⠵⠑⠝⠚⠊(@zenjigame)さんの人気ツイート(リツイート順)

51
ไม่ต้องพูดถึงเรื่องสภาพแวดล้อม การคมนาคมสาธารณะ และมลพิษ พอเอามารวมๆ แล้วเนี่ย ทั้งระบบนิเวศ กับลักษณะเมือง คือ shape พฤติกรรม “อยู่บ้านดีกว่า” เห็นๆ เลย เอาจริงเศร้านะ เราต้องอยู่ในเมืองที่ยัดเยียดให้เราเก็บตัวมากกว่าเชื้อเชิญให้เราออกไปทำกิจกรรมข้างนอก 🤔🤔
52
มีคอร์สออนไลน์มาเสนอครับ เป็นคอร์สโดยภาควิชาภาษาศาสตร์ จุฬา คอร์สนี้มีที้งสิ้น 11 ตอน พูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงภาษา (Language Change) ตัวคอร์สจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในทุกระดับเลยครับ ตั้งแต่เสียง คำ ไวยากรณ์ ใครสนใจลองดูคลิปแนะนำได้ครับ youtu.be/8IZFvhUXfnc
53
วันนี้คุยกับเพื่อนนักสังคมวิทยาด้วยกัน ถกกันเรื่องแนวโน้มของการคบเพื่อน (friend making) สรุปที่ถกกันได้ว่า - mode of making friend ได้รับการ rationalization กล่าวคือ ทุกวันนี้เรา "เลือก" คบเพื่อนด้วยเหตุผลอะไรบางอย่างเสมอที่นอกกว่าอยู่ด้วยกัน ทำงานด้วยกัน เลยเป็นเพื่อนกัน
54
มีคนพยายามจะดประเภทอาการของจูนิเบียวด้วยนะครับ เท่าที่ผมทราบคือมีประมาน 3 แบบ 1) พวกแสร้งทำเป็นสนใจ อินอะไรที่ชาวบ้านไม่อิน แบบ wanna be ในเรื่องนั้น 2) พวกแสร้งทำเป็นกร่าง เกรียนๆ ให้ดูเท่ๆ 3) พวกที่แสร้งอวดว่าตัวเองรู้ดี มีพลังพิเศษในการรับรู้เรื่องนั้ง มีอินไซต์กว่าคนอื่น
55
เรื่องนึงที่ทำให้การอ่านงานวิชาการเข้าใจยากคือ Punctuation เลยจะมาเสนอหน้าที่ของเครื่องหมายวรรคตอนต่างๆ ใน text เริ่มที่ comma ละกัน comma ใช้อยู่หลายแบบครับ แต่ถ้าเจอแบบตามภาพ แบบนี้ ส่วนที่ถูก comma คร่อม คือส่วนขยายครับ เวลาอ่านส่วนนี้สามารถละได้ ถ้าไม่เข้าใจข้ามได้อยู่ครับ
56
คนเรียนญป. ชั้นกลางไปสูงที่เรียนคำญป. 和語 และคำจีน 漢語 มาแล้ว น่าจะมีโมเมนต์อยากใช้ 漢語 ในการเขียนงาน แต่นึกไม่ออกว่ามีคำอะไรบ้าง ผมมี web app มาเสนอครับ ทำโดยนิสิตเอกภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬา ส่วนตัวคิดว่าไอเดียดีมากๆ ขอบคุณคนทำไว้ก่อนเลย 55 dict-52c9a.web.app
57
วันนี้นักเรียนไปสอบวัดระดับญี่ปุ่น ใครสอบ N3 เล่าให้ฟังทีได้ไหมครับ เกิด war อะไรขึ้น น้องที่สอนเล่าว่า มีคนยกมือเทปเสียงก้องไป การสอบชะงักลง คนขอออก อยากรู้ความวุ่นวายเป็นไง จริงๆ น้องที่สอบ N5 N4 ก็บ่น ส่วนตัวมองว่าการเอา Impact เป็นสนามสอบไม่เวิร์คอยู่แล้ว
58
สำหรับคนที่งงคนโวยเรื่อง #พรบไซเบอร์ มันเป็นพื้นที่ส่วนตัวที่จะเปิดเผยหรือไม่เผยตัวตนก็ได้ เลยเป็นพื้นที่เสรีในการแสดงความเห็นด้วย โดยหลักการแล้วรัฐไม่ควรใช้อำนาจแทรกแทรงกิจกรรมในนี้เกินกว่าเรื่องความมั่นคงของชาติแต่พรบนี้กำลังให้สิทธิ์รัฐเข้ามายุ่งมากกว่าที่จำเป็นนี่ล่ะครับ
59
@stampwords ในขณะที่ในบางกลุ่มวัฒนธรรมเช่น อิสลามการนั่งไขว่ห้างดูเป็นการท้าทายอำนาจและสามหาวครับ ที่น่าสนใจคือ ในวัฒนธรรมเอเชียท่าทางดังกล่าวกลับถูกตีความว่ามีเสน่ห์ ผ่านประเด็นที่ว่าการนั่งไขว่ห้างทำให้เห็นสัดส่วนร่างกายชัดขึ้นด้วยครับ
60
จะรีวิว “ภาษาศาสตร์สังคม (sociolinguistics)” ให้ฟัง วิชานี้เรียนเกี่ยวกับค.สัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคม เช่น ถิ่นที่อยู่ เพศ กับการใช้ภาษา เพศที่ต่างกันน่าจะมีลักษณะภาษาบางอย่างต่างกัน แต่ผู้ชายเดี๋ยวนี้ใช้ ค่ะ บ่อยขึ้น เราจะอธิบายปรากฏการณ์นี้ยังไง? วิชานี้มีคำตอบให้ครับ
61
พรุ่งนี้สอบวิชาสุดท้ายในชีวิตนักเรียนภาษาศาสตร์แล้ว เลยรีวิววิชากันหน่อย เทอมนี้ลงวิชา “ภาษาศาสตร์จิตวิทยา (psycholinguistics)” ถ้าคุณเป็นคนนึงที่เห็นชื่อวิชาแล้วคิดว่าจะได้เรียนทริคในการใช้ภาษาจูงใจคน หรือเข้าใจจิตใจมนุษย์ผ่านภาษา ยินดีด้วยเราโดนหลอกเป็นเพื่อนกัน
62
ช่วงนี้โดนเพื่อนทักว่าใช้ภาษาไทยแปลก ๆ เช่น ชอบพูดปย.ปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ (double negation) แบบ "ไม่มีใครเลยที่ไม่ชอบ.." กับเอาคำวิเศษณ์ขยายกริยาวางไว้หลังประธานของปย. แบบ "ส่วนตัว จริงๆ แล้ว ไม่คิดแบบนั้น" เป็นต้น ก็เลยตระหนักได้ว่าเป็นเพราะสอนญป.นานมากจนเกิด L3 transfer แล้วแน่ ๆ
63
อาการดังกล่าวมักเกิดขึ้นในช่วงวัยแตกพาน กล่าวคือ เป็นช่วงที่เด็กเป็นวัยรุ่นแล้วอยากเป็นอิสระ มีค.มั่นใจในตนเองสูง คิดว่าที่ตัวเองทำคือเหมาะสม และถูกต้อง ไม่สนว่าคนอื่นจะว่าอะไร เลยเป็นที่มาของคำ “โรคเด็ก 12” นี้เองครับ ちゅうに จริงๆ เพี้ยนมาจาก じゅうに ที่แปลว่า 12 びょう = โรค
64
#มีความเห็นมาเสนอ ว่าด้วย “ศิลป์-ภาษา” กับการเรียนมหาลัย เป็นช่องโหว่สำคัญคือ ไม่ค่อยมีใครแนะน้องสายนี้ว่าการเรียนภาษาในชั้นสูงขึ้น มีกลุ่มสาระอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ คือ Lit(erature) Ling(uistics) Lang(age and culture) สำคัญมากในการเลือกคณะและวางแผนการเรียน #dek66 #dek67
65
(1) เมื่อสอนนักเรียนเรื่อง mate selection trend ในวิชาสังคมวิทยาเบื้องต้น เปิดประเด็นด้วยการพูดถึงการศึกษาโดยนักสังคมวิทยาที่พบว่า เรามักจะเลือกคู่ที่มีลักษณะทางสังคมอยู่ระดับเดียวกับเรา เช่น race เดียวกัน socioeconomic status เดียวกัน ซึ่งสิ่งนี้เรียกว่า homogamy
66
ไม่รู้คิดไปเองไหม หลังๆ สังเกตเห็นคนกลับใช้คำว่า (จูนิ) เบียวมากขึ้นในทวิตเตอร์แต่ใช้ในค.หมายที่กว้างกว่าของเดิมอยู่เหมือนกัน เหมือนตอนนี้ครอบคลุมไปถึงคนเห่อ/หลงอะไรบางอย่างจนลืมหูลืมตา ใดๆ คือ สนใจว่าเจ้าโรคเด็กม.2 (chūnibyou แผลงจาก jūnibyou) ทำไมอยู่ๆ คนกลับมาใช้ 😂😂
67
เป็นประเด็นน่าสนใจครับ ขอพูดถึง metaphorical framing เพิ่มอีกหน่อย นอกจากประเด็นที่ผม re-tweet มา เราจะเห็นการเฟรมแบบนี้ได้อีกในคอรัปชั่นครับ เท่าที่สังเกตมา รฐบ.จะใช้ crime หรือ disease mataphor กับการคอรัปชั่น แน่นอนว่ามัน shape ทัศนคติคนให้คิดเกี่ยวกับคอรัปชั่นไปคนละแบบได้เลย t.co/RuK8aTlgCu
68
ได้คุยกับอ.ท่านนึงถึงค.น่าเชื่อถือของการได้เกียรตินิยมอันดับ 1 สรุปสาระที่ได้คือ 1. คุณค่าของเกียรติ 1 ลดลงไปเยอะ จากการแจกเกรดและการกำหนดเกณฑ์ได้อันดับ 1 ลดลงมาในบางม. 2. คนตีความคำนี้ผิดไป เจตนาเดิมที่คำนี้มอบให้ผู้เป็นเลิศทางวิชาการ แต่คนเหมารวมไปด้วยว่าต้องมีค.สามารถรอบได้
69
#มีหนังสือมาเสนอ A historical anthropological theory เป็นหนังสือทฤษฎีมานุษยวิทยาที่ส่วนตัวรู้สึกว่าดีมาก สำหรับคนที่คิดจะเริ่มต้นอ่านทฤษฎีทางนี้ เป็นมิตรกับคนที่ไม่มีพื้นด้วย สามารถอ่านได้สบายๆ หนังสือแบ่งบทตามไทม์ไลน์พัฒนาการทางความคิดในการศึกษามานุษยวิทยา ใครสนใจควรอ่านจริงๆ
70
เบื่อใช้ I think that.. ใน essay กันมะลองเปลี่ยนไปใช้พวกนี้ดู - From my persective, - In my judgement, - It is perchance that - As I understand, - From where I stand, - From my standpoint, - I maintain that - I have observed that - By my light, - It would appear that
71
ที่ปรึกษาป.ตรีพูดว่ามีคนในโลกวิชาการสองแบบใหญ่ ๆ คนที่ see things as they are กับ see things as they should be 2 แบบนี้ไม่ได้ compete กัน แต่ compromise สำคัญคือ ต้องรู้จักเรียนรู้ว่าอีกฝ่าย set value ไว้ยังไง แบบไหน เรื่องต่าง ๆ ของเราอยู่จุดไหนบน spectrum นี้
72
ใครอยากได้เป็นไฟล์โหลดได้ตามลิงก์นี้เลยครับ blogs.monm.edu/writingatmc/fi…
73
#มีหนังสือมาเสนอ นส.ชวนเราไปมองประเด็นต่างๆ ทางภาษาครับ เป็นหนังสือกึ่งวิชาการที่อ่านง่าย และเป็นมิตรกับคนไม่มีพื้นทางภาษามาเลย ออกแนวเป็นการเล่าเรื่องราวทางภาษาในแง่มุมต่างๆ ตั้งแต่การรับภาษาของทารก ไปจนถึงประเด็นภาษาที่เราใช้กันทุกวันแต่ไม่ค่อยสังเกตครับ ใครสนใจลองหาอ่านดูครับ
74
@stampwords นอกจากประเด็นค.ต่างในการตีความแล้วที่น่าสนใจอีกอย่างคือ การนั่งไขว่ห้างเป็น liquid indexicality คือมันเก็บสัญญะของท่าทางมันได้ไม่นาน ค.หมายเปลี่ยนไวมากยุคนี้มองแบบนึง ยุคนั้นมองอีกแบบ แสดงว่ามันเป็นท่านั่งที่ไม่ได้มีมานานครับ ไม่อยู่ใน gesture corpus แต่แรกที่มนุษย์ทำกัน
75
#มีศัพท์Textมาเสนอ intellectuals = ปัญญาชน mavericks = ผู้ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด, พวกสวนกระแส, พวกแหวกแนว proletariate = ชนชั้นกรรมาชีพ lumpenproletariate = ชนชั้นล่าง, เศษชนชั้น bourgeoisie = ชนชั้นนายทุน, ชนชั้นกลาง, ชนชั้นกระฎุมพี technocrat = ขุนนางนักวิชาการ