677
678
มาฉีด Moderna เข็มสี่ รพ.วิมุต พยาบาลคือฝีมือเทพจริง เป็นป้าใจดีๆ ดูเอกสารแล้วเม้าว่าลายเซ็นสวยนะ เนี่ยเซ็นแบบนี้เขาว่าดีนะ ป้าดูในยูทูปมา นี่ก็ครับๆ ปากก็คุยไป มือก็เตรียมเข็มไป อ่ะเสร็จแล้วจ้ะลูก คือไม่เจ็บเลย ฉีดไปตอนไหนนะครับ 555
679
เวลาเห็น YouTuber สองช่องมาทำคอลแลปทำคอนเทนต์ร่วมกัน นี่ใฝ่ฝันให้วันนึงช่องฟาโรสไปคอลแลปกับยายไหม เป็นสองช่องที่ชอบดูมาก 5555
680
ที่เล่ามาทั้งหมดนี้คือ "หลักคร่าวๆ" ของ dynamic pricing แต่เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีมันล้ำขึ้น การใช้ data มาประกอบมันซับซ้อนขึ้น ทำให้ระบบ dynamic pricing มันเก่งขึ้นไปอีก เช่นการ track browsing behavior ว่าคนนี้มีแนวโน้มจะซื้อตั๋วหรือยัง ถ้าจะซื้อแน่ๆ ราคาก็จะแพงขึ้น เป็นต้น
681
อันนี้เลยเป็นสาเหตุว่าทำไมเราถึงอาจจะเจอ "โปรหักคอ" ที่การจองล่วงหน้านานสุด ไม่ได้การันตีว่าจะได้ราคาถูกที่สุด เพราะสายการบินก็ต้องคอย optimize ราคาระหว่างทาง เช่น อาจจะต้องลดราคาจาก 1,000 บาท กลับมาเปิด bucket 500 บาทอีกรอบ เพื่อให้ตั๋วที่เหลือขายอยู่ขายได้เร็วขึ้น
682
ซึ่งในไฟลท์นึง ที่นั่งทั้งหมดมักจะถูกแบ่งเป็นกลุ่ม (price bucket) สมมติว่าไฟลท์ ดอนเมือง-เชียงใหม่ อาจจะมีการแบ่งราคาแบบ
500 บาท (มี 20 ที่นั่ง)
1000 บาท (มี 20 ที่นั่ง)
2000 บาท (มี 20 ที่นั่ง)
แน่นอนว่ากลุ่ม leisure จะสอยราคาถูก (500 บาท) ไปก่อนจนหมดก่อน
683
พอเราเอาคนสองกลุ่มนี้ มาอยู่ในไฟลท์เดียวกัน เราจะเริ่มเห็นภาพกว้างๆละ ว่าในไฟลท์เดียวกัน มันจะมีทั้งคนที่ได้ตั๋วถูก (หรือโปร 0 บาทเลยก็ได้) และคนที่จ่ายค่าตั๋วแพงโคตรๆ ซึ่งการคำนวณตัวเลขพวกนี้ เป็นระบบ algorithm ที่สายการบินใช้ข้อมูลมหาศาลมากมายมาคำนวณเพื่อ optimize ราคา
684
อีกกลุ่มคือ business passenger พวกนี้มักบินแบบฉุกละหุก และบริษัทจ่ายค่าตั๋วให้ ดังนั้น กลุ่มนี้จะ price sensitive น้อยกว่ามาก แถมบางทีอาจจะตั้งใจซื้อตั๋วคลาสแพงๆ เพื่อหวัง perks ต่างๆ เช่น flexibility และการสะสมไมล์เต็มๆ นี่คือสาเหตุว่าถ้าเราจะบินพรุ่งนี้เลย ทำไมตั๋วถึงแพงมาก
685
ปัจจัยใหญ่ๆที่มีผลต่อราคาคือ segment ของลูกค้า ซึ่งแบ่งเป็นสองกลุ่มที่มีพฤติกรรมต่างกัน กลุ่มแรกคือ leisure passenger หรือบินไปเที่ยว กลุ่มนี้จะวางแผนล่วงหน้ากันนานเป็นเดือน และ sensitive เรื่องราคามาก ล่าโปรกันรัวๆ พวกตั๋วโปร ตั๋ว 0 บาทที่ต้องจองข้ามชาติ ถูกออกแบบมาเพื่อกลุ่มนี้
686
ดังนั้น การตั้งราคาตั๋วของสายการบิน มันจึงเป็นการหาจุดสมดุลของ 1) ขายที่นั่งให้ได้เยอะที่สุด 2) ขายให้ราคาเฉลี่ยทั้งลำดีที่สุด ซึ่งความยากมันคือไอ้จุด "สมดุล" ที่ว่าเนี่ยมันมีปัจจัยเกี่ยวข้องเยอะมาก ทั้งพฤติกรรมลูกค้า การแข่งขันในรูทเดียวกัน ไปจนถึง event/seasonality ต่างๆ
687
ก่อนจะไปถึงหลักการตั้งราคา ต้องอธิบายคอนเสปต์ revenue management ของธุรกิจสายการบินว่า โจทย์ใหญ่สุดคือการจะขายที่นั่งทั้งหมดในแต่ละเที่ยวบินยังไง ให้ได้เงินหรือกำไรเยอะที่สุด เพราะการขายหมดเกลี้ยงทุกที่นั่ง ในราคาถูกสุดๆทุกที่นั่ง ไม่ได้หมายความว่าจะได้กำไรเยอะที่สุด
688
หนึ่งในสินค้า/บริการที่มีวิธีการตั้งราคาที่ซับซ้อนที่สุดในโลกคือ "ตั๋วเครื่องบิน" ✈✈✈ ซึ่งเกือบทุกสายการบินตั้งราคาแบบ dynamic pricing หรือราคาตั๋วสามารถขยับขึ้นลง ⬆⬇ อยู่ตลอดเวลา
🧵 เธรดนี้จะอธิบายหลักการแบบ "คร่าวๆ" ให้ฟังครับว่า dynamic pricing มันคืออะไร
689
จากประสบการณ์การจองร้านอาหาร บอกเลยว่าร้านที่จองยากที่สุดระดับ last boss คือร้านที่ญี่ปุ่น ซึ่งบางร้านเป็นร้านแบบที่เรียกว่า ichigen-san okotowari มันคือระบบที่คุณจะต้องได้รับเชิญหรือ refer จากลูกค้าที่เคยกินร้านนี้แล้วเท่านั้น คุณจะจองเองไม่ได้ เรื่อง walk-in คือลืมไปได้เลย
690
691
692
เดี๋ยวนี้ในตลาดจะเจอมะม่วงสายพันธุ์ฮิตๆอยู่ไม่กี่พันธุ์ เช่น น้ำดอกไม้ อกร่อง เขียวเสวย แต่จำได้ว่าตอนปลูกบ้านหลังที่อยู่ปัจจุบันสัก 30 ปีก่อน เขาลงต้นมะม่วงไว้ให้สิบต้น ไม่ซ้ำพันธุ์เลย ที่จำได้คือ ฟ้าลั่น เจ้าคุณทิพย์ ทองดำ ซึ่งเดี๋ยวนี้หาไม่ได้แล้ว
693
อยากรู้ไหมว่าความสยองมันหน้าตาเป็นยังไง... ลองเปิด calendar แล้วดูจำนวนนัดประชุมที่กองสุมกันอยู่อาทิตย์หน้าสิ 🤯🤯
694
จากประสบการณ์พาเพื่อนต่างชาติมากินอาหารในไทย ถ้าหมวดขนมไทยนี่มีขนมบางอย่างที่เพื่อนกินไม่ได้ เช่น ลูกชุบที่ฝรั่งบางคนไม่ชอบกลิ่นอบเทียน แต่ข้าวเหนียวมะม่วงนี่ universal สุดละ ชอบทุกคน รีเควสต์กันทุกมื้อ บางคนกินแล้วยังขอ take away กลับไปกินที่โรงแรมอีกชุด
695
เป็นวันที่ควรบันทึกไว้ว่า มันคือวันเอเชี่ยนร่วมใจจริงๆ
697
ทุกครั้งที่เห็นคำว่า non-fungible ในหัวจะแปลความหมายแว้บแรกว่า "ไม่สามารถเป็นเห็ดราได้" 🍄
698
สรุปสั้นๆ: วิธีที่ Hermès ใช้ในการป้องกัน hostile takeover คือการตั้ง holding company ขึ้นมาแล้วย้ายหุ้นของสมาชิกในตระกูลมาอยู่ในบริษัทนี้ทั้งหมด 51% โดยหุ้นจะไม่สามารถโยกย้ายหรือขายออกได้ใน 20 ปี เพื่อรักษาเสียงส่วนมากของบริษัทให้ยังอยู่ในตระกูลของตัวเองต่อไป
699
หนึ่งในเคสของ Hostile Takeover ที่ค่อนข้างเป็นเรื่องใหญ่ในวงการ คือการที่ LVMH พยายามจะซื้อ Hermès ครับ INSEAD มีเขียนเคสนี้ไว้อยู่ อ่านสนุกๆ knowledge.insead.edu/node/3403/pdf
700
Hostile takeover (การครอบครองกิจการแบบไม่เป็นมิตร) นี่นานๆจะได้เจอเคสจริงๆสักที ตอนเรียนไฟแนนซ์ ป.ตรีก็ไม่ค่อยมีตัวอย่างประกอบเท่าไร ใครอยากรู้ว่ามันเป็นยังไง และมีวิธีการตอบโต้ยังไง ให้ดูซีรีส์ ฮันซาวะ นาโอกิ ซีซั่นสองตอนแรกๆ อย่างมันส์จ้า twitter.com/blognone/statu…