⠵⠑⠝⠚⠊(@zenjigame)さんの人気ツイート(いいね順)

101
#มีหนังสือมาเสนอ หนังสือเล่าปรัชญาการเมืองอย่าง utilitarianism egalitarianism liberalism และ communism ผ่านเรื่องเล่าของศาสตราจารย์การิทัตที่ต้องผจญภัยไปยังเมืองที่ใช้อุดมการณ์เหล่านี้ในการปกครองเพื่อตามหาเมืองที่ดีที่สุด เป็นนิยายปรัชญาดีๆ ที่สนุกไม่แพ้ Sophie's world ครับ
102
จะเล่าประวัติสังคมวิทยาแบบย่อๆ ให้ฟังครับ (1) สังคมวิทยาตั้งเป็นศาสตร์แยกออกมาจากสาขาใกล้เคียงอย่างจิตวิทยาในศตวรรษที่ 19 เนื่องด้วยความสนใจของนักคิดกลุ่มหนึ่งที่อยากศึกษาสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปอย่างมากในช่วงนั้น สังคมวิทยาในยุคนั้นจึงเกิดจากความสนใจในประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
103
#มีหนังสือมาเสนอ นส.เป็นพจนานุกรมรากศัพท์สำคัญๆ ในภาษาอังกฤษครับ พาทัวร์รากศัพท์ บอกค.หมาย ใช้เรียนศัพท์ได้ดีมาก นส.ยกตัวอย่างให้เห็นว่าเจอรากศัพท์นี้ในคำไหนบ้าง แล้วมีตัวอย่างปย.ที่ใช้คำนั้นให้พร้อมคำแปล สำหรับใครที่ชอบ root word / affix ชอบการรู้ที่มาของรากคำต่างๆ ไม่ควรพลาด
104
#มีหนังสือมาเสนอ ปีนี้มีนส.สังคมวิทยาเบื้องต้นออกมาหนึ่งเล่ม น่าสนใจมากครับ นส.ถักทอและเรียบเรียงเนื้อหาดี วัจนลีลาที่ใช้ในการเขียนก็ไม่ทางการจนรู้สึกน่าเบื่อ ใครที่ยังไม่เคยซื้อหนังสือแนวนี้ ผมขอแนะนำเล่มนี้เลยครับ ตย.ค่อนข้างทันสมัย ช่วยขับให้เข้าใจทฤษฎีต่างๆ ชัดพอสมควร
105
เมื่อวานสอนคลาสสถิติเพื่อการวิจัยไป เป็นหัวข้อที่ผมคิดว่ามีประโยชน์กับหลาย ๆ คนที่กำลังเริ่มทำโปรเจ็กกันด้วย คือเรื่องชนิดตัวแปร ครับ ในทางวิจัยตัวแปรมีหลัก ๆ อยู่ 4 ประเภท คือ ตัวแปรต้น (independent) ตัวแปรตาม (dependent) ตัวแปรแทรกซ้อน (intervenning) และตัวแปรนำ (antecedent)
106
วันนี้นั่งคุยกับอาจารย์ที่รู้จักท่านนึงเรื่องการเขียนวิจัยและวิทยานิพนธ์ ซึ่งพวกเราเห็นตรงกันอยู่เรื่องนึงว่า สิ่งที่นิสิตส่วนใหญ่ยังไปไม่ถึงคือ การเขียนบททบทวนวรรณกรรมให้ดี การเขียนทบทวนวรรณกรรมไม่ใช่การ copy / paste ข้อมูลมาแปะๆ
107
ทริกในการจำศัพท์คือ จำพร้อมกับแหล่งที่เจอ การจำพร้อมแหล่งที่เจอทำให้นึกถึงศัพท์คำนั้นออกมาได้ไว รวมถึงเก็บในหัวได้นานกว่า เลยเป็นสาเหตุว่าคนที่ฟังเพลง ดูซีรีส์ หรืออ่านนส.จะได้ศัพท์มากกว่าการนั่งท่องแผ่นศัพท์เป็นหน้าๆ วิธีการนี้เป็นโลจิกของพวกแต่งศัพท์เป็นเพลงด้วย
108
(1) มีโอกาสได้ฟังและให้คะแนนงานนำเสนอของนิสิตปี 1 เรื่องของเรื่องคือ มีนิสิตคนนึงนำประเด็นซีรีส์ Y มาพูด ซึ่งพูดได้น่าสนใจว่า ซีรีส์ Y นำไปสู่การสร้างกรอบแบ่งประเภทผู้ชายใหม่ เป็นผู้ชายมาดเคะ และผู้ชายมาดเมะ ซึ่งการแบ่งเช่นนี้ทำให้สังคมเปลี่ยนการให้คุณค่าในพฤติกรรมของผู้ชายไป
109
#มีคอร์สมาเสนอ #มีหนังสือมาเสนอ browse course ฟรีใน edX ดูแล้วพบคอร์นนี้จาก Harvard เป็นคอร์สให้ค.รู้เกี่ยวกับเมืองต่างๆ ของโลกตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันผ่านหลายๆ มุมทั้งสังคมวิทยา มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ อ.เจ้าของคอร์สมีนส.ที่เนื้อหาเกี่ยวเนื่องกันด้วยครับ ใครสนใจลองดูครับ
110
class stat ที่ผ่านมา อธิบายเกี่ยวกับชนิดของสถิติไป เลยมาแชร์ให้ชาวทวิตด้วยครับ สถิติมีสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ 1) สถิติเชิงพรรณนา (descriptive) และ 2) สถิติเชิงอนุมาน (inferential) เชิงพรรณนาเอาไว้จัดระเบียบข้อมูลดิบให้เป็นระบบ ค.เป็นระบบช่วยให้เห็นค.เชื่อมโยงของข้อมูลได้ดีขึ้นครับ
111
เป็นประเด็นน่าสนใจครับ ขอพูดถึง metaphorical framing เพิ่มอีกหน่อย นอกจากประเด็นที่ผม re-tweet มา เราจะเห็นการเฟรมแบบนี้ได้อีกในคอรัปชั่นครับ เท่าที่สังเกตมา รฐบ.จะใช้ crime หรือ disease mataphor กับการคอรัปชั่น แน่นอนว่ามัน shape ทัศนคติคนให้คิดเกี่ยวกับคอรัปชั่นไปคนละแบบได้เลย t.co/RuK8aTlgCu
112
#มีหนังสือมาเสนอ การโกหกเป็นกิจกรรมน่าสนใจในหลายมิติครับ การโกหกทำหน้าที่ในเชิงวัฒนธรรม/ปวศ. ยังไง เกี่ยวข้องกับโครงสร้างทางสังคมยังไง การโกหกเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้หรือเรามีความสามารถนี้โดยกำเนิด นส.เล่มนี้พาไปทัวร์มุมมองสังคมวิทยาเพื่อตอบปัญหาที่ว่ามานี้ครับ ใครสนใจลองดูนะครับ
113
#มีเปเปอร์มาเสนอ เผื่อใครสนใจเกี่ยวกับคสพ.ระหว่าสังคมกับภาษา เอามาแชร์ครับ ช่วงนี้เข้าไปอ่านบทความเก่าๆ จากวารสาร เจอบทความดีๆ ชวนขบคิดเยอะเหมือนกัน พอมีเวลาการนั่งย้อนอ่านบทความเก่าๆ ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนึงๆ แล้วไล่อ่านขึ้นมาเรื่อยๆ ก็ได้ไทม์ไลน์ทางค.คิดเป็นของแถมดีครับ
114
#มีหนังสือมาเสนอ นส.เล่มนี้เป็นตำราเรียนวิจัยสังคมศาสตร์ที่หลายๆ มหาวิทยาลัยใช้ครับ การันตีคุณภาพว่ามีค.รู้จำเป็นในการทำวิจัยสายสังคมอยู่เต็มเปี่ยม Earl Babbie ผู้เขียนอธิบายแนวคิดต่างๆ ตั้งแต่การวิจัยคืออะไร ตัวแปรเป็นยังไง พร้อมยกตัวอย่างไว้ละเอียดทีเดียว ใครสนใจลองหาดูครับ
115
(3) ที่น่าสนใจคือ ในทางสังคมวิทยา ผู้นำแบบบารมี (charismatic leader) มีจุดแข็งและจุดอ่อนบางประการที่น่าสนใจ จุดแข็งคงหนีไม่พ้นการสร้าง social order ที่มีประสิทธิภาพมาก แต่จุดอ่อนคือ การถ่ายโอน charisma ให้คนอื่นเป็นไปได้ยากมาก (มันต้องสั่งสมเองในตัวแต่ละคน ส่งกันไม่ได้)
116
#มีหนังสือมาเสนอ นส. ชวนมองมิติสังคมของอาหารครับ เริ่มด้วยทำค.เข้าใจอาหารในค.คิดทางสังคม เป็นอะไร? อยู่ในฐานะไหน? ต่อด้วยการเล่าถึงปวศ.ของอาหารกับสังคมผ่านการเกษตร แล้วโยงไปประเด็น เช่น วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ตลอดจนการเมืองครับ ใครสนใจ google books มีฉบับดิจิทัลราคาประมาน700 ครับ
117
(5) เปิดโอกาสให้เกิดผู้นำแบบอื่น เช่น rational leader ที่ตั้งตามกฎหมายหรือการลงความเห็น ภาพนี้จะเกิดขึ้นถ้าการเมืองภายในมี consensus ในทางเดียวกัน แต่ถ้าแตกเป็นหลายๆ ฝ่ายอันนี้ น่าสนใจแล้วครับว่าทิศทางจะเป็นไงต่อ แล้วดันมาประจบกับช่วงเปิดสภา ช่วงผลัดแผ่นดิน มันมีอะไรให้ขบคิดอยู่
118
(4) ดังนั้นถ้าไม่มีใครมารับช่วงต่อแบบเตรียมการไว้ดีแล้ว โครงสร้าง social order ที่แข็งแรงมันจะสั่นอย่างรวดเร็ว และเกิดความขัดแย้ง รวมถึงสภาพวุ่นวายภายในสูง ถึงจะมีการแต่งตั้งตัวแทนได้ ตัวแทนดังกล่าวก็ไม่ได้มี autonomy เท่าผู้นำคนก่อน เพราะครไม่ได้ศรัทธาเท่ากัน
119
#มีศัพท์Textมาเสนอ credulity = ความเชื่อคนง่าย, หูเบา satirize = ถากถาง, เหน็บแนม frivolous = เหลาะแหละ, ทำอะไรเล่นๆ ไม่เอาจริงเอาจัง unselfconcious = ซึ่งไม่เสแสร้ง blatantly = (แสดงออกมา) อย่างโจ่งแจ้ง arduous = อันแสนยากลำบาก, ตรากตรำ esoteric = (บางอย่าง) ซึ่งรู้กันในวงจำกัด
120
คำว่าสอนนร. จนอ.เองก็เข้าเนื้อได้อานิสงส์ด้วยมีอยู่จริง 学生達のお陰で今回の受験もうまく行った。
121
(2) ดังนั้นนักการเมืองฝั่ง tradition และจริงๆ ก็ทุกคนที่อยู่ใน Thai politics shpere รับรู้ว่าท่านมี autonomy บางอย่างในเชิงการเมือง ท่านเป็นผู้นำที่มีสิ่งที่ Weber เรียกว่า charismatic power สูงมาก คือ Autonomy ของท่านมาจากบารมีที่ท่านได้สร้างไว้
122
พออ่านแนวสังคมวิทยามานุษยวิทยาเข้าหนักๆ ขอเสียอย่างหนึ่งคือ ทำให้เราดูไม่มีจุดยืนในสายตาคนที่มีจุดยืนมากๆ ไปเลย ออกแนวรู้ว่าฝ่ายที่มีจุดยืนต่างๆ ทำไมมีจุดยืนแบบนั้น พอเข้าใจก็จะ “โอเค” จบ 55 จะว่าไม่มีจุดยืนเลยก็ไม่ถูก มีแต่ก็เข้าใจอีกฝ่ายจนไม่ได้แสดงจุดยืนอะไรออกมาแรงๆ มากกว่า
123
#มีหนังสือมาเสนอ ถึงแม้จะไม่อินกับ Game theory หรือแนวคิดที่อธิบายปรากฏการณ์สังคมอันซับซ้อนด้วยโมเดล แต่ยอมรับว่านส.เล่มนี้เสนอภาพต้นตอค.หลื่อมล้ำผ่านแนวคิดเศรษฐศาสตร์ได้น่าสนใจ เช่น ผู้เขียนชวนมองว่าทำไม sex ถึงถูกใช้เป็นเครื่องมือสร้างค.ไม่เท่าเทียมทางสังคม ลองหาอ่านดูครับ
124
#มีหนังสือมาเสนอ ถ้าสงสัยประเด็น เช่น 1. ภาษาเกิดจากวิวัฒนาการหรือผุดขึ้นมาเอง? 2. ภาษาต้องเรียนหรือมียีนช่วยรับภาษา? 3. การผลิตกับการรับรู้เสียงพูดสัมพันธ์กันไหม? 4. ค.หมายกับคำสัมพันธ์ในแง่ไหนบ้าง? 5. แกรมม่ากับการมองโลกเกี่ยวกันไหม? เล่มนี้มีมุมดีๆ มาเสนอเยอะเลยครับ
125
#มีหนังสือมาเสนอ ใครคิดจะเริ่มแตะปรัชญา มีนส.มาแนะนำครับ ของ DK ย่อยเนื้อหาปรัชญาเบื้องต้นได้ดีมาก เหมาะสำหรับคนต้องการปูพื้นทางด้านนี้เลย นส. เป็นสารานุกรมในตัวด้วย ถึงจะเขียนเป็นภาษาอังกฤษแต่อ่านไม่ยากครับ ใครสนใจ เล่มนี้มีขายที่คิโนะพารากอนโซนนส.ปรัชญาครับ