⠵⠑⠝⠚⠊(@zenjigame)さんの人気ツイート(リツイート順)

201
ไปค่ายเยาว์แล้วมีน้องคนนึงถามประมาณว่าเข้ารัดสาด ฬ skill อะไรสำคัญบ้าง? อันแรกที่ควรมีแน่ๆ คือ สกิลอ่าน text อิ้ง Slide + sheet เป็นอิ้งเยอะ สกิลไม่ต้องถึงขั้นเทพอะไร เอาให้อ่านแล้วจับใจความได้ อ่านไม่ช้ามาก ถ้าใครจะเข้าว่างๆ ฝึกจากพวกเว็บไซต์สำนักข่าวดู
202
@stampwords พูดให้วิชาการหน่อยคือ จิตร ภูมิศักดิ์มอง art as social object คือเป็นวัตถุ ถ้าสร้างมาแล้วมีค.หมายย่อมดีกว่าสถาปนาขึ้นแล้วให้ค่าไม่ได้ แต่นศ.มอง art as social facts คือ ศิลปะมีค.จริงทางสังคมในตัวของมันเอง (ถูกสร้างให้มีแต่พอมีแล้วอยู่เองได้) fact ของมัน (สุนทรียภาพ) เลยมีพลังครับ
203
ช่วงนี้มีคนมาขอให้ช่วยเรื่องการเขียน essay ช่วยไปแนะนำ source ให้ไปลองดูเพิ่ม และพบว่ามี Youtube channel ที่สอนเรื่องนี้ไว้ได้ดีมากทีเดียวครับ สนใจลองดูนะครับ youtu.be/UFXN8v4V-fI
204
เมื่อวานสอนคลาสสถิติเพื่อการวิจัยไป เป็นหัวข้อที่ผมคิดว่ามีประโยชน์กับหลาย ๆ คนที่กำลังเริ่มทำโปรเจ็กกันด้วย คือเรื่องชนิดตัวแปร ครับ ในทางวิจัยตัวแปรมีหลัก ๆ อยู่ 4 ประเภท คือ ตัวแปรต้น (independent) ตัวแปรตาม (dependent) ตัวแปรแทรกซ้อน (intervenning) และตัวแปรนำ (antecedent)
205
#มีศัพท์textมาเสนอ innocuous = ไม่มีพิษมีภัย, ไม่มีเจตนาแอบแฝง unrelenting = (กับลักษณะของคน) ที่ไม่ยอมอ่อนข้อ, ที่ไม่ปราณี (กับสถานการณ์) ที่ไม่หยุดหย่อน hyperbole = คำพูดที่กล่าวเกินจริง, อติพจน์ far-fetched = ไกลจากความจริง, ซึ่งดูเป็นไปได้ยาก Topple = โค่นล้ม, คะมำ
206
ช่วงนี้ได้โอกาสร่วมงานกับอ.ที่ภาคโดยเป้าหมายคือ ทำค.เข้าใจว่าทำไมปัญหาพฤติกรรมทางการเมืองในปัจจุบันถึงยังรุนแรงอยู่ ทั้งที่เชิงสถาบัน/โครงสร้างเริ่มมีการสอนเกี่ยวกับหน้าที่พลเมืองมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 คำตอบหนึ่งคือ ไทยขัดเกลาประชาชนให้มีมารยาททางสังคมและการเมือง (civility) ไม่พอ
207
วันนี้คุยกับอ.ที่ภาคเรื่องการยกตัวอย่าง อ.บอกว่าหลังๆ นิสิตเขียนแนว one case explains all เยอะมาก คือยกเคสสุดโต่งที่ตรงและสะท้อนแนวคิดนั้นๆ แต่ outlier แบบค.ถี่ในการเจอต่ำกว่าภาพอื่นๆ มันตรงทฤษฎี แต่ไม่มีพลังในการอธิบายภาพทั้วไปในประเด็นนั้น เลยยากจะเคลม validity อยู่ดี
208
#มีหนังสือมาเสนอ เคยมีโมเมนต์คำติดอยู่ในหัว นึกภาพออกแต่พูดออกมาไม่ได้ไหมครับ? ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า slip of the tongue การเกิดแบบนี้แสดงว่าการค้นภาพของสิ่งที่เราอยากสื่อสารกับการค้นคำเรียกสิ่งนั้นเป็นคนละเรื่องกันหรือเปล่า? หนังสือเล่มนี้มีคำตอบของคำถามนี้ครับ
209
สิ่งที่ตกผลึกจากการดิสคัสเรื่องทฤษฎีทางสังคมกับการเลือกข้างทางการเมือง 1. การเรียนทฤษฎีไม่ได้ช่วยให้เลือกข้างง่ายขึ้น การเลือกข้างประกอบปัจจัยอื่นๆ อีกมาก แต่ทฤษฎีทำให้เราตรวจสอบ คิดสะท้อนย้อนกลับ มองคุณค่าของสิ่งที่เราตัดสินใจลงไปได้ดีขึ้น ง่ายๆ คือรอบคอบในการตัดสินใจมากขึ้น
210
มีโอกาสได้ติวเศรษฐศาสตร์มหาภาคพื้นฐานให้รุ่นน้องที่คณะ เอาส่วนหนึ่งของสไลด์ที่ทำมาแชร์ครับ เผื่อใครกำลังประสบชะตากรรมต้องอ่านเรื่องเดียวกัน ได้ยินจากนร.ที่จะสอบเข้ามหาลัยว่า เนื้อหาเศรษฐศาสตร์ม.ปลายตอนนี้ก็โหดเอาเรื่องด้วย หวังว่าจะช่วยครับ
211
#มีหนังสือมาเสนอ ใครคิดจะเริ่มแตะปรัชญา มีนส.มาแนะนำครับ ของ DK ย่อยเนื้อหาปรัชญาเบื้องต้นได้ดีมาก เหมาะสำหรับคนต้องการปูพื้นทางด้านนี้เลย นส. เป็นสารานุกรมในตัวด้วย ถึงจะเขียนเป็นภาษาอังกฤษแต่อ่านไม่ยากครับ ใครสนใจ เล่มนี้มีขายที่คิโนะพารากอนโซนนส.ปรัชญาครับ
212
#มีศัพท์Textมาเสนอ Alienation = ความรู้สึกแปลกแยก (สังคมวิทยา: ภาวะที่บุคคลถูกทำให้กลายเป็นอื่น หรือไม่มีค.เชื่อมต่อกับสังคม), อัญภาวะ Dissociation = กลไกทางจิตแตกแยก (จิตวิทยา: ภาวะที่คนคนหนึ่งมีบุคลิกอื่นที่ต่างจากปกติชั่วคราว) Xenocentrism = นัตนิยมทางวัฒนธรรม
213
ถ้าเยีขนข้อวคามประมนานี้แล้ยวังอ่าอนอกสาบยๆ แดสงว่าภษาาไทยก็เกิด typoglycemia เมหือนกัน Typoglycemia ที่ว่านี้คือความสามารถของสมองในการอ่านข้อความที่สลับตัวอยู่บ้างเล็กน้อยออก ทำให้นักภาษาศาสตร์รู้ว่าจริงๆ แล้วสมองเราอ่านตัวอักษรในคำไม่หมดแล้วเราอ่านเพื่อเข้าใจคำทั้งคำ
214
#มีหนังสือมาเสนอ ทรัพยากรค.รู้ขุมหนึ่งที่สังคมวิทยาไม่ค่อยนำมาใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาคือ วรรณกรรมและเรื่องเล่าครับ นส.เล่มนี้เป็น monograph ที่นำเสนอว่าสิ่งเหล่านี้เองก็บรรจุค.รู้เกี่ยวกับสังคมไว้ รวมถึงนำเสนอหนทางใช้สิ่งเหล่านี้ในการศึกษาสังคมวิทยาครับ ใครสนใจลองหาอ่านดูนะครับ
215
เครื่องหมายต่อไปคือ semicolon ; ครับ semicolon ใช้เชื่อมประโยคที่อยู่เดี่ยวๆ ได้ แต่มีเนื้อความสัมพันธ์กันมากเข้าด้วยกันครับ คือถ้าใช้ full stop มันเหมือนเนื้อความดูจะไม่เกี่ยวข้องกัน แต่พอใช้ semicolon จะเป็นการให้ภาพว่าสองประโยคนี้เนื้อความสัมพันธฺ์กันอยู่ครับ
216
ช่วงนี้มีงานนส.ออนไลน์อยู่นะครับ เผื่อใครลืมไปแล้ว หรือไม่ทราบว่าเขาย้ายมาจัดเป็นออนไลน์แทน แวะไปดูได้ที่ thaibookfair.com ครับ ผมก็โดนตกไปเรียบร้อย 😂😂
217
8) status quo (steɪ təs kwoʊ) แปลว่า ในภาวะหนึ่ง ๆ ที่ดำรงอยู่ (ของสิ่งนั้น) ครับ คำนี้เป็นคำที่คนมักจะงงความหมาย ในทางสังคมวิทยามักใช้ในความหมายว่า ภาวะทางสังคมขณะนั้น (ที่ไม่เปลี่ยนแปลง) เซนส์จะออกไปเชิงลบอ่อนๆ มันควระมีการเปลี่ยนแปลงแต่ยังคงมีสิ่งนี้ที่มีสภาวะดำรงอยู่ครับ
218
(2) เมื่อเลือกเรื่องแล้ว ให้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้นเพื่อทำค.เข้าใจเรื่องก่อน โดย 1) ศึกษาพัฒนาการในเชิงแนวคิดหรือปวศ.ของเรื่องนั้น 2) ศึกษาแง่มุมค.เห็นต่างๆ ของเรื่องนั้น หลังจากนั้นเลือกมุมมองหรือแนวคิดมา 1 มุมที่เราคิดว่ามุมนี้หรือทางนี้แหละคือ แง่ที่ดีในการมอง
219
#มีศัพท์textมาเสนอ intertwine = เกี่ยวเนื่อง, พัวพัน resurgence = การหวนคืนมา, การกลับมาผงาดอีกครั้ง sustenance = การดำรงอยู่, การยังชีพ decolonisation = การปลดปล่อยอาณานิคม, การให้เอกราช inextricably = ที่หนีไม่รอด, ที่เอาไม่ออก bound up = ผูกติดไว้กับ, ยึดไว้กับ
220
#มีเปเปอร์มาเสนอ เปเปอร์นี้พูดถึงการศึกษากลุ่มผู้ชุมนุมในเชิงสังคมวิทยาครับ เนื้อหาเป็นปวศ.ของการศึกษาด้านนี้ในสังคมวิทยา และแนวคิดทฤษฎีการมองการชุมนุมทางการเมืองครับ ว่ารูปแปปที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับการเมืองและกลไกการเกิดเป็นอย่างไร ใครสนใจหาอ่านดูนะครับ
221
“ตราบที่ยังมองศพเป็นภาพเดียวเดี่ยว ๆ ที่น่ากลัว และไม่วิเคราะห์ระบบนิเวศของการจัดการศพ เรื่องการจัดการศพจะเป็นปัญหามาก” ชวนอ่านบทความอ.ที่ปรึกษาผมครับ theurbanis.com/life/02/08/202…
222
รู้สึกว่าการให้นิยามเป็นขั้นตอนสำคัญมากก่อนจะมาถกเถียงกัน เหมือนเวทีเลย แบบดีเบตจะไม่หลุดไปไกลกว่าขอบเขตนี้นะ ดี๋ยวนี้คนใช้คำเดียวกันในค.หมายต่างกันเยอะมาก เพื่อนถกกันเรื่องทอมคบผู้ชายผิดมากไหม ถกกันแทบตาย คนนึงเข้าใจทอมว่าคือผญ.แต่งแมนๆ คนนึงเข้าใจว่าเป็นรสนิยมทางเพศแบบนึง
223
ระบบภาษาที่ว่านี้แบ่งออกเป็น 6 ด้านใหญ่ๆ คือ 1. ด้านเสียงในภาษา (phonetics) เป็นด้านที่เน้นศึกษาการออกเสียงเชิงกายภาพในภาษานั้นๆ เลยครับ มีความวิทย์จ๋าอยู่ ดูเคลื่อนเสียง ดูการแปรของเสียงในภาษานั้น เช่น สระอีที่คนไทยกับคนจีนมีเหมือนกัน ออกเสียงเหมือนกันจริงๆ ไหม เป็นต้น
224
#มีคอร์สมาเสนอ #มีหนังสือมาเสนอ browse course ฟรีใน edX ดูแล้วพบคอร์นนี้จาก Harvard เป็นคอร์สให้ค.รู้เกี่ยวกับเมืองต่างๆ ของโลกตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันผ่านหลายๆ มุมทั้งสังคมวิทยา มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ อ.เจ้าของคอร์สมีนส.ที่เนื้อหาเกี่ยวเนื่องกันด้วยครับ ใครสนใจลองดูครับ
225
@bsktisapus minimore.com/b/ypar8/9 อ่านต่อได้ที่นี่ครับ