มาถึงชุดแต่งงานกันบ้าง ชุดเจ้าสาวไม่ได้อลังการอะไร แต่จะไปเน้นที่เครื่องหัวและทรงผม ซึ่งผมในวัฒนธรรมชาวไวกิ้งสำคัญมาก ชี้ถึงเสน่ห์ ผมยิ่งยาวยิ่งดี แทนการใส่ Kransen เธอจะใส่มงกุฎเจ้าสาวซึ่งเป็นมรดกครอบครัว ในปัจจุบันก็ยังมีการใช้อยู่ แบบในภาพที่สองนั่นเอง (7)
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นผู้ริเริ่มเปลี่ยนให้อิริยาบถธรรมดาๆเช่นการตื่นการหลับให้กลายเป็นพิธีการ เพราะต้องการให้ตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางของความสนใจตลอดเวลา และการมีกิจวัตรเหมือนเดิมทุกวันแบบเปิดเผยจะทำให้ทุกคนรู้ว่าตัวเองอยู่ ณ จุดไหนในแต่ละช่วงเวลาของวัน (1)
คำตอบคือ เมื่อมีการค้นพบโลงของฟาโรห์ตุตันคามุนค่ะ ทำให้คนรู้จักเรื่องของการใช้อายไลนเนอร์ นับตั้งแต่ช่วงปี 1920s ก็มีการใช้อายไลนเนอร์มาเรื่อยๆ ก่อนจะมาเป็นที่นิยมในช่วงปี 1970s (10)
ก่อนเล่าเรื่อง ถ้าใครชอบหนังแนวนี้ ขอแนะนำหนังไทยที่กำลังจะเข้าโรงวันที่ 1 กันยานี้!! #คืนหมีฆ่า ที่เป็นหนังแนวไล่ฆ่าวัยรุ่นที่ไปแคมป์ปิ้งกัน น่าสนใจมาก ยังไม่เคยเห็นหนังไทยทำพล็อตแบบนี้เท่าไหร่เลย ให้ฟิลเหมือนพวกเจสันอะไรแบบนี้ แถมฆาตรกรอยู่ในชุดหมีด้วย กิมมิคเริ่ดมาก
อีกหนึ่งทฤษฎีเชื่อว่าคนสมัยก่อนไม่ได้มองเด็กทารกแบบที่เรามองในปัจจุบัน เชื่อว่าเด็ก = ผู้ใหญ่เต็มวัย ตั้งแต่อายุ 7 ปี ซึ่งสอดคล้องกับโบสถ์ที่มองว่าอายุ 7 ปี คือ age of reason หรือเป็นช่วงอายุที่คนเราเริ่มรับผิดชอบบาปของตัวเอง เลยถ่ายทอดเด็กออกมาให้เป็นผู้ใหญ่ (4)
นี่คือ shrew’s fiddle ค่ะ เป็นอุปกรณ์ที่จะล็อคหัวกับมือสองข้างของผู้หญิงเอาไว้ แค่เพราะพวกเธอเสียงดังหรือมีปากเสียงกัน นิยมใช้ในเยอรมันและออสเตรีย บางทีเจ้านี่ก็จะมีกระดิ่งติดไว้เพื่อส่งเสียงให้ชาวบ้านรู้ว่าพวกเธอเดินผ่านมา (2)
ลองนึกว่าการจะทำให้อาหารสุกก็ต้องใช้ความร้อน แต่ใต้ทะเลไม่ได้มีภูเขาไฟหรือรูเปิดปล่อยความร้อนเยอะนัก แถมยังอันตราย ชาวเงือกอาจจะเผาตัวเองหรือได้รับบาดเจ็บก็ได้นั่นเอง (14)
ทำให้วิญญาณมายังโลกมนุษย์ได้ง่ายขึ้น เช่น ในซินเดอเรลล่า เวทมนตร์ก็เสื่อมตอนเที่ยงคืน แปลว่าพอเข้าวันใหม่เวทมนต์จากวันเก่าก็หายไปเหมือนถูกรีเซ็ต แต่บางคนก็เชื่อว่าเวลาผีออกคือทุกช่วงเวลาตอนกลางคืนตราบใดที่ยังไม่สว่าง (2)
นอกจากนี้สตอรี่ของอะริสุก็ยังคล้ายกับอลิซด้วย อะริสุเป็นตัวละครติดเกมที่ไม่ได้สนใจภาระครอบครัว แล้วจู่ๆก็ต้องเข้าไปในบอเดอร์แลนด์ พยายามเอาตัวรอดและ ‘กลับบ้าน’ ซึ่งก็เหมือนกับอลิซที่หลงเข้าไปในวันเดอร์แลนด์ พบเจอตัวละครต่างๆ และก็หาทางกลับบ้านเช่นกัน (2)
คนเขียนคือ Charles Lutwidge Dodgson หรือ Lewis Carroll นักเขียนชาวอังกฤษ และเด็กสาวต้นแบบคือ Alice Liddell ค่ะ ในวันที่ 25 เมษายน 1856 ดอดจ์สันวัย 24 ปีพบกับอลิสและพี่น้องของเธอในขณะที่พวกเธอเล่นกันอยู่ในสวน เขาได้เขียนลงในไดอารี่ว่าวันนั้นคือวันสำคัญที่พิเศษมาก (1)
ก่อนจะมีระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า กระเป๋าทุกใบถูกย้ายด้วยมือ แปลว่าผู้โดยสารต้องไปที่เคาท์เตอร์ โชว์ตั๋ว และให้ทิปตอนที่ตัวเองได้กระเป๋าแล้ว ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างนานเพราะบางคนก็มีกระเป๋าหลายใบ สมัยนั้นยังไม่มีกำหนดจำนวนกระเป๋าที่ผู้โดยสารสามารถนำไปได้ (13)
ตำนานจากไอร์แลนด์กล่าวว่า ในศ.ที่5/6 นักบุญ Brigid แห่ง Kildare คือหญิงที่ผลิตเบียร์ได้มีคุณภาพ และเชื่อว่าเธอเคยสร้างปาฏิหารย์ค่ะ โดยใช้เพียงมอลต์ถุงเดียว เธอสามารถกลั่นเบียร์อีสเตอร์ให้กับโบสถ์ได้ถึง 17 แห่ง (10)
** ทั้งนี้โฮล์มส์กล่าวว่าตัวเองจัดการคนไปทั้งสิ้น 28 ราย บางวันก็พูดจำนวนเพิ่มขึ้นลดลงราวกับอยากจะปั่นหัวตำรวจ โดยจากการสันนิษฐานว่าโรงแรมตั้งอยู่ใกล้งานเทศกาล World Expo และมีรายงานบุคคลหายตัวที่หาไม่พบกว่าหลายร้อย ตำรวจจึงเชื่อว่าอาจเป็นฝีมือของเขา **
สไตล์ศิลปะยุคกลางจะเน้นไปที่ expressioionistic มากกว่า realistic กล่าวคือ ศิลปินไม่ได้สนใจความสมจริง แต่จะสนใจการถ่ายทอดออกมาตามวิถีการวาดที่ทำกันในสมัยนั้น อย่างที่บอกว่าส่วนมากภาพจะวาดเกี่ยวกับศาสนามากกว่าชีวิตประจำวัน กฎเกณฑ์ศิลปะก็จะเอียงไปทางที่โบสถ์ต้องการ (3)
ราทาทุยปกติจะนำผักฤดูร้อนไปทำเป็นสตู หรือต้มโดยใช้ไฟอ่อน อย่าง ซุคคินี มะเขือยาวสีม่วง พริกหยวกแดง/เหลือง มะเขือเทศ และหัวหอม บางทีก็มีเพิ่มผักชนิดอื่น โดยเมนูนี้มาจากแถว Provence ซึ่งอยู่บริเวณตะวันออกเฉียบใต้ของฝรั่งเศส (1)
แต่เมื่อทอมได้ทำการตัดสินคดี ก็พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่าทอมปกติดี ฝ่ายเอ็ดวาร์ดได้ประสบกับความโหดร้ายและน่าอนาถของชีวิตคนยากจนในอังกฤษ และความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น โดยเฉพาะความทารุณของบทลงโทษ ที่ทำการเผา เฆี่ยน ทรมาณ ทั้งที่หลักฐานไม่ได้เพียงพอกับการเอาผิดเลย (7)
พ่อของวลาดเป็นที่รู้จักกันในนาม แดร็คคูล่า และวลาดก็สืบทอดชื่อนี้มาเช่นกัน แดร็คคูล่าเป็นสิ่งมีชีวิต และการดื่มเลือดก็ไม่ได้จำเป็นต่อการดำรงชีพค่ะ และเมื่อแดร็คคูล่าอยากออกล่า ก็จะล่าคนทั่วไปหรือไม่ก็ศัตรูของตัวเอง (6)
ซึ่งสีชมพูสไตล์พระนางคือชมพูที่เพิ่มสีฟ้า ดำ และเหลืองเข้าไป เรียกว่า Rose Pompadour ความหมายของสีชมพูในยุคนั้นก็มีแตกต่างไป เช่นภาพของ Emma, Lady Hamilton สีชมพูในชุดสื่อถึงการล่อลวง แต่ในภาพของ Sarah Barrett Moulton มันแสดงถึง วัยเด็ก ความไร้เดียงสา ความอ่อนโยน (5)
มาคุยถึงความเป็นอยู่ของชาวปอมเปอีบ้าง ที่บอกไปในเธรดก่อนหน้าว่าอยู่ดีกินดีกันจนฟันสวย มีเรื่องของการกินอูนิ (หอยเม่นทะเล) กับเนื้อยีราฟด้วยนะคะ! (12)
การแต่งงานสำหรับชาวไวกิ้งไม่ใช่แค่เรื่องของคนสองคน แต่เกี่ยวเนื่องกันทั้งครอบครัวค่ะ เพราะงั้นการแต่งงานจะซับซ้อนและมีหลายขั้นตอนมาก การตกลงกันเรื่องมรดกต่างๆ ต้องตกลงกันให้เสร็จก่อนจะตกลงว่าจะแต่งงานกันอีก (1)
มีความเชื่อที่ว่าโลกคนเป็นกับโลกคนตายคือโลกเดียวกัน แค่ถูกคั่นไว้ด้วยผ้าบางๆ ซึ่งก็มีความเชื่อว่าผ้าบางๆนี้จะบางที่สุดในช่วงตีสาม และเพราะแบบนี้ วิญญาณคนตายจึงสามารถมายังโลกคนเป็นได้ ทำให้ในเวลาตีสามจึงมักมีคนสะดุ้งตื่นเพราะรู้สึกเหมือนโดนจ้องหรืออยู่ใกล้ (5)
• หนึ่งในตำนานเงือกของญี่ปุ่นจากทางคิวชูคือ “นูเระอนนะ” (หญิงเปียก) ที่มีผมและหน้าเป็นผู้หญิง แต่ตาและฟันเป็นงู เธอจะอยู่ตามชายฝั่ง คอยหลอกล่อมนุษย์ให้คิดว่าเธอเป็นแม่อุ้มเด็กทารกที่กำลังต้องการความช่วยเหลือ และจะหลอกล่อให้มนุษย์อุ้มลูกของเธอ ซึ่งถ้าใครคนไหนรับลูกมาอุ้มล่ะก็ (3)
ชาวบ้านก็อาจมีตะโกนด่าหรือเขวี้ยงผักผลไม้ใส่ หนักกว่าคือ shrew’s fiddle ที่มีสองอันติดกัน ใช้ล่ามคนสองคนที่ทะเลาะกันให้ทะเลาะกันให้พอใจจนกว่าจะหยุด (3)
แต่เจ้าชายห้ามไว้และชวนทอมเข้าไปในห้องในวังของตัวเอง ทั้งคู่ได้รู้จักกันมากขึ้น ว้าวมากกับที่หน้าเหมือนกันแถมเกิดวันเดียวกัน จึงตัดสินใจสลับตัวกันดูชั่วคราว เจ้าชายในคราบทอม ออกมาจากปราสาทสำเร็จ ได้เดินทางไปยังบ้านแคนตี ที่นั่นเขาได้พบกับพ่อขี้เหล้าของทอมที่พยายามทำร้ายเขา (4)
ทอม แคนตี ลูกชายคนสุดท้องของครอบครัวยากจนในลอนดอน ฝันอยากจะมีชีวิตที่ดีกว่าเดิมมาตลอดเพราะได้รับการสอนจากนักบวชประจำเมือง วันหนึ่งเขาเดินเล่นอยู่แถวประตูวัง และก็ได้พบกับเจ้าชายเอ็ดวาร์ดที่ 4 แห่งเวลส์ และด้วยความตื่นเต้นทำให้เขาเผลอเข้าใกล้เกินไป จนเกือบโดนทหารเจ้าชายกระทืบ (3)