กรี้ด ตัวอย่างใหม่ Lightyear น่าดูมาก ฮือ บัซเป็นตัวละครในความทรงจำที่เราอยากรู้จักเขามากขึ้นอีกมากๆ รักบัซ ㅜㅡㅜ
มีคนถามเรื่องการจูบเข้ามา การจูบนี่มีมาตั้งแต่ 3500 ปีมาแล้ว แต่ที่เผยแพร่ไปรอบโลกได้ต้องขอบคุณจักรวรรดิโรมันเลย ชอบจูบกันมาก ถึงขั้นออกกฎหมายเกี่ยวกับการจูบเลย เช่น ถ้าสาวพรหมจรรย์โดนจูบแบบดูดดื่มในที่สาธารณะ เธอมีสิทธิ์เรียกร้องให้ผู้ชายคนนั้นแต่งงานกับเธอได้
สเตจที่สองเรียกว่า second mourning ซึ่งจะลากยาวไปอีกประมาณ 9-12 เดือน สเตจนี้เธอจะถอดผ้าคลุมหน้าได้ แต่ก็ยังต้องใส่ชุดดำ ส่วนเสตจสุดท้ายคือ half mourning ประมาณ 6 เดือน ซึ่งใส่ได้แต่เสื้อผ้าสีเข้มเท่านั้น หลังจากนี้จะยังใส่สีเข้มหรือไม่ก็แล้วแต่เลย
อย่างที่บอกว่าการไว้ทุกข์กับผู้หญิงในยุคนั้นเป็นของคู่กันมากๆ เหมือนเป็นตัวแทนของความเศร้าอะ ถ้าสามีเสียก็คือต้องถูกคาดหวังจากสังคมเลย อย่างน้อยสองปีที่ต้องไว้ทุกข์ แยกตัวจากสังคม เศร้าตลอดเวลา
เล่าเพิ่มนิดนึง ติดลม5555 การไว้ทุกข์ของแม่หม้ายนี่มีเป็นสเตจด้วยนะ ซึ่งจะถูกจับตามองทุกสเตจก่อนที่เธอจะสามารถมูฟออนไปใช้ชีวิตใหม่ได้ สเตจแรกคือ deep mourning ซึ่งต้องใส่ชุดดำและผ้าคลุมหน้าดำเป็นเวลา 1 ปี 1 วัน twitter.com/arielqueenss/s…
การเอาศพออกมาจากบ้าน ต้องเอาเท้าออกก่อนหัวค่ะ เพราะเชื่อว่าถ้าเอาหัวออกก่อน คนตายอาจใช้โอกาสนี้เรียกให้หนึ่งในญาติสนิทของตัวเองตามไปโลกหน้าด้วย (16)
หลังงานศพจะมีการทานอาหารสำหรับผู้ไว้ทุกข์ ใครที่ไปร่วมวงไม่ได้ จะได้รับคุกกี้หรือบิสกิตจักทำพิเศษที่ทำจากเนยและเครื่องเทศ ถูกห่อโดยกระดาษที่เขียนกลอนเศร้า ข้อมูลเกี่ยวกับคนตาย คำในไบเบิ้ล หรือบทสวด และผูกด้วยริบบิ้นดำ ซึ่งกระดาษนั้นก็เป็นเหมือนของที่ระลึกจากงาน (15)
ถ้าคนในบ้านหลายคนเสียชีวิต หรือเสียกันทั้งบ้าน ใครก็ตามที่เข้าไปในบ้านจะต้องผูกริบบิ้นสีดำด้วย แม้แต่สุนัขหรือไก่ก็ต้องผูก เพราะเชื่อว่าจะป้องกันไม่ให้ความตายแพร่ออกไปนอกบ้าน ถ้าสัตว์เลี้ยงกลับดาว เขาก็จัดงานศพให้นะคะ โดยเฉพาะน้องหมา (14)
อีกสิ่งนึงที่ต้องถูกจัดการคือกระจกค่ะ เชื่อว่ากระจกสามารถกักขังคนตายไว้ได้ และคนตายอาจพาคนเป็นไปอยู่ด้วย กระจกทุกบานในบ้านจึงต้องถูกคลุมด้วยผ้าสีดำ นอกจากนั้นยังมีรูปวาดที่ต้องถูกกลับหัวหรือคลุมผ้า และของแวววาวเช่นแจกันด้วย เพราะถือว่าของแวววาเป็นการดูถูกครอบครัวที่ไว้ทุกข์ (13)
อีกอย่างนึงที่ถือว่าสำคัญคือการหยุดเวลาค่ะ จะมีการหยุดนาฬิกาไว้ตามเวลาที่เสียชีวิตเป้ะๆ เชื่อว่าเป็นการเปลี่ยนโชคร้ายให้เป็นดี และเชื่อว่าจะทำให้ผู้ตายได้ไปต่อในโลกหน้า ถ้าเวลาไม่ถูกหยุด จะทำให้วิญญาณยังคงติดอยู่กับปัจจุบัน หรืออยู่ระหว่างความเป็นและความตาย (11)
หลังจากคนตายถูกฝังเรียบร้อยแล้ว นาฬิกาเรือนนั้นสามารถถูกทำให้เดินต่อได้ แต่ถ้าคนที่เสียชีวิตเป็นเจ้าบ้าน นาฬิกาเรือนนั้นจะไม่สามารถนำมาใช้ได้อีกเลย (12)
Black Crêpe หรือผ้าแพรย่นสีดำคือสัญลักษณ์การไว้ทุกข์ จะผูกอยู่บนกลอนประตูเพื่อบอกว่าเทวดาแห่งความมืดได้นำสิ่งมีค่าของครอบครัวไป และการเคาะประตูหรือกดกริ่งจะเป็นการรบกวน มีหลายทีที่ประตูบ้านจะถูกเปิดไว้ คนจะได้เข้ามาเงียบๆ ผ้าสีขาวจะใช้ผูกแทนถ้าผู้ตายยังเด็กหรือยังไม่แต่งงาน (10)
ในช่วงระยะสุดท้ายของชีวิต ครอบครัวจะนั่งอยู่กับคนคนนั้นตลอดจนจากไป และเมื่อเขาจากไปแล้ว คนที่จะรับช่วงนั่งกับผู้ตายต่อคือเพื่อนที่ไม่ใช่คนในครอบครัว เพื่อแบ่งเบาความทุกข์เศร้า (9)
การใส่เสื้อผ้าสีเข้ม/สีดำก็เป็นอิทธิพลมาจากควีนวิคตอเรีย ที่ใส่เพื่อไว้ทุกข์ให้พระสวามีตลอดชีพ สำหรับแม่หม้ายบางทีใส่กันถึง 4 ปีหรือตลอดชีวิต ซึ่งช่วงเวลาไว้ทุกข์แรกๆ นอกจากเสื้อผ้าแล้ว หมวก ร่ม ผ้าเช็ดหน้า ก็เป็นสีดำด้วย ยุคนั้นอัตราคนเสียเยอะ บางคนจึงใส่สีเข้มตลอดชีวิตก็มี(8)
ด้วยความนิยมของการจัดพิธีศพ ทำให้คนยุควิคตอเรียน(ทั้งที่สูญเสียใครสักคนไป ทั้งคนทั่วไป) นิยมไปปิคนิคที่สุสานค่ะ นอกจากจะเพราะเรื่องของความตายแล้ว ในเมืองที่คนเยอะอย่างลอนดอน สุสานนับเป็นสถานที่ที่สะอาด สะดวกสบาย มีพื้นที่กว้างแถมสดชื่นไปด้วยต้นไม้ (7)
ยุคนั้นมีอาชีพ ‘ผู้ไว้ทุกข์มืออาชีพ (mutes)’ ด้วยค่ะ ซึ่งพวกเขาจะถูกจ้างให้อยู่ใกล้โลงศพ หรืออยู่บริเวณใกล้ๆ และจะดูทุกข์ใจมากๆ คนเหล่านี้จะเพิ่มความเคร่งขรึมให้กับงาน และธรรมเนียมวิคตอเรียนคือไม่ควรร้องไห้ในที่สาธารณะ คนเหล่านี้ก็จะทำหน้าที่แทน (6)
เครื่องเตือนใจถึงคอนเซ็ปต์ Memento mori (สักวันหนึ่งก็ต้องจากโลกนี้ไป) มาทั้งในรูปแบบของหน้ากาก ภาพวาด รูปปั้น เครื่องประดับ สำหรับผู้ไว้ทุกข์ และเพื่อใช้ระลึกถึงคนตาย ผมของคนตายจะถูกนำมาทำเป็นเครื่องประดับ พวงหรีด เสื้อรัดอก ฯลฯ เพื่อให้ผู้ไว้ทุกข์ใส่ (5)
สมัยนั้นธรรมเนียมการไว้ทุกข์จะเทหนักไปที่ผู้หญิงค่ะ ในช่วงปี 1870s ถึงกับมี ‘อุปกรณ์ฝึกไว้ทุกข์’ สำหรับเด็กเลย มีโลงศพ ตุ๊กตา เสื้อไว้ทุกข์ ให้เด็กผู้หญิงฝึกไว้ทุกข์ (4)
บางบ้านที่เสียลูกในวัยเด็กไป (ซึ่งยุคนี้เด็กๆเสียชีวิตกันเยอะมาก อย่างที่เคยเล่าไป) บางทีจะสั่งทำตุ๊กตาขึ้นมา ตุ๊กตานี้จะใส่ชุดของเด็กที่เสีย บางทีก็ใช้ผมของเด็กด้วย ข้างในจะใส่ทรายไว้เพื่อให้น้ำหนักสมจริง บางบ้านก็วางไว้ที่สุสาน แต่บางบ้านเก็บไว้ที่บ้าน โดยใส่ในโลงหรือเปล (3)
การถ่ายภาพเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี 1839 ด้วยวิธี daguerreotype และสิ่งที่ชาววิคตอเรียนทำคือการถ่ายภาพกับคนตายในเซตติ้งภายในบ้าน โดยศพจะถูกจับโพสต์ท่าให้เกี่ยวกับอาชีพของตัวเอง ส่วนถ้าเป็นเด็กก็จะถ่ายร่วมกับของเล่น หรือนั่งกับพี่น้องพ่อแม่ (1)
บางทีก็มีการวาดภาพตาบนเปลือกตาที่ปิดอยู่ด้วย ด้วยความที่การถ่ายภาพสมัยนั้นราคาแพง หลายๆครอบครัวไม่สามารถจ่ายเพื่อถ่ายภาพครอบครัวได้ในเวลาปกติ ส่วนมากเลยจะจ่ายเงินกับการถ่ายภาพกับคนตายกัน เพราะถือว่าเป็นภาพสุดท้ายของครอบครัวและภาพนั้นจะอยู่ตลอดไป (2)
(tw: death) ยุควิคตอเรียนเป็นยุคที่เรียกได้ว่าผู้คนหมกมุ่นอยู่กับความตาย ส่วนนึงก็มาจากการไว้ทุกข์ตลอดชีวิตของควีนวิคตอเรียต่อพระสวามี ทำให้มีวิธีการแปลกๆมากมายที่กลายเป็นประเพณีของการไว้ทุกข์และการ เธรดนี้จะมาเล่าให้อ่านกันค่ะ ค่อนข้างหลอนเลยทีเดียวถ้ามองจากปัจจุบัน
รู้สึกดีใจที่โตมากับอนิเม แบบ ถ้าช่วงชีวิตวัยเด็กของชั้นไม่มีการ์ตูนญี่ปุ่นชั้นก็คงไม่โตมาจนเป็นอย่างทุกวันนี้ ขอบคุณทุกอย่างที่ทำให้ตัวเองตัดสินใจเริ่มดูอนิเมเป็นครั้งแรก ㅜㅡㅜ
ร้านแรกที่จะพุ่งไปกินถ้าได้ไปญี่ปุ่นคือร้านซูชิที่อากิฮาบาระ อยู่ตรงหน้าสถานีเลย อร่อยมากแบบแสงออกปาก ซูชิหน้ากุ้งท้อปด้วยชีสกับซอสเพสโต้คือเดอะเบส ㅜㅡㅜ
อยากไปญี่ปุ่น คิดถึงใจจะขาด