⠵⠑⠝⠚⠊(@zenjigame)さんの人気ツイート(新しい順)

176
(1) จากปสก.และที่รู้มา แอบเห็นปฏิบัติการของตัวแปรที่ทำให้คนจะคบกันอยู่ 3 ตัวคือ 1) การคุยกันถูกคอในครั้งแรกๆ ที่พบ (สร้างบรรยากาศแบบนี้ได้ 3-4 ครั้งแรก ที่คุยกัน) เป็นตัวแปรสำคัญมากในการสร้างค.สัมพันธ์ให้เกินเพื่อน ร่วมกับตัวแปรด้าน 2) หน้าตา และ 3) การมีใจ แล้วมันทำงานร่วมกันนะ
177
#มีหนังสือมาเสนอ Marx เป็นนักคิด classic ที่นักเรียนสังคมวิทยาทุกคนต้องเจอ นส.เกี่ยวกับ Marx มีออกมาเยอะแต่มีหนังสือนส.เพียงไม่กี่หยิบมือที่กลั่นปรัชญา Marx แล้วเขียนให้เป็น concept ทางสังคมวิทยาได้ดีและอ่านเข้าใจง่าย เล่มนี้เป็นหนึ่งในนั้น ใครสนใจ Marx เชิงสังคมวิทยา ผมแนะนำเลย
178
ถอย room diffuser กลิ่นใหม่มา กลิ่น “lost in library” เป็นกลิ่นไวน์จางๆ ส่วนผสมเป็นพวก grape aroma คนขายบอกช่วยทำให้มีสมาธิ เหมาะกับการอ่านนส.ช่วงก่อนนอน เลยซื้อมาลอง ใช้มาจะอาทิตย์ รู้สึกดีจริง กลิ่นจางๆ สูดได้เรื่อยๆ ไม่แสบจมูก ของ organika มีบู๊ทอยู่ชั้น 1 พารากอนเผื่อใครสน
179
ช่วงนี้ได้โอกาสร่วมงานกับอ.ที่ภาคโดยเป้าหมายคือ ทำค.เข้าใจว่าทำไมปัญหาพฤติกรรมทางการเมืองในปัจจุบันถึงยังรุนแรงอยู่ ทั้งที่เชิงสถาบัน/โครงสร้างเริ่มมีการสอนเกี่ยวกับหน้าที่พลเมืองมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 คำตอบหนึ่งคือ ไทยขัดเกลาประชาชนให้มีมารยาททางสังคมและการเมือง (civility) ไม่พอ
180
#มีหนังสือมาเสนอ พอได้ยินคำว่าอาย คนมักมองคำนี้ในแง่บุคลิกของคนที่รู้สึกว่าการเข้าสังคมกับคนอื่นเป็นเรื่องยากกว่าปกติ ทว่านส.เล่มนี้ชวนมองค.อายกว้างและลึกขึ้นอีกนิดครับโดยเชื้อเชิญให้คิดว่าที่จริงค.อายก็เกี่ยวกับสังคม ค.อายในระดับนี้มีประเด็นที่น่าสนใจอีกเยอะเลย ลองหาอ่านดูครับ
181
#มีแนวคิดมาเสนอ ปั่น thesis ต่อแล้วเข้าช่วงที่ต้องอ่านเกี่ยวกับ bilinguals พอดีเลยจะมาแชร์สิ่งที่ได้จากการอ่าน (1) พอได้ยินคำว่า bilinguals ส่วนใหญ่จะนึกถึงคนที่สามารถพูดได้สองภาษาแบบคล่องทั้งคู่จนดูเป็นภาษาแม่ของคนพูด มองแบบนี้คือกำลังมองคำว่า bilinguals ในค.หมายอย่างแคบอยู่
182
#มีเปเปอร์มาเสนอ เปเปอร์นี้พูดถึง Nothing ผู้เขียนตั้งคำถามกับความว่างเปล่าในเชิงสังคมวิทยาว่าจริงๆ ค.ว่างเปล่าถูกมองในภาวะใดได้บ้าง และอยู่ในรูปแบบใดได้บ้าง แล้วมีความหมายไหม ลองคิดถึงความเงียบเป็นตัวอย่างก็ได้ครับ ความเงียบเป็นความไม่มีที่มีค.หมายทางสังคมอยู่ ใครสนใจลองดูครับ
183
@stampwords พูดให้วิชาการหน่อยคือ จิตร ภูมิศักดิ์มอง art as social object คือเป็นวัตถุ ถ้าสร้างมาแล้วมีค.หมายย่อมดีกว่าสถาปนาขึ้นแล้วให้ค่าไม่ได้ แต่นศ.มอง art as social facts คือ ศิลปะมีค.จริงทางสังคมในตัวของมันเอง (ถูกสร้างให้มีแต่พอมีแล้วอยู่เองได้) fact ของมัน (สุนทรียภาพ) เลยมีพลังครับ
184
แต่เห็นด้วยว่าคนอ่านหนังสือ (ถ้าอ่านจริงๆ เพราะชอบ) ก็ไม่ได้อยากได้คำชมอะไรกับการอ่านนะ คือชอบอยู่แล้วด้วยตัวเอง ไม่ต้องชมก็ได้ (แอบเข้าใจรุ่นน้องในจุดนี้) นี่ก็คุยว่าถ้าคนที่เข้ามาแบบนี้ ถามใหม่เป็นอ่านเรื่องอะไร เนื้อหาเป็นยังไง คิดว่าสนุกไหม คนชอบอ่านนส.น่าจะแฮปปี้กว่า
185
ใคร sapio อยากจีบคนที่ชอบอ่านนส. อันนี้ผมบอกเลยได้ผล สร้างค.ประทับใจได้ดี 55
186
อันนี้น่าสนใจตรงที่ว่า จริงๆ คนไทยทั่วไปมองคนที่อ่านนส. อยู่สองแบบหลักๆ ไม่เนิร์ด ก็ขยัน ส่วนตัวคิดว่าอยู่ที่การเข้าสังคมของคนอ่านนส.ด้วยว่าจะ extrovert ขนาดไหน ถ้ามีหน่อยก็จะแซวไปในแนว ขยัน ถ้าเก็บตัวไม่สุงสิงก็จะออกไปทางเนิร์ด / หนอนหนังสือ
187
รุ่นน้องบ่นให้ฟังว่าเวลาอ่านนส. โดยเฉพาะที่ที่เจอคนรู้จัก) จะชอบโดยคนชม (หรือแซว) ว่า “ขยันจัง อ่านนส.” รุ่นน้องบอกว่าจริงๆ อ่านเพราะชอบอ่านเหมือนเป็นงานอดิเรกแบบนึง พอโดนชมก็ถูกมองว่าเป็นคนขยันเลยหงุดหงิดเพราะมันมีค.คาดหวังจากคนอื่นเวลาเป็นคนขยัน แต่จริงๆ ตัวเองไม่ใช่แบบนั้น
188
เครื่องหมายต่อไปคือ semicolon ; ครับ semicolon ใช้เชื่อมประโยคที่อยู่เดี่ยวๆ ได้ แต่มีเนื้อความสัมพันธ์กันมากเข้าด้วยกันครับ คือถ้าใช้ full stop มันเหมือนเนื้อความดูจะไม่เกี่ยวข้องกัน แต่พอใช้ semicolon จะเป็นการให้ภาพว่าสองประโยคนี้เนื้อความสัมพันธฺ์กันอยู่ครับ
189
เรื่องนึงที่ทำให้การอ่านงานวิชาการเข้าใจยากคือ Punctuation เลยจะมาเสนอหน้าที่ของเครื่องหมายวรรคตอนต่างๆ ใน text เริ่มที่ comma ละกัน comma ใช้อยู่หลายแบบครับ แต่ถ้าเจอแบบตามภาพ แบบนี้ ส่วนที่ถูก comma คร่อม คือส่วนขยายครับ เวลาอ่านส่วนนี้สามารถละได้ ถ้าไม่เข้าใจข้ามได้อยู่ครับ
190
9) De facto (deɪ fæktoʊ) แปลว่า ในเชิงพฤตินัย ครับ ทางสังคมศาสตร์ใช้พูดกันประมาณว่า ในเชิงข้อเท็จจริงแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นคือ... 10) De jure (deɪ dʒʊəreɪ) แปลว่า ในเชิงนิตินัย ครับ ทางสังคมศาสตร์ใช้พูดกันประมาณว่า ในเชิงตัวบทกฎหมายแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นควร ....
191
8) status quo (steɪ təs kwoʊ) แปลว่า ในภาวะหนึ่ง ๆ ที่ดำรงอยู่ (ของสิ่งนั้น) ครับ คำนี้เป็นคำที่คนมักจะงงความหมาย ในทางสังคมวิทยามักใช้ในความหมายว่า ภาวะทางสังคมขณะนั้น (ที่ไม่เปลี่ยนแปลง) เซนส์จะออกไปเชิงลบอ่อนๆ มันควระมีการเปลี่ยนแปลงแต่ยังคงมีสิ่งนี้ที่มีสภาวะดำรงอยู่ครับ
192
4) ibid ย่อมาจาก ibidem (ɪbidɛm) ครับ แปลว่า ในที่เดียวกัน เป็นวลีใช้ในรายการอ้างอิงครับ เวลาอ้างอะไรที่อยู่ในหนังสือเล่มเดียวกันแต่คนละหน้า ใช้ ibid ละการอ้างเต็มได้ (ส่วนมากทำใน note นะครับ) 5) Ad hoc (ɑd hoʊk) แปลว่า เกิดขึ้นเป็นกรณีพิเศษ เกิดขึ้นอย่างไม่ได้มีเตรียมการมาก่อน
193
6) in situ (ɪnsɪtu) แปลว่า ในที่ตั้ง (ของสิ่งนั้น) ครับ จริงๆ คำนี้ใช้หลายเซนส์ ในเชิงสังคมวิทยามักใช้ในเซนส์ว่าในพื้นที่นั้น ๆ แต่ในเชิงวิทยาศาสตร์อาจมีนัยยะว่าทำการศึกษาในห้องแล็บ หรือในที่ตั้งหนึ่งๆ ก็ได้ครับ 7) per se (pɜr seɪ) แปลว่า โดยเนื้อใน หรือ โดยแก่นแท้ (ของสิ่งนั้น)
194
เวลาอ่านงานวิชาการมากๆ นอกจากปัญหาเรื่องการเข้าใจนิยามศัพท์ต่างๆ แล้วอีกปัญหาหนึ่งที่มักเจอบ่อยคือการใช้วลีภาษาละตินในบทความอย่างในรูปเลยครับ วันนี้เลยจะเสนอวลีละตินในงานวิชาการเท่าที่ผมเจอให้ครับ 1) ในรูปเลยครับ prima facie (praɪmə feɪʃː) แปลว่า หากมองด้วยแวบแรก ครับ
195
2) e.g. ย่อมาจาก exempli gratia (ɪgzɛmplaɪ greɪʃiə) แปลว่า ยกตัวอย่างเช่น เป็นวลีที่คิดว่าทุกคนน่าจะเคยเจอกัน 3) i.e. ย่อมาจาก id est (ɪd ɛst) แปลว่า นั่นคือ ส่วนตัว เห็นคนเอามาใช้ในเซนส์ e.g. บ่อย แต่จริงๆ มันใช้ในการขยายความที่เนื้อความคือ การพาราเฟสมากกว่ายกตัวอย่างครับ
196
(5) เปิดโอกาสให้เกิดผู้นำแบบอื่น เช่น rational leader ที่ตั้งตามกฎหมายหรือการลงความเห็น ภาพนี้จะเกิดขึ้นถ้าการเมืองภายในมี consensus ในทางเดียวกัน แต่ถ้าแตกเป็นหลายๆ ฝ่ายอันนี้ น่าสนใจแล้วครับว่าทิศทางจะเป็นไงต่อ แล้วดันมาประจบกับช่วงเปิดสภา ช่วงผลัดแผ่นดิน มันมีอะไรให้ขบคิดอยู่
197
(4) ดังนั้นถ้าไม่มีใครมารับช่วงต่อแบบเตรียมการไว้ดีแล้ว โครงสร้าง social order ที่แข็งแรงมันจะสั่นอย่างรวดเร็ว และเกิดความขัดแย้ง รวมถึงสภาพวุ่นวายภายในสูง ถึงจะมีการแต่งตั้งตัวแทนได้ ตัวแทนดังกล่าวก็ไม่ได้มี autonomy เท่าผู้นำคนก่อน เพราะครไม่ได้ศรัทธาเท่ากัน
198
(3) ที่น่าสนใจคือ ในทางสังคมวิทยา ผู้นำแบบบารมี (charismatic leader) มีจุดแข็งและจุดอ่อนบางประการที่น่าสนใจ จุดแข็งคงหนีไม่พ้นการสร้าง social order ที่มีประสิทธิภาพมาก แต่จุดอ่อนคือ การถ่ายโอน charisma ให้คนอื่นเป็นไปได้ยากมาก (มันต้องสั่งสมเองในตัวแต่ละคน ส่งกันไม่ได้)
199
(1) ในฐานะนักสังคมวิทยา ผมเสนอให้ลองมองอย่างนี้ครับว่า พลเอกเปรมเป็นเหมือนเสาหลักของภาพแทนการเมืองที่นักการเมืองฝั่ง traditional ให้ความเคารพมากพอสมควร เราเห็นได้จากการต้องเข้าบ้านสี่เสาเทเวศน์เพื่อขอความเห็นท่านในประเด็นต่างๆ
200
(2) ดังนั้นนักการเมืองฝั่ง tradition และจริงๆ ก็ทุกคนที่อยู่ใน Thai politics shpere รับรู้ว่าท่านมี autonomy บางอย่างในเชิงการเมือง ท่านเป็นผู้นำที่มีสิ่งที่ Weber เรียกว่า charismatic power สูงมาก คือ Autonomy ของท่านมาจากบารมีที่ท่านได้สร้างไว้