⠵⠑⠝⠚⠊(@zenjigame)さんの人気ツイート(古い順)

201
บทความของที่ปรึกษาป.ตรีผมเองครับ อยากแชร์ให้ผู้ที่สนใจในประเด็นค.ตายกับค. เป็นเมืองดูไม่ค่อยเกี่ยวกันใช่ไหมครับ? อ.ผมชวนทุกคนคิดอีกมุมว่า อันที่จริงแล้วโครงสร้างเมืองและการรับมือกับค.ตายของชีวิตมีมิติสัมพันธ์กันน่าสนใจมาก ใครอยากรู้ว่ายังไงลองอ่านดูครับ adaybulletin.com/talk-conversat…
202
#มีหนังสือมาเสนอ สำหรับคนที่มีพื้นด้านการเขียนงานสายสังคมไม่แน่น อยากหานส.ที่ช่วยสรุปประเด็นสำคัญ หรือช่วยขมวดวิธีคิด บอกลำดับขั้นตอนพร้อมตย.ให้เห็นว่าจะเขียนยังไง เล่มนี้มีครบเลย แนะนำมากๆ สำหรับคนที่อยากพัฒนาการเขียนให้เป็นระบบ ส่วนตัวคิดว่านส.จัดคอนเทนต์ดี เป็นลำดับตามสเต็บ
203
มีโอกาสคุยกับเพื่อนที่สอนภาษาอื่น แล้วเพิ่ง realized ว่าการเรียนการสอนญป.ในไทยคือ พร็อบเรียนพร้อมกว่าภาษาอื่นมาก เพื่อนบ่นเรื่องต้องทำแบบฝึกเอง (ญี่ปุ่นมีนส.แบบฝึกที่ไปกับแบบเรียนขาย) ต้องหาสื่อการสอนเอง ญป.มีองค์กรทำหน้าที่ผลิตตำราเรียนหลายที่ มีระบบออกแบบเนื้อหาที่เป็นรูปธรรม
204
จนเกิดความสงสัยว่า นั่นสิ อะไรทำให้ระบบการเรียนภาษาญป.ในไทยเป็นแบบนี้ ทั้งๆ ที่เอาจริง ภาษาฝรั่งเศสเปิดก่อนญป. แต่ตำราเรียนฝรั่งเศสเหมือนแต่ละรร.จะหามา / ผลิตเองอีกที (ฟังจากเพื่อนมา) ไม่ทราบเหมือนกันว่ามีที่กระทรวงศึกษากำหนดเลยว่าใช้เล่มไหนแบบภาษาญป. ไหม
205
#มีหนังสือมาเสนอ เล่มนี้ซื้ออ่านเพื่อใช้สอนการเขียนกับรีดดิ้งที่ตัวเองสอนอยู่ เนื้อหาข้างในดีทีเดียวครับ ถึงปกจะเขียนว่าสำหรับ postgrad แต่ undergrad ป.ตรี คือควรหาติดไว้เลย ใครอ่านงานอิ้งไม่เข้าใจ ดึงที่อ่านมาใช้เขียนงานไม่ได้ อยากหานส.ไกด์ เล่มนี้ครบครับ รวมสเต็ปจำเป็นให้แล้ว
206
#มีappมาเสนอ สำหรับคนที่ต้องหางานวิจัยเพื่อทำเปเปอร์ / ธีสิสนะครับ ผมแนะนำ research gate ครับ เป็นแพลตฟอร์มที่รวมงานวิจัยจากหลายๆ ศาสตร์มาอยู่ที่เดียวกัน (ส่วนตัวชอบมากกว่า google scholar) สามารถ browse งานวิจัยได้ทั้งจากว็บไซต์ researchgate.net และ appนี้ครับ
207
สนใจข้อความโต้ตอบของ ปู ไปรยาในไอจีในแง่ที่ข้อความแสดงค.เข้าใจต่อการแบ่งว่าอะไรคือการเมืองและไม่ใช่การเมืองในค.คิดของเขา คิดถึงคำที่อ.รัฐศาสตร์ให้ไว้ตอนเรียนว่า การพยายามขีดเส้น (classify) ว่าอะไร political / apolitical ก็คือการเมืองแล้วแบบหนึ่ง “การไม่เลือกคือการเลือกแบบหนึ่ง”
208
ไม่รู้คิดไปเองไหม หลังๆ สังเกตเห็นคนกลับใช้คำว่า (จูนิ) เบียวมากขึ้นในทวิตเตอร์แต่ใช้ในค.หมายที่กว้างกว่าของเดิมอยู่เหมือนกัน เหมือนตอนนี้ครอบคลุมไปถึงคนเห่อ/หลงอะไรบางอย่างจนลืมหูลืมตา ใดๆ คือ สนใจว่าเจ้าโรคเด็กม.2 (chūnibyou แผลงจาก jūnibyou) ทำไมอยู่ๆ คนกลับมาใช้ 😂😂
209
อาการดังกล่าวมักเกิดขึ้นในช่วงวัยแตกพาน กล่าวคือ เป็นช่วงที่เด็กเป็นวัยรุ่นแล้วอยากเป็นอิสระ มีค.มั่นใจในตนเองสูง คิดว่าที่ตัวเองทำคือเหมาะสม และถูกต้อง ไม่สนว่าคนอื่นจะว่าอะไร เลยเป็นที่มาของคำ “โรคเด็ก 12” นี้เองครับ ちゅうに จริงๆ เพี้ยนมาจาก じゅうに ที่แปลว่า 12 びょう = โรค
210
สืบเนื่องจากทวิตตัวเอง มีคนขอให้อธิบายว่า (จูนิ) เบียว จริงๆ หมายความว่าอะไร อะเรามาดูค.ตั้งต้นกันครับ จูนิเบียว【中二病】เป็นคำประชดใช้บรรยายลักษณะของคนที่มักคิดว่าตัวเองทำอะไรเท่ๆ คูลๆ แต่ในสายตาคนปกติคือ เป็นการกระทำที่ประหลาด ตรรกะเพี้ยนๆ ไม่ได้คูลเหมือนเจ้าตัวคิดครับ twitter.com/zenjigame/stat…
211
มีคนพยายามจะดประเภทอาการของจูนิเบียวด้วยนะครับ เท่าที่ผมทราบคือมีประมาน 3 แบบ 1) พวกแสร้งทำเป็นสนใจ อินอะไรที่ชาวบ้านไม่อิน แบบ wanna be ในเรื่องนั้น 2) พวกแสร้งทำเป็นกร่าง เกรียนๆ ให้ดูเท่ๆ 3) พวกที่แสร้งอวดว่าตัวเองรู้ดี มีพลังพิเศษในการรับรู้เรื่องนั้ง มีอินไซต์กว่าคนอื่น
212
ที่คนไทยใช้กันตอนนี้คิดว่าแตกมาจากเซนส์ 1 + 2 แล้วขยายกว้างขึ้นไปถึงพวกเห่อ/หลงอะไรบางอย่างจนลืมหูลืมตา ซึ่งในสายตาคนนั้นคือ สิ่งนี้ดี แต่คนนอกมองว่าตรรกะเพี้ยน รสมไปถึงคนเข้าใจว่าดูเป็นคำบอกโรค (เบียว = โรค) ก็เห็นคนใช้ในเซนส์ ตรรกะป่วย ด้วย ซึ่งอันนี้เกินกว่าค.หมายเก่าของคำครับ
213
ขอเพิ่มเติมนะครับ มีคนทักมาให้ขเอมูลเพิ่มว่า คำว่า ちゅうに ไม่น่าจะเพี้ยนมาจาก じゅうに แต่หมายถึง ちゅうに ねんせい ที่แปลว่าเด็กม. 2 ครับ
214
#มีหนังสือมาเสนอ ปีนี้มีนส.สังคมวิทยาเบื้องต้นออกมาหนึ่งเล่ม น่าสนใจมากครับ นส.ถักทอและเรียบเรียงเนื้อหาดี วัจนลีลาที่ใช้ในการเขียนก็ไม่ทางการจนรู้สึกน่าเบื่อ ใครที่ยังไม่เคยซื้อหนังสือแนวนี้ ผมขอแนะนำเล่มนี้เลยครับ ตย.ค่อนข้างทันสมัย ช่วยขับให้เข้าใจทฤษฎีต่างๆ ชัดพอสมควร
215
อ่านงาน semiotics ศึกษา elements และ pattern ของ IG story พบว่า รูปแบบเนื้อหามี 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1. ลงเกี่ยวกับมู้ดตัวเอง (ผ่านการเซลฟี่ / เพลง) 2. ลงอัพเดทชีวิต (ผ่านการถ่ายภาพ งาน หรือกิจกรรม) 3. ลงอาหาร 4. ลงวิว ที่น่าสนใจ และชวนคิดต่อจากเชิง semiotics มีอีกหลายประเด็น
216
อ.ชวนวิจัยเรื่องการจัดการร่างศพ ความตาย และสังคม ตอบตกลงโดยไม่คิด สนใจมานานมากแล้ว โอกาสในการ explore มาถึงในที่สุด ไว้เจออะไรน่าสนใจจะมาแชร์ครับ แต่มาแน่ๆ แล้วคือ #มีหนังสือมาเสนอ เพราะต้องช่วยอ.ทบทวนวรรณกรรม หัวข้อแรกเป็นเรื่องการอาบยาศพ เพิ่งอ่านได้ 3 บท สนุกมาก
217
#มีหนังสือมาเสนอ นส. ชวนมองมิติสังคมของอาหารครับ เริ่มด้วยทำค.เข้าใจอาหารในค.คิดทางสังคม เป็นอะไร? อยู่ในฐานะไหน? ต่อด้วยการเล่าถึงปวศ.ของอาหารกับสังคมผ่านการเกษตร แล้วโยงไปประเด็น เช่น วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ตลอดจนการเมืองครับ ใครสนใจ google books มีฉบับดิจิทัลราคาประมาน700 ครับ
218
พออ่าน ori text ของ Weber ดีๆ รู้สึกว่าเป็นนักคิดที่น่าทึ่งมาก ตรรกะการทำค.เข้าใจสังคม ถ้าเทียบในยุคนั้นคือ ฉีกแนวมาก คนที่เรียน socio มาจะรู้จักนส.เล่มโบว์แดงอย่าง Protestant ethnic & spirit of capitalism แต่จริงๆ เล่มอื่นๆ ก็น่าสนใจไม่แพ้กันเลย ชวนอ่านงานเวเบอร์ครับ
219
#มีเปเปอร์มาเสนอ เปเปอร์นี้พูดถึงการศึกษากลุ่มผู้ชุมนุมในเชิงสังคมวิทยาครับ เนื้อหาเป็นปวศ.ของการศึกษาด้านนี้ในสังคมวิทยา และแนวคิดทฤษฎีการมองการชุมนุมทางการเมืองครับ ว่ารูปแปปที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับการเมืองและกลไกการเกิดเป็นอย่างไร ใครสนใจหาอ่านดูนะครับ
220
สิ่งที่ตกผลึกจากการดิสคัสเรื่องทฤษฎีทางสังคมกับการเลือกข้างทางการเมือง 1. การเรียนทฤษฎีไม่ได้ช่วยให้เลือกข้างง่ายขึ้น การเลือกข้างประกอบปัจจัยอื่นๆ อีกมาก แต่ทฤษฎีทำให้เราตรวจสอบ คิดสะท้อนย้อนกลับ มองคุณค่าของสิ่งที่เราตัดสินใจลงไปได้ดีขึ้น ง่ายๆ คือรอบคอบในการตัดสินใจมากขึ้น
221
ช่วงนี้โดนเพื่อนทักว่าใช้ภาษาไทยแปลก ๆ เช่น ชอบพูดปย.ปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ (double negation) แบบ "ไม่มีใครเลยที่ไม่ชอบ.." กับเอาคำวิเศษณ์ขยายกริยาวางไว้หลังประธานของปย. แบบ "ส่วนตัว จริงๆ แล้ว ไม่คิดแบบนั้น" เป็นต้น ก็เลยตระหนักได้ว่าเป็นเพราะสอนญป.นานมากจนเกิด L3 transfer แล้วแน่ ๆ
222
#มีหนังสือมาเสนอ หัวข้อใหญ่มากๆ อันหนึ่งในสังคมวิทยาคือ เรื่องเพศครับ การมี Handbook ไว้ explore ประเด็นต่างๆ จึงมีปย.มาก ใครหานส.ที่ช่วยเปิดภาพกว้างด้านนี้ทางสังคมวิทยา แนะนำเล่มนี้ครับ หัวข้ออัพเดทพอสมควร (แม้จะยังตามไม่ทันค.ซับซ้อน) แต่ไว้เป็นเล่มศึกษาเบื้องต้นได้ดีทีเดียว
223
คุยกับเพื่อนเรื่องม็อบกับคนรุ่นใหม่ มีข้อสังเกตฝว่า สิ่งที่ดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้ไปม็อบในตอนนี้มันไม่ใช่แค่เรื่องของอุดมการณ์และการเรียกร้อง แต่มันเป็นเรื่อง “พื้นที่” ของม็อบเองที่ทำให้คนรุ่นใหม่ได้รู้สึกถึงการเปิดรับทางค.คิดและการแสดงออกจากแวดวงสังคมอื่นที่คอยกดทับเขามาตลอด (ต่อ)
224
ชอบสังคมวิทยาอย่างหนึ่งตรงที่เป็นวิชาเน้นทำค.เข้าใจคนรอบๆ ตัวในสังคมมากๆ อ.ที่สอนบอกว่า พอเรารู้ BG เขา รู้ค.คิดเขา เข้าใจในตัวเขาจากมุมที่เป็นเขาได้ เรากับเขาจะยืนบนพื้นเดียวกัน เสน่ห์ของวิชานี้ไม่ใช่แค่โลกทัศน์ที่กว้างขึ้น แต่คือการได้รู้สึกว่าทุกคนคือมนุษย์เท่าๆ กัน
225
อยู่กทม.มา 10 กว่าปี หลายครั้งเลย รู้สึกว่าเวลาออกจากห้องทีคือ 1. ต้องออกไปที่ไกลๆ หน่อย ถ้าออกไปใกล้ๆ รู้สึกไม่คุ้ม 2. ถ้าออกต้องออกทั้งวัน ออกไปแค่ 2-3 ชม. ไม่ได้ รู้สึกเสียเวลา ออกสายกลับเย็น ออกบ่ายกลับค่ำๆ ดึกๆ มี 2 โมเดลหลักๆ 3. ไม่มีฟีลแบบอยากออกไปเรื่อยเปื่อย ออกขำๆ