีหนังสือมาเสนอ สำหรับใครที่สนใจทฤษฎีสังคมวิทยา (ทั้งมีพื้นและไม่มี) เล่มนี้เป็นเล่มที่ควรค่าแก่การอ่านมากครับ ถ้าจะให้อวยก็เป็นเล่มที่ดีที่สุดที่ผมเคยอ่านมา นส.มี original quotation ของนักคิดต่างๆ และตัวอย่างปรากฏการณ์ที่ทำให้เห็นภาพว่าแนวคิดนั้นๆ นำไปใช้อย่างไร ลองหาอ่านดูครับ
99
ระบบภาษาที่ว่านี้แบ่งออกเป็น 6 ด้านใหญ่ๆ คือ 1. ด้านเสียงในภาษา (phonetics) เป็นด้านที่เน้นศึกษาการออกเสียงเชิงกายภาพในภาษานั้นๆ เลยครับ มีความวิทย์จ๋าอยู่ ดูเคลื่อนเสียง ดูการแปรของเสียงในภาษานั้น เช่น สระอีที่คนไทยกับคนจีนมีเหมือนกัน ออกเสียงเหมือนกันจริงๆ ไหม เป็นต้น
100
ตอนบอกคนอื่นว่าเรียนภาษาศาสตร์ คำถามที่ได้กลับมาคือ “เรียนภาษาอะไร” มาครับผมจะเล่าให้ฟังว่า ภาษาศาสตร์ “เรียนอะไร” ภาษาศาสตร์เน้นศึกษาระบบภาษาที่มีอยู่ในโลกครับ = ไม่ได้ศึกษาภาษาใดภาษาหนึ่ง แต่ศึกษาระบบภาษาที่ทุกภาษามี แล้วทำการเปรียบเทียบ วิเคราะห์ ดูพลวัตรในนั้น