1
สังคมไทยเป็นอะไรหนักหนากับ ‘หัวนม’ และ ‘ขน’?
‘ดาราณี ทองศิริ’ - ชวนดูปฏิกิริยาของสังคมต่อการรณรงค์โนบราและไว้ขนรักแร้ หลังจากที่มีกระแสเชิญชวนไปในทวิตเตอร์ในไทย ซึ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์ล่าสุดที่มีผู้หญิงถอดเสื้อประท้วงในพิพิธภัณฑ์ ‘ออร์แซ’ ประเทศฝรั่งเศส bit.ly/2RuY4Rj
2
3
4
เมื่อ LGBTQ+ ไม่เพียงถูกริดรอน visibility ในโลกแห่งความจริง แต่ยังตัวตนของพวกเขายังถูกซ่อนในโลกออนไลน์ด้วย
TikTok แอพของจีน ยอมรับแล้วว่า Shadowban (ติดเงา) วิดิโอที่มีแฮชแท็กเกี่ยวกับ LGBTQ+ จริงในหลาย ๆ ประเทศที่ยัง conservative และไม่ยอมรับความหลากหลายทางเพศ #ติ๊กต๊อก
5
ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ TikTok ยอมรับว่ามีการเซ็นเซอร์คอนเทนต์ LGBTQ+ โดยเมื่อปีที่แล้วมีการซ่อนวิดีโอของคนเพศเดียวกันที่จับมือกันในประเทศอนุรักษ์นิยมอย่างตุรกี ซึ่งแบนพร้อมกันกับกลุ่มผู้ก่อการร้าย ยาเสพติด และคำสบถหยาบ (สะท้อนว่าบางประเทศ LGBTQ+ ถูกมองเหมือนผู้ก่อการร้าย)
6
ถึงแม้ว่า TikTok จะขึ้นชื่อว่าเป็นแอพที่มีความเหนียวแน่นของชุมชน LGBTQ+ มากจนกลายเป็นว่ามีกลุ่ม gay tiktok อย่างไม่เป็นทางการเกิดขึ้น แต่งานวิจัยพบว่า TikTok กลับละเมิด free speech ของคนกลุ่มนี้ในหลาย ๆ ประเทศโดยการซ่อนวิดีโอที่มีแท็กภาษาถิ่น เช่น คำว่า เกย์, เลสเบี้ยน, คนข้ามเพศ
7
สำหรับคนที่ไม่รู้ว่า Shadowban คืออะไร - การติดเงาคือกระบวนการที่ algorithm ถูกเซ็ทเพื่อป้องกันสแปมหรือเนื้อหาที่ผู้ควบคุมระบบไม่ต้องการให้เห็น วิดิโอ ทวีต หรือแอคเคาท์หนึ่ง ๆ จะหายไปจากการค้นหา ซึ่งก็คือ censorship อย่างหนึ่งที่ใช้ในการจำกัดเสรีภาพการออกเสียง
8
@aanyaa_c อ่านเพิ่มเติมได้ที่เธรดนี้นะคะ ฝากกดฟอลแอคสเปคตรัมด้วยน้า 🥺🥺 twitter.com/spectrum_thai/…
9
10
การกลัวเมียหรือเป็นพ่อบ้านใจกล้านี่แหละสะท้อนสังคมชายเป็นใหญ่เต็มๆ ที่มันตลกได้ก็เพราะสังคมมีความเข้าใจอยู่ลึกๆ ว่า ผัวต้องมีอำนาจเหนือเมียสิ ต้องมีสิทธิตัดสินใจทุกอย่างสิ การยอมทำอะไรที่ผญบอกจึงเป็นเรื่องที่ดูแปลกและเอามาล้อเล่นกันได้
อย่างงี้ผญจะเหนือกว่าหรือเท่ากับผชได้ยังไง twitter.com/esz/status/130…
11
พูดให้เห็นชัดๆ ผู้ชายทำงานบ้านมักจะถูกล้อหรือล้อตัวเองว่าเพราะกลัวเมีย เมียสั่งให้ทำ ฯลฯ ซึ่งจริงๆ งานบ้านโดยเฉพาะในคู่ที่ทำงานนอกบ้านทั้งคู่ เป็นสิ่งที่ควรจะแบ่งกันทำอยู่แล้วไม่ใช่หรือในความสัมพันธ์หนึ่ง? การยังมีภาพฝังหัวว่างานบ้านเป็นของผู้หญิงเท่านั้นก็คือ patriarchy ชัดๆ เลย
12
วันนี้พามารู้จักกับ #MenAreTrash ประโยคที่ได้ยินกันบ่อยมากในโลกออนไลน์ทุกวันนี้ จนเกิดการวิจารณ์อย่างหนัก (แม้แต่เฟซบุ๊กก็บล็อคคำนี้ในภาษาอังกฤษ จนโพสต์ของเราต้องเซ็นเซอร์) มีกระแสตีกลับว่าประโยคนี้ "เหมารวม" “ไหนบอกอยากเท่าเทียม แต่ก็ยังเรียกผช.ว่าขยะ” "นี่มันกดขี่ผช.ชัดๆ"
13
"Toxic Masculinity": ผู้เขียนพยายามแสดงให้เห็นว่าคำว่า "Men" หรือ “ผู้ชาย” ไม่ใช่ Male หรือเพศทางชีววิทยา ไม่ใช่ทเพศกำเนิดชายทุกคน แต่หมายถึงผช.ที่มีภาวะ Toxic Masculinity หรือความเป็นชาย (gender) ที่เป็นพิษที่เกิดจากการประกอบสร้างทางสังคม (social construct) ในสังคมชายเป็นใหญ่
14
Men are trash จึงไม่ได้กระทบผู้ที่มีเพศกำเนิดชายทุกคน แต่หมายรวมถึงโจมตีทุกคน ทุกเพศที่มี Toxic masculinity และเอาความเชื่อแบบนี้แล้วไปกดทับคนอื่น แต่พอเป็นไวยกรณ์ภาษาไทยเรานั้น จึงจะเกิดความสับสนอยู่มาก เข้าใจผิดว่าด่าทุกคนที่มีเพศกำเนิดชาย
15
"Not all men?" - การที่เราไม่พูดว่าผู้ชาย "บางคน" เป็นขยะแทน ก็เพราะเรารู้อยู่แล้วว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ชายทุกคนบนโลกจะเป็นแบบนี้ “Men are trash” เน้นประเด็นหลักที่ประโยคนี้ต้องการจะสื่อคือความสัมพันธ์ที่ระหว่าง “ความเป็นชาย” และ “ความเป็นขยะ” ได้ดีกว่าการพูดแค่ว่า “บางคน”
16
การที่คนโจมตีว่า Men are trash เหมารวม และทำให้ต้องอธิบายว่า “ไม่ใช่ผู้ชายทุกคน” เป็นการพุ่งความสนใจไปที่ผู้ชายที่ไม่ได้เป็นปัญหามากกว่าผู้ชายที่กำลังถูกวิจารณ์ ซึ่งการโต้ว่า "เหมารวม" จึงเป็นสิ่งที่เบี่ยงเบนความสนใจออกจากปัญหาที่พูดถึงกันอยู่และความทุกข์ของผู้หญิงที่เป็นเหยื่อ
17
Men are trash = Hate speech? - คำพูดใดๆ ก็ตามจะนับว่าเป็น Hate speech ก็ต่อเมื่อทำอันตรายต่อกลุ่มเป้าหมาย เช่น เพิ่มความเกลียดชังที่จะซ้ำเติมการเลือกปฏิบัติ แต่ในระบอบที่ผู้ชายมี privilege กว่าผญ.อยู่แล้วแทบทุกกรณี คำว่า Trash ไม่ได้ไปเพิ่ม stereotype ที่จะกระทบชีวิตผช.ในแง่ลบ
18
ชวนทุกคนมา "ทิ้งขยะ": สำหรับคนที่เอาแต่เคลมว่า "ไม่ใช่ผู้ชายทุกคน" และไม่พอใจคำพูดนี้ ฝากให้ย้อนถามตัวเองว่า คุณรู้สึกถูกกระทบและถูกวิจารณ์ไปด้วยเพียงแค่เพราะคุณกำลังทำนิสัยแบบที่ถูกวิจารณ์หรือเปล่า? แล้วได้ทำอะไรเพื่อหยุดพฤติกรรมแย่ๆ ที่มาจากแนวคิดชายเป็นใหญ่บ้างหรือยัง?
19
‘ตำรวจทาสรักรัฐบาล’ ‘ตำรวจน้อยร้อยหมาย’
คอนเซปต์การแต่งกายของสองพิธีกร ไฟซ้อน - ลูกมาร์ค ชุดพร้อม คนพร้อม
เจอกันในงาน “19 กันยา ทวงอำนาจคืนราษฎร” -
bit.ly/33KCSfE
20
หากใครสังเกตในการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร เมื่อวานนี้จะเห็น 'ธงรุ้ง' โบกสะบัดอยู่กลางสนามหลวง แต่ธงนั้นดูจะแปลกตาไปเพราะมีสีที่ไม่คุ้นเคยเพิ่มมา เธรดนี้จะมาเล่าว่าธง Pride ที่ออกแบบใหม่โดย Daniel Quasar ศิลปินอเมริกันทำเพื่ออะไรและสื่อถึงความหลากหลายในกลุ่ม LGBTQ+ อย่างไร
21
22
ในหลักสูตรเพศศึกษาใหม่ที่ไม่ใช่แค่ชาย - หญิงนี้ ครูจะต้องสอนเรื่องเพศ สุขภาพ และความสัมพันธ์ที่ครอบคลุมทุกกลุ่มเพศ เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องความหลากหลาย โดยผู้ปกครองของนร.ประถมและม.ต้นจะไม่สามารถยกเว้นบทเรียน LGBT+ ของลูกได้ นอกเสียจากจะถอนออกไปจากวิชาเพศศึกษาเลย
23
24
25
‘คงมีแค่ในธรรมชาติที่เราจะได้เป็นตัวของตัวเองอย่างสบายใจ’ - ในช่วงชีวิตของวัยรุ่น เป็นช่วงเวลาที่ต่างคนต่างหาต่างเรียนรู้เกี่ยวกับตัวตนของตัวเองในมิติต่างๆ ภาวะเปล่าเปลี่ยวแปลกแยกเกิดขึ้นในใจของวัยรุ่นที่ค้นพบว่าตัวเองมีเพศที่หลากหลาย นี่คือสิ่งที่งานของมินาฮามุสะท้อนออกมา