SpectrumTH(@spectrum_thai)さんの人気ツイート(新しい順)

101
ข่าวดีเกี่ยวกับสิทธิ LGBT+ ในอินเดีย - เมื่อวานนี้ รัฐบาลอินเดียออกเว็บไซต์เพื่อให้คนข้ามเพศยื่นคำร้องเพื่อกำหนดเพศตัวเองในเอกสารระบุตัวตนได้ หลังจากที่ผ่านกฎหมายรับรองเพศสำหรับคนข้ามเพศไปเมื่อเดือนมกราคม โดยเว็บไซต์นี้ทำให้ไม่ต้องเดินทางไปทำเรื่องที่สำนักงานของรัฐอย่างที่ผ่านมา
102
SPECTROGRAM: เธรดนี้รวม 10 เหตุผล ทำไมหลายๆ คนอยากให้แบนเพจผู้ชายใส่แว่น (หมายเหตุ: เนื้อหามีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการข่มขืน การคุกคามทางเพศ อาการใคร่เด็ก)
103
“สรงประภา: Reclining Queer Nudes” - คือชื่องานนิทรรศการศิลปะล่าสุดของ ‘โอ๊ต มณเฑียร’ ที่นำเสนอการวาดภาพนู้ดที่มีแบบเป็นเกย์ ผ่านภาพวาดสีชอล์กพาสเทลเพื่อนำเสนอแสงสีที่แตกต่างเพื่อสะท้อน อารมณ์ และความรู้สึก ที่เกิดขึ้นระหว่างบทสนทนาของศิลปินและแบบ
104
วันนี้คือวัน Transgender Day of Remembrance (TDOR) หรือวันรำลึกถึงคนข้ามเพศที่ถูกฆาตกรรมด้วยเหตุแห่งความเกลียดชัง . 386 คือตัวเลขของคนข้ามเพศที่ถูกฆ่าทั่วโลกในปีนี้ 129 คือตัวเลขของคนข้ามเพศที่ถูกฆ่าในบราซิล 26 คือตัวเลขของทรานส์เจนเดอร์ผิวดำหรือละตินอเมริกาที่ถูกฆ่าในอเมริกา
105
“นี่คือข่าวดีจากโซนยุโรป” - เมื่อ ‘สหภาพยุโรป’ (EU) ออกมาตรการใหม่เพื่อปกป้องสิทธิของกลุ่ม LGBT+ และจัดการกับปัญหานโยบายที่เบียดเบียนริดรอนความเป็นมนุษย์ของคนกลุ่มนี้ ซึ่งเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในแถบยุโรปตะวันออกช่วงปีที่ผ่านมา
106
เมื่อวันที่ 14 พ.ย. มีงาน #MobFest กับ “การรวมตัวครั้งสำคัญของภาคีนักเรียน นักศึกษา และประชาชนกว่า 20 เครือข่าย ผู้เชื่อใน 3 ข้อเรียกร้องหลัก” โดยให้ร่วมกันแชร์สิ่งที่อยากเห็นในรธน.ใหม่ #แก้ได้ถ้าแก้รัฐธรรมนูญ เราจึงรวบรวมเสียงของคนหลากหลายที่บอกถึงความปรารถนาของพวกเขามาให้ได้ฟัง
107
เพื่อให้ฉันยอมรับร่างกายตัวเองมากขึ้น พอเข้าสู่เดือนที่ 3 ฉันก็เริ่มรู้สึกยอมรับและรักตัวเองมากขึ้นกว่าเดิม การได้เห็นร่างกายตัวเองในมุมต่างๆ ที่ฉันพยายามจะไม่มองมันมาก่อน มันช่วยเติมพลังใจได้ดีมากๆ มันทำให้ฉันสนุกกับร่างกายตัวเอง ทำให้ฉันมั่นใจในร่างกายเปลือยเปล่าของตัวเอง”
108
“ฉันก็เลยหวังว่า ถ้าฉันนำเสนอภาพเหล่านี้มันจะช่วยให้คนที่รู้สึกไม่ดีกับร่างกายตัวเอง รู้สึกแย่กับการโดนบอกว่าอ้วน พวกเขาจะได้ฮีลตัวเองมากขึ้นจากการเห็นว่า เขาไม่ได้อยู่ลำพัง หรือร่างกายของคนไม่ว่าจะเป็นแบบไหนมันก็ควรได้รับการยอมรับ"
109
ต่อมาเธอจึงค่อยๆ ซึมซับและเรียนรู้ว่า ความงามนั้นล้วนเกิดจากกระบวนการสร้างทางสังคม (Social Construction) ยอมรับตัวเองให้ได้ด้วย นี่คือจุดแรกที่จะทำให้ตัวเองเกิดความสุขในทุกๆ รูปแบบของร่างกาย
110
"ฉันเริ่มทำโปรเจกต์ตั้งแต่ปี 2018 เพื่อถ่ายภาพตัวเองในทั้ง 365 วันก็เพราะว่า ฉันอยากหาอะไรมาทำให้ตัวเองยุ่งๆ เพื่อที่จะได้ไม่ตกอยู่ในสภาวะซึมเศร้า เป้าหมายแรกของฉันคือแค่ถ่ายเก็บภาพตัวเองในทุกๆวันไปเรื่อยๆ แล้วโพสต์ลงอินสตาแกรม ฉันพยายามถ่ายภาพร่างกายของตัวเองในมุมต่างๆ มากขึ้น—
111
ที่เราต้องยอมรับร่างกายของตัวเองให้ได้" อินเดจึงได้นำ ‘การถ่ายภาพ’ มาช่วยให้เกิด ‘ยอมรับ’ ในร่างกายของตัวเองและค่อยๆ ลบล้างทุกความเชื่อที่สังคมมอง (ต่อ)
112
“ฉันคิดฆ่าตัวตายบ่อยมาก จนกระทั่งมันเริ่มมีกระแส ‘Body Positivity’ ฉันไม่ต้องห่วงว่าใครจะคิดยังไงกับร่างกายฉันอีกต่อไปตั้งแต่มีกระแสนี้ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญพอๆ กันที่คนไม่ค่อยพูดถึงก็คือ ‘Body Acceptance’ ซึ่งฉันคิดว่ามันโอบรับความหลากหลายทางร่างกายได้มากกว่า—
113
อย่างเช่นความเชื่อที่ว่า “อยากแต่งงานต้องเพิ่มน้ำหนัก” ของประเทศ ‘ไนจีเรีย’ เอง ถ้าผู้หญิงอยากจะแต่งงานก็ต้องเพิ่มน้ำหนักตัวเองให้มากๆ งานของอินเดก็ทำให้หลายๆ คน คิดถึงงานศิลปะในยุคเรเนซองส์ แต่ภาพเธอนั้นมีความต่าง คือมีนัยยะที่เฉลิมฉลองความอ้วน แต่ไม่ใช่การตีตราเรื่องความผอม
114
ซึ่งไม่ใช่แค่ในโลกตะวันตกที่เชื่อเช่นนี้ วัฒนธรรมอื่นๆ ในโลกก็ยังเชื่อว่าถ้า “ผู้หญิงยิ่งอ้วนยิ่งสมบูรณ์” นี่ก็เพราะการมีเนื้อมีหนังสะท้อนภาวะที่ไม่อดอยากและฐานะทางสังคมของความมั่งมี
115
ความผอมจึงถูกมองว่างดงาม ต่อมา “ความผอม = สวย” ถูกผลิตซ้ำอีกในแวดวงภาพยนตร์สมัยใหม่ทั้งในยุโรปและในอเมริกา ผนวกด้วยระบอบทุนนิยม “ความอ้วน” จึงมีภาพในแง่ลบมาตลอด นี่ทำให้ศิลปินคนนี้ลุกขึ้นมาทำงานศิลปะเพื่อบอกว่า "อย่าปล่อยให้ใครมาบอกเราว่าเราต้องรู้สึกหรือทำยังไงกับร่างกายตัวเอง!"
116
ความอ้วน = ความงาม: “ยิ่งคุณมีน้ำมีนวลหุ่นมีทรวดทรงก็จะยิ่งสวยและเป็นที่ปรารถนา” - นี่คือคุณค่าความงามของยุคเรเนซองส์ (ศตวรรษที่ 14-16 ในยุโรป) ที่มีแนวคิดว่ายิ่งอ้วนก็แสดงว่าคนนั้นมีสุขภาพที่ดี อุดมสมบูรณ์ทั้งกาย เซ็กส์และจิตใจ สังเกตได้ชัดจากภาพงานศิลปะในยุคนี้
117
‘ความผอม’ เริ่มกลายมาเป็นมาตรฐานความงามของร่างกายเมื่อศตวรรษที่18-19 อิทธิพลหนึ่งที่ชัดคือวัฒนธรรมศิลปะและวรรณกรรม ‘กอธิค’ (Gothic) ของอังกฤษที่เน้นเรื่องราวของความลึกลับมืดมนและความตายอันโรแมนติก เพราะศิลปะแนวนี้โรแมนติกไซส์ความตายที่มักมาพร้อมกับความซูบผอม (ต่อ)
118
และฉันกำลังพยายามสร้างบทสนทนาเพื่ออยากให้คนยอมรับร่างกายของตัวเองกันให้มากขึ้นพร้อมๆ กับเยียวยาบาดแผลทางใจที่มาจากการถูกล้อเลียนทำให้ละอายใจเรื่องร่างกาย (body-shaming) ของตัวฉันเองด้วย" - ศิลปินผู้นี้แนะนำตัวพร้อมกับภาพถ่ายในยุคปัจจุบันที่ฟุ้งฝันเย้ายวนราวภาพวาดยุคเรเนซองส์
119
"ฉันชื่อ ‘อินเด’ (Indea) ฉันเป็นเควียร์ (ไบ/แพน) และ Pagan ที่อาศัยอยู่ที่อังกฤษ คือฉันเปิดอินสตราแกรม @/majikmilk (‘เมจิกมิลก์) โดยถ่ายภาพตัวเองทั้งแนว ‘โรแมนติก’ ‘นู้ด’ และ ‘อีโรติก’ และเชื่อว่าการรักและมีความสุขกับร่างกายของตนเองทำได้ โดยผ่านการถ่ายภาพ self-portrait (ต่อ)
120
SPECTRUM OF HUMAN: Majikmilk - ศิลปินเควียร์ชาวอังกฤษที่ถ่ายภาพนู้ดตัวเองเพื่อนำความงามกลับมาสู่คนอ้วนอีกครั้งดั่งยุคเรเนซองส์
121
ตอนนี้เราก็ได้รู้แล้วว่า ‘โจ ไบเดน’ (Joe Biden) ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดของสหรัฐอเมริกา แต่ชัยชนะที่น่าจับตามองไม่แพ้กัน คือความสำเร็จของกลุ่ม LGBTQ+ ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นทั้งสมาชิกวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรในจำนวนที่สูงเป็นประวัติการณ์ มากกว่า 160 คนทั่วประเทศ
122
“นี่คือการเดินขบวนของผู้ถูกกดขี่ที่จะไม่หยุดแม้จะมีอะไรกั้น!” . ชุมนุมเพื่อเสรีภาพของกลุ่ม ‘เสรีเทยฺย์พลัส’ จัดขึ้นตั้งแต่ช่วงบ่ายจนถึงช่วงเย็นของเมื่อวาน ซึ่งเคลื่อนจากสามย่านไปสีลม โดยนับเป็นครั้งที่สองของการขับเคลื่อนประชาธิปไตยในแบบ “Queerๆ” #ม็อบตุ้งติ้ง2 #ไพร่พาเหรด
123
‘Catriona Gray’ (แคทริโอนา เกรย์) ผู้ชนะ Miss Universe 2018 ได้โดนรัฐบาลฟิลิปปินส์เตือนแล้วว่าไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับองค์กรสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศและสิทธิมนุษยชน โดยองค์กรเหล่านี้โดนกล่าวหาว่ามีความสัมพันธ์กับพวกกลุ่มหัวรุนแรงคอมมิวนิสต์ ซึ่งเคยถูกปราบโดยรัฐบาลฟิลิปปินส์ไปแล้ว
124
‘Alexandria Ocasio-Cortez’ ส.ส. หญิงจากพรรคเดโมแครตชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่สองแล้ว ‘ฉะฉาน’ ‘ชัดเจน’ ‘ตรงประเด็น’ - คงเป็นสามคำที่จะบอกได้ดีที่สุดถึงวาทศิลป์อันเฉียบคมในสภาสหรัฐฯ ของ ‘Alexandria Ocasio-Cortez' (อเล็กซานเดรีย โอคาซิโอ-คอร์เทซ) หรือที่หลายๆ คนรู้จักในนาม ‘AOC’
125
#ข่มขืนผู้เยาว์ (Child Rape) เหตุการณ์หนึ่งที่สร้างความสะเทือนใจที่สุดและทำให้พอร์นฮับถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปในวงกว้างก็คือ กรณีของเด็กอายุ 15 ปีที่หายตัวไปเป็นเวลากว่า 1 ปี จนกระทั่งมีคนไปเจอคลิปวิดีโอเด็กคนดังกล่าวถูกข่มขืนและถูกคุกคามทางเพศเผยแพร่บนเว็บไซต์พอร์นฮับกว่า 58 คลิป