ราชินีสั่งให้นายพรานฆ่าสโนว์ไวท์ที่เป็นลูกเลี้ยงไม่พอ ยังบังคับให้ควักหัวใจออกมาใส่กล่องอีก (ต้นฉบับคือนางเอาไปกินด้วยนะ) บรื๋อ
เขาบอกว่าตอนสโนว์ไวท์ฉายในโรง (สักปี 1937 โน่นแหละ) โรงหนังที่เมกาหลายที่ต้องเปลี่ยนเบาะนั่งยกเซ็ต แถมเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ทำเบาะอีก เพราะหนังทำให้เด็กหลายคนมากกลัวจนฉี่รดเบาะ ตอนเด็กๆเราดูก็รู้สึกว่ามันหลอนนะ โตมาดูก็ยังมีความหลอน ทั้งภาพ สี เสียง เส้นเรื่องยังน่ากลัวเลยอะ
บรรยากาศการไปเที่ยวทะเล ก็ชุดแบบนี้แหละ55555 แต่แค่เนื้อผ้ามันจะเบากว่าใส่สบายกว่า
วันก่อนเพื่อนถามว่าสาวๆยุควิคตอเรียนในหน้าร้อนนี่เขาแต่งตัวยังไงกัน เหมือนกับที่เราเห็นๆกันหรือเปล่า ก็ตอบเลยว่าใช่ค่ะ อย่างชุดในรูปนี่ถือว่าเป็นชุดหน้าร้อน ใส่สบายใส่ง่ายที่สุดแล้ว ถึงจะแขนยาวกระโปรงลากพื้น แต่วัสดุที่ใช้ทำชุดทำมาจากผ้าฝ้ายผ้าซาตินที่เบามาก
คุณคนนี้ทำงานเป็นแคสเมมเบอร์ที่ดิสนีย์เวิร์ลมาห้าปี แต่เพราะโควิดทำให้เธอไม่ได้ทำต่อ 😩 ดูคลิปแล้วเศร้าแทนเลย เป็นเจ้าหญิงที่สวยมากๆๆๆ นี่ชอบวิธีการขยับตัวของเขามากเลย เป็นแอเรียลก็ขยับแบบนึง ซินเดอเรล่าก็อีกแบบนึง สุดยอด เหมือนคนละคนเลย
ภาพจากดิสนีย์แลนด์ที่ชอบที่สุดจะเป็นภาพนี้เสมอ แอเรียลกับจัสมินน่ารักมากๆๆๆ เขาเอาจมูกชนกันด้วย ฮื่อ เขินไปหมด
เธรดรวมชุดของราชินี เจ้าหญิง จักรพรรดินีช่วงแถวๆยุควิคตอเรียนที่รู้สึกว่าน่าจดจำและเราชอบ ภาพทั้งหมดนี่วาดโดย Franz Winterhalter ด้วย 💖
สมัยนี้ชวนไปห้องคือชวนไปดูผีเสื้อ ดูแมวใช่มะ ยุควิคตอเรียนชวนสาวไปดูโคมไฟจ้า555555 นี่คือ escort card ซึ่งเป็นเครื่องมือนึงที่หนุ่มๆวิคตอเรียนใช้จีบสาว เพราะยุคนั้นเขาไม่ค่อยพูดกันตรงๆเลยต้องมีอะไรอ้อมๆแบบนี้แหละ เช่น ไปดูโคมไฟใหม่บ้านเราไหม เธอจะปิดไฟจนมืดเลยก็ได้นะ
หลักๆก็ประมาณนี้ค่ะ เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ไม่แฟร์เลยจริงๆกับการโดนดันออกจากวงการเบียร์แค่เพราะเป็นผู้หญิง ขอบคุณที่แวะมาอ่านนะคะ! ตอนนี้ทำคอนเท้นปวศ.อยู่ในไอจีสตอรี่ เล่าเรื่อง 15 วินาที ใครสนใจแวะมาเล่นด้วยกันได้ที่ instragram.com/mimie.starr นะคะ 🤍 รับสมัครหน้าม้าจำนวนมาก555
แง่ลบที่มีต่อหญิงขายเบียร์ และยังกฎหมายเกี่ยวกับการทำงานของผู้หญิง ทำให้ภายในปี 1700 ผู้หญิงถูกผลักออกจากธุรกิจเบียร์อย่างสมบูรณ์ ถึงแม้จะไม่มีกฎหมายห้ามไม่ให้ผู้หญิงผลิตเบียร์ แต่ในศ.ที่ 19 ก็มีแต่ผู้ชายอยู่ในวงการเบียร์ (11)
ตำนานจากไอร์แลนด์กล่าวว่า ในศ.ที่5/6 นักบุญ Brigid แห่ง Kildare คือหญิงที่ผลิตเบียร์ได้มีคุณภาพ และเชื่อว่าเธอเคยสร้างปาฏิหารย์ค่ะ โดยใช้เพียงมอลต์ถุงเดียว เธอสามารถกลั่นเบียร์อีสเตอร์ให้กับโบสถ์ได้ถึง 17 แห่ง (10)
วัฒนธรรมโบราณหลากหลายที่บูชาเทพีแห่งเบียร์ค่ะ เช่นเทพี Tenenit ที่อียิปต์ เทพี Raugutiene ในตำนานสลาวิก ส่วนในตำนานของชาวฟินนิช เชื่อว่าเบียร์ถูกคิดค้นขึ้นโดยหญิงที่ชื่อ Kalevatar โดยเธอผสมน้ำผึ้งกับน้ำลายของหมีเข้าด้วยกัน (9)
ความจริงแล้ว สูตรเบียร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกมาจากอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ที่ชาวสุเมเรียนบูชาเทพี Ninkasi แห่งเบียร์ ซึ่งที่นั่นผู้หญิงก็เป็นคนที่ทำขนมปังและเบียร์ (8)
หมวกแหลมๆสูงๆ พวกเธอใส่เพื่อให้ตัวเองโดดเด่นในตลาด ลูกค้าจะได้สังเกตง่ายๆ ส่วนเบียร์ก็ถูกผสมในหม้อสีดำ ส่วนแมวดำพวกเธอมักเลี้ยงไว้จับหนู ส่วนไม้กวาดก็มีความเกี่ยวข้อง พวกเธอจะวางไม้กวาดไว้หน้าร้านเพื่อบอกให้ลูกค้ารู้ว่าเบียร์พร้อมขายแล้ว และมันก็เป็นสัญลักษณ์ของแม่มดอีกหนึ่ง (7)
นี่คือภาพของ Mother Louse เอลไวฟ์ยุคศ.ที่ 17 ค่ะ แต่สำหรับหลายคนเธอคงดูเหมือนแม่มดใช่มั้ย นั่นเพราะลักษณะใส่หมวกแหลม มีหม้อใหญ่สีดำ และแมวดำ ที่มักจะเชื่อมโยงกับแม่มดนั้นพบเห็นได้ทั่วไปกับหญิงขายเบียร์ จึงเป็นไปได้ที่ภาพจำแม่มดของพวกเราจะมาจากพวกเธอ (6)
ในขณะที่ทั่วยุโรปมีการล่าแม่มด เมืองนึงในอังกฤษได้ทำการออกกฎหมายเกี่ยวกับเอลไวฟ์ส นั่นคือ หญิงอายุระหว่าง 14-40 ปีห้ามขายเบียร์ โดยนายกเทศมนตรีของเมืองบอกว่าผู้หญิงที่อยู่ในช่วงอายุมีลูกได้ควรอยู่ในความดูแลของผู้ชาย ไม่ใช่ขายเบียร์ (5)
ทีนี้ก็มาถึงเรื่องของการล่าแม่มดค่ะ ผู้หญิงกลั่นเบียร์โดนโยงเข้ากับแม่มด เพราะเขาว่าพวกเธอมีลักษณะคล้ายกัน นั่นคือชำนาญเรื่องสมุนไพรและพืช, ทำเครื่องดื่มในหม้อสีดำ และมีแนวโน้มจะทำร้ายผู้ชาย (???) ในช่วง ศ.ที่ 16/17 ก็เริ่มมีการมองว่าพวกเธอคือแม่มด (4)
นอกจากนั้น ผู้หญิงกลั่นเบียร์ยังโดนโบสถ์คาทอลิคกล่าวหาว่าเป็นพวกยั่วยวน เพราะพอขายเบียร์ ก็จะยั่วหลอกให้ผู้ชายเมาและจ่ายเงิน ถือเป็นบาปเลยทีเดียว ในยุคกลาง มีภาพเอลไวฟ์สในนรกมากมายที่ถูกโยงกับปีศาจ (3)
ในประเทศอังกฤษ ผู้หญิงที่กลั่นเบียร์และขายเบียร์เรียกว่า ‘เอลไวฟ์’ (alewives) สิ่งที่เกิดขึ้นคือโรคกาฬมรณะ (the Black Death) ในศ.ที่ 14 เริ่มเปลี่ยนบทบาทของผู้หญิงกับเบียร์ เพราะโรคนี้ทำให้คนดื่มเบียร์มากขึ้น พอมันเป็นที่ต้องการมากขึ้น ผู้ชายก็เริ่มดันผู้หญิงออกจากธุรกิจ (2)
ในยุคกลาง การกลั่นเบียร์ถือเป็นงานของผู้หญิง ซึ่งเบียร์เป็นสิ่งที่ผู้คนดื่มกันทั่วไปอยู่แล้ว แทบไม่มีหญิงคนไหนทำเบียร์ไม่เป็นเลย เบียร์ยุคนั้นไม่ค่อยมีแอลกอฮอลล์ ทำให้ดื่มกันทั้งครอบครัว และบางทีผู้หญิงก็ขายเบียร์ให้เพื่อนบ้านที่ไม่มีเวลาทำเบียร์ดื่มเอง (1)
รู้กันหรือเปล่าว่าจริงๆแล้ววงการเบียร์เป็นของผู้หญิงมาแต่โบราณ ทั้งเทพเจ้าแห่งเบียร์ที่เป็นผู้หญิง อาชีพหญิงขายเบียร์ที่มีอยู่จริงในยุคกลาง แล้วมันเปลี่ยนไปตอนไหน? ลักษณะของแม่มดที่เรารู้จักกันมาจากหญิงขายเบียร์เหรอ? เธรดนี้จะมาเล่าประวัติศาสตร์ของเบียร์และผู้หญิงให้อ่านกันค่ะ
ส่วนเกาหลีกับญี่ปุ่นที่เห็นว่าเป็นประเทศเกาะแล้วทำไมเรียกชา เพราะทั้งสองประเทศได้รับชาจากจีนมาตั้งแต่ก่อนยุคที่จะมีเส้นทางสายไหมแล้ว ก่อนจะมีการค้าขายกับตะวันตกด้วย มาจากพระและอื่นๆที่เดินทางมาจากทางเหนือ ซึ่งก็มาจากจีนที่เรียกชาว่าชา (5)
อินเดียบางแห่งก็เรียกชาว่าชาเป็นผลมาจากโปรตุเกสเหมือนกัน แต่พาร์ทที่คนพูดภาษาทามิลหรือเทลูกูมีคำเรียกชาที่ออกไปทาง te มากกว่า cha คิดว่าเป็นเพราะเส้นทางการค้าของบริษัท Dutch East India company จากฟูเจี้ยนไปชวามันผ่านทามิลนาดู เลยเป็นคำว่า the-neer’ (தேநீர்) ในภาษาทามิล (4)
ประเทศตะวันตกส่วนมากเรียกชาด้วยเสียง tea ใช่มะ แต่มีโปรตุเกสเท่านั้นที่เรียกว่าชา เพราะโปรตุเกสมีการเทรดกับชาวจีนตั้งแต่ก่อนชาวดัตช์ ซึ่งบริเวณที่โปรตุเกสค้าขายด้วยพูดจีนกวางตุ้ง และจีนกวางตุ้งเรียกว่าชานั่นเอง (3)
ซึ่งจะดูว่าประเทศไหนเรียกชาหรือที/เท ก็ดูว่าได้รับชามาจากทางไหน บนบกหรือทางน้ำ เจ๋งนะ แต่ก็มีบางภาษาที่มีคำเรียกชาเป็นของตัวเอง สันนิษฐานว่าเพราะชาโตในประเทศเหล่านั้นเองโดยคนในประเทศ เช่น ภาษาพม่าเรียกใบชาว่า lakphak ชาวรวันดาเรียกว่า icyayi ฯลฯ (2)