201
202
ขอเพิ่มเติมนะครับ มีคนทักมาให้ขเอมูลเพิ่มว่า คำว่า ちゅうに ไม่น่าจะเพี้ยนมาจาก じゅうに แต่หมายถึง ちゅうに ねんせい ที่แปลว่าเด็กม. 2 ครับ
203
(2) เมื่อเลือกเรื่องแล้ว ให้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้นเพื่อทำค.เข้าใจเรื่องก่อน โดย 1) ศึกษาพัฒนาการในเชิงแนวคิดหรือปวศ.ของเรื่องนั้น 2) ศึกษาแง่มุมค.เห็นต่างๆ ของเรื่องนั้น หลังจากนั้นเลือกมุมมองหรือแนวคิดมา 1 มุมที่เราคิดว่ามุมนี้หรือทางนี้แหละคือ แง่ที่ดีในการมอง
204
ชาวทวิตครับ ช่วยแชร์ ช่วยทำแบบทดสอบสั้น ๆ นี้ทีครับ ช่วยให้ผมจบป.โท หน่อยครับ 55
แบบสอบถามความถี่ในการปรากฏของคำ docs.google.com/forms/d/e/1FAI…
205
9) De facto (deɪ fæktoʊ) แปลว่า ในเชิงพฤตินัย ครับ ทางสังคมศาสตร์ใช้พูดกันประมาณว่า ในเชิงข้อเท็จจริงแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นคือ...
10) De jure (deɪ dʒʊəreɪ) แปลว่า ในเชิงนิตินัย ครับ ทางสังคมศาสตร์ใช้พูดกันประมาณว่า ในเชิงตัวบทกฎหมายแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นควร ....
206
เรียนสังคมวิทยา เอาจริงเหนื่อยนะ ทุกวินาทีในสังคมคือ รันเวย์ ต้องผงาดเท่าทันเหตุการณ์น้อยใหญ่ในสังคม
ขั้นปรมจารย์ในวงการนี้จะออกแนว enlighten ไปจุดที่ เรื่องที่พวกนายอินกันตอนนี้ ฉันรู้มาตั้งแต่ 10 ปีก่อนแล้ว 55
207
6) in situ (ɪnsɪtu) แปลว่า ในที่ตั้ง (ของสิ่งนั้น) ครับ จริงๆ คำนี้ใช้หลายเซนส์ ในเชิงสังคมวิทยามักใช้ในเซนส์ว่าในพื้นที่นั้น ๆ แต่ในเชิงวิทยาศาสตร์อาจมีนัยยะว่าทำการศึกษาในห้องแล็บ หรือในที่ตั้งหนึ่งๆ ก็ได้ครับ
7) per se (pɜr seɪ) แปลว่า โดยเนื้อใน หรือ โดยแก่นแท้ (ของสิ่งนั้น)
208
ประเด็นต่างๆ ช่วงนี้สะท้อนปฏิบัติการภาษาออกมาไม่น้อย ที่น่าสนใจประการนึงคือ ป้ายต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงค.เห็น มีการใช้อักษรย่อมากขึ้น
การย่อคำเป็นการเพิ่มค.กำกวม ซึ่งต้องใช้ค.รู้ที่มีร่วมกัน ในการคลาย มันจึงสร้างค.เป็น “กลุ่มเดียวกัน” ได้หากเห็นตรงกัน
209
@stampwords พอเป็นแบบนี้คนเลยใส่ความหมายชั่วคราวหรือสร้างวาทกรรมของการนั่งไขว่ห้างว่าเป็นอะไรก็ได้ ได้ง่ายมากโดยคนไม่ตะขิดใจเรื่องนี้เท่าไหร่ ก็น่าแปลกที่ค.หมายของท่าไม่จับตัวมากพอให้ตีความได้ทางเดียว เมื่อเทียบกับท่านั่งประเภทอื่นที่มีความหมายค่อนข้างแน่ชัด เช่นขัดสมาธิ หรือพับเพียบ
210
- จากข้อข้างบน ทำให้ในสมัยนี้การคบเป็น strategic planing ที่ได้รับการฝังเข้าไปเป็น program หนึ่งในสถาบันครอบครัว พ่อแม่เลือกรร. ไม่ใช่แค่เพราะรร.ดี แต่สังคม ซึ่งหมายรวมถึงการได้เอคนเพื่อเป็นเพื่อน ก็ถูกกำหนดรวมไว้ในนี้ด้วย อีกทั้งพ่อแม่พยายามเลือกเพื่อนให้ลูกตั้งแต่เด็กๆ
211
(2) คำนี้ถูกคิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 80-90 ครับ ตามนิยามเดิมหมายถึง การที่ค่านิยมค.เป็นชาย เช่น ผู้ชายต้องปกปิดความอ่อนแอ ต้องมีภาพผู้นำ ดูเข้มแข็ง ดูมีอำนาจ น่ายำเกรง สร้างเงื่อนไขหรือกดดันผู้ชายที่ออกจากบรรทัดฐานดังกล่าวให้ดูด้อยลง ที่เราพูดว่า “ดูไม่แมน” นั่นแหละครับ
212
- การเลือกเพื่อนจึงถือเป็น taste กล่าวคือ เป็นผลผลิตจากการขัดเกลาทางสังคมที่เราอยู่ สังคมทุกวันนี้คิดอะไรเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น (จากสภาพต่าง ๆ ตั้งแต่ยุคโมเดิร์น) นอกจากนี้ภาพของการมองเพื่อนก็เปลี่ยนไป ที่น่าสงสัยคือ "นิยาม, คุณค่า, ค.หมาย" ของคำว่าเพื่อน เป็นอย่างไรในทุกวันนี้ ?
213
214
@stampwords นี่เขียนมาตั้งแต่อายุ 12 ละครับ ปัจจุปันเล่มที่ 15 แล้ว มันดีมากๆจริงๆ ผมคอนเฟิร์มนี่เขียนทุกวัน ย้อนกลับมาอ่านแล้วก็ตลกความเอ๋อตัวเองสมัยต่าง ๆ แต่สุดท้สยอ่านไปมันทำให้เราเห็นว่าเราโตขึ้นมากขนาดไหน แล้วปสก.ต่าง ๆ ที่ลืมก็ชัดขึ้นทุกครั้งที่ได้อ่านไดอารี่
215
concept การบนด้วยการแจกเงินนี่น่าสนใจมาก
กำลังคิดเล่นๆ ว่าถ้ามองมุมมานุษยวิทยาในอดีต การบนบานเป็น sacred แต่ตอนนี้ถูกทำให้ profane ขึ้นเยอะ
เริ่มจากการใช้วัตถุเป็นข้อแลกเปลี่ยนเพื่อแสดงถึงความตั้งมั่น (คิดว่า based assumption ของการบนอยู่ ที่ความเชื่อเรื่องแรงดึงดูดนะ)
216
ถ้าเยีขนข้อวคามประมนานี้แล้ยวังอ่าอนอกสาบยๆ แดสงว่าภษาาไทยก็เกิด typoglycemia เมหือนกัน
Typoglycemia ที่ว่านี้คือความสามารถของสมองในการอ่านข้อความที่สลับตัวอยู่บ้างเล็กน้อยออก ทำให้นักภาษาศาสตร์รู้ว่าจริงๆ แล้วสมองเราอ่านตัวอักษรในคำไม่หมดแล้วเราอ่านเพื่อเข้าใจคำทั้งคำ
217
ภาษาศาสตร์จิตวิทยาถึงเป็นสาขาที่ครอบคลุมความรู้ทางภาษาหลายๆ ด้าน แต่ไม่ใช่สาขาที่สอนเรื่องจิตใจกับภาษา หลักๆ แล้วสาขานี้สนใจ
1. การผลิตและทำความเข้าใจภาษา
2.การรับและเรียนภาษา
3.ภาษากับสมอง
คำถามในสาขานี้เช่น อายุมีผลต่อการเรียนภาษาไหม? หรือ เราจัดเก็บคำศัพท์ในหัวยังไง?
218
219
รู้สึกว่าการให้นิยามเป็นขั้นตอนสำคัญมากก่อนจะมาถกเถียงกัน
เหมือนเวทีเลย แบบดีเบตจะไม่หลุดไปไกลกว่าขอบเขตนี้นะ ดี๋ยวนี้คนใช้คำเดียวกันในค.หมายต่างกันเยอะมาก
เพื่อนถกกันเรื่องทอมคบผู้ชายผิดมากไหม ถกกันแทบตาย คนนึงเข้าใจทอมว่าคือผญ.แต่งแมนๆ คนนึงเข้าใจว่าเป็นรสนิยมทางเพศแบบนึง
220
@Devilkin21 @typx27 ถ้าในเชิง syntax ยังไม่มีข้อตกลงว่าใช้ได้เป็นสากลครับ อันนี้ก็ถกกับนักเรียนตอนสอนเหมือนกันว่ามันยังผิด แต่ในเชิง pragmatics มีการใช้ในลักษณะนี้เพื่อฉุดประเด็นเรื่้องความเท่าเทียมทางเพศน่ะครับ ไม่เป็นที่กว้างขวางยังใช้เฉพาะกลุ่มงานที่เป็นงานสาย queer
221
- มุมหนึ่งทางสังคมวิทยาที่อธิบายเรื่องนี้ได้ คือ เพื่อนเป็น node ในเครือข่ายสังคมทำหน้าที่ share data ให้กับเรา การได้เพื่อนที่เป็น node แบบที่เรา (พ่อแม่เรา สังคมเรา) พอใจย่อมดีกว่า ซึ่งสิ่งนี้ ไม่ได้เป็นเรื่องที่ปัจเจกกำหนดได้มากนักในตอนต้นของชีวิต แต่ถูก shape มาแล้วระดับหนึ่ง
222
ช่วงนี้ได้โอกาสร่วมงานกับอ.ที่ภาคโดยเป้าหมายคือ ทำค.เข้าใจว่าทำไมปัญหาพฤติกรรมทางการเมืองในปัจจุบันถึงยังรุนแรงอยู่ ทั้งที่เชิงสถาบัน/โครงสร้างเริ่มมีการสอนเกี่ยวกับหน้าที่พลเมืองมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475
คำตอบหนึ่งคือ ไทยขัดเกลาประชาชนให้มีมารยาททางสังคมและการเมือง (civility) ไม่พอ
223
(3) นอกจากนี้ ยังใช้อ้างถึงภาวะที่สังคมยอมรับ/ทำเป็นเพิกเฉยต่อค.รุนแรงบางประเภท เช่นการชกต่อยระหว่างผู้ชาย หรือค.รุนแรงในครอบครัว เนื่องจากมองว่าเป็นสิ่งที่ผู้ชายกระทำได้ในสังคมจากธรรมชาติความเป็นชายตามบรรทัดฐานทางสังคม ซึ่งในท้ายที่สุด กลับเป็นผลเสียต่อคนในสังคมเสียเอง
224
@stampwords พูดให้วิชาการหน่อยคือ จิตร ภูมิศักดิ์มอง art as social object คือเป็นวัตถุ ถ้าสร้างมาแล้วมีค.หมายย่อมดีกว่าสถาปนาขึ้นแล้วให้ค่าไม่ได้
แต่นศ.มอง art as social facts คือ ศิลปะมีค.จริงทางสังคมในตัวของมันเอง (ถูกสร้างให้มีแต่พอมีแล้วอยู่เองได้) fact ของมัน (สุนทรียภาพ) เลยมีพลังครับ
225
จนเกิดความสงสัยว่า นั่นสิ อะไรทำให้ระบบการเรียนภาษาญป.ในไทยเป็นแบบนี้ ทั้งๆ ที่เอาจริง ภาษาฝรั่งเศสเปิดก่อนญป. แต่ตำราเรียนฝรั่งเศสเหมือนแต่ละรร.จะหามา / ผลิตเองอีกที (ฟังจากเพื่อนมา) ไม่ทราบเหมือนกันว่ามีที่กระทรวงศึกษากำหนดเลยว่าใช้เล่มไหนแบบภาษาญป. ไหม