ประมาณนี้ค่ะกับจูเลีย นับถือใจนางจริงๆเลย คงช่วยปลดแอกสาวๆที่ทนทุกข์จากการแต่งงานได้จริงๆล่ะนะ ขอบคุณที่แวะมาอ่านนะคะ เจอกันเธรดหน้าค่ะ 🌻 ปล. อยากอ่านเรื่องไหน รีเควสมาได้นะคะ ช่วงนี้เลือกไม่ถูกว่าจะเขียนอะไรดี อยากรู้ทุกคนสนใจอะไรกันบ้าง 💓
เอ้อ ลืมเล่านิดนึง ความพีคคือโมสาร์ท (นักประพันธ์เพลง) เคลมว่าตัวเองโดนยาพิษจากจูเลียด้วยนะเออ เชื่อว่าตัวเองโดน Aqua Tofana จนล้มป่วย (ทุกคนรู้จัก แปลว่าของเขาดังจริง) แต่ไม่ใช่ความจริงนะคะ 🤣
หนึ่งในซีนที่น่ารักที่สุดจาก Luca คือตอนแข่งแล้วคุณพ่อของน้องจูเลียกับน้องแมวมัคเคียเวลีมาถือป้ายเชียร์แหละ บนป้ายแปลได้ว่า ‘ลุยเลย! จูเลีย’ ด้วย ฮือ ปะป๋าน่ารัก ครอบครัวน่ารัก 🥺🤍
Note to self: อย่าลืมหาเรื่องให้ตัวเองยิ้มได้อย่างน้อยวันละครั้งนะ (⌯˃̶᷄ ⁻̫ ˂̶᷄⌯)♡
ยุครีเจนซี (Regency) เป็นอีกยุคที่อยากเล่าถึงมานาน ยุคนี้ได้เป็นเซตติ้งหนัง หนังสือ ซีรีส์เยอะมากๆ เช่น Bridgerton, Pride and Prejudice, Emma ทั้งแฟชั่นและวัฒนธรรมก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวชัดเจน เธรดนี้อยากเล่าถึงเรื่องของความรัก การจีบกัน ความสัมพันธ์ผู้คนในยุคนี้ให้อ่านกันค่ะ
ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการหาคู่จะมี ‘ฤดู’ ของมันอยู่ค่ะ ซึ่งฤดูนี้เป็นช่วงที่คนสำคัญจากทั่วทุกสารทิศมากระจุกตัวกันอยู่ในลอนดอน เราเรียกมันว่า ‘ตลาดงานแต่ง’ (Marriage Mart) ฤดูนี้จะอำนวยให้บรรดาลูกสาวลูกชายของชนชั้นสูงได้พบปะกันผ่านงานเลี้ยง มื้ออาหารค่ำต่างๆ (1)
คนที่เป็นญาติกันก็มักจะโตมาในสภาพแวดล้อมและมุมมองที่คล้ายกัน รวมทั้งต่างฝ่ายต่างก็รู้จักมักจี่ประวัติครอบครัวกันและกันเป็นอย่างดี และที่สำคัญมากคือ ทรัพย์สมบัติความมั่งคั่งก็จะปลอดภัย เพราะมันก็จะวนกันอยู่ในตระกูล ไม่ตกไปเป็นของคนอื่น (3)
คำว่า ‘ความเหมาะสม’ ระหว่างชายหญิงก็จะถูกจำกัดความโดยครอบครัว ฐานะ ความเกื้อหนุนต่างๆ แม้ว่าการดองกันทางญาติจากการแต่งงานจะต้องห้าม (เช่นว่า แม่หม้ายห้ามแต่งกับพี่น้องของสามีที่เสียไป) แต่รู้กันหรือเปล่าคะว่า ‘ญาติ’ สามารถแต่งงานกันได้! ด้วยมีเหตุผลอยู่ว่า (2)
Age of Consent (อายุความยินยอม) ในยุครีเจนซีนั้นต่ำมาก หญิงได้ตั้งแต่อายุ 12 ส่วนชายได้ตั้งแต่อายุ 14 แต่ถึงอย่างนั้น อายุที่สามารถแต่งงานได้โดยไม่ต้องได้รับคำอนุญาตจากผู้ปกครองคือ 21 ปีค่ะ ซึ่งมีหลายเคสที่หนีไปแต่งงานอยู่กินกันที่สก็อตแลนด์ ซึ่งกฎหมายแต่งงานไม่เหมือนอังกฤษ (4)
ชนชั้นทางสังคมในยุครีเจนซีเป็นสิ่งสำคัญมาก และมันกำหนดการเรียกชื่อค่ะ จะเรียกชื่อจริงของอีกฝ่ายได้ก็ต่อเมื่อเป็นสมาชิกครอบครัวหรือเพื่อนสนิทเท่านั้น เพราะงั้นถึงจะจีบกันอยู่ ก็เรียกนามสกุลและยศได้เท่านั้น (เช่นมิสเตอร์ดาร์ซี, ลอร์ดบริดเจอร์ตัน ฯลฯ) แต่งก่อนถึงจะเรียกชื่อได้นะ (5)
ถึงตรงนี้หลายคนอาจมีคำถามว่าเงินเป็นตัวกำหนดการแต่งงานล้วนๆเลยเหรอ? ก็ไม่ใช่ทั้งหมดหรอกนะคะ ถูกว่าหลายทีสถานะการเงินนั้นสำคัญ แต่คนยุคนั้นก็ให้ค่ากับความเข้ากันเช่นกัน หลายคนเชื่อว่าคนที่ชอบอะไร เชื่ออะไรเหมือนกันจะมีชีวิตแต่งงานที่ยืนยาว เพราะงั้นคู่ที่แต่งเพราะรักก็มีจริงๆ (6)
สมัยนั้นมีกฎหมายว่าด้วยเรื่องของหญิงที่ท้องไม่มีพ่อคือ Bastardy Act of 1733 ชี้ว่าหญิงโสดที่ท้องต้องบอกให้ได้ว่าใครคือพ่อของเด็ก สาวๆมีทางเลือกไม่มาก ยิ่งด้วยสังคมมักจะทำให้พวกเธอรู้สึกอับอาย หลายคนจึงนำลูกไปฝากรพ. Foundling ที่ลอนดอน ที่รับเลี้ยงเด็กที่พ่อแม่ไม่พร้อมเลี้ยง (7)
สาวๆยุคนั้นจะต้องมี ‘ความสำเร็จ’ บางอย่างเพื่อที่จะได้ควรค่าเป็น ‘ที่หมายปอง’ ค่ะ ซึ่งความสำเร็จนั้นมาได้ในรูปแบบความสามารถในการร้องเพลง เล่นดนตรี เต้นรำ การพูดคุย หรือแม้แต่งานบ้าน ได้โชว์ว่าเก่งแล้วยังโชว์ฐานะทางบ้านด้วยค่ะ แปลว่าบ้านเธอมีเงินที่จะจ้างครูมาสอนสกิลต่างๆ (8)
สิ่งต้องห้ามอีกอย่างคือการหญิงโสดและชายโสดอยู่ด้วยกันหรือพบปะกันลำพังสองต่อสองโดยที่ไม่มี chaperone (หญิงมีอายุ/มีสามีแล้วที่จะไปงานสังคมกับหญิงหรือชายที่ยังไม่ได้แต่งงาน) (9)
ถ้าใครเคยดูหนัง/ซีรีส์ยุคนี้ อาจคุ้นกับที่คู่รักจะต้องหนีไปแต่งงานที่สก็อตแลนด์ ทำไมแต่งที่อังกฤษไม่ได้? คำตอบคือไม่ได้แน่ถ้าคุณรีบค่ะ ตามกฎหมาย Marriage Act of 1753 บังคับให้ทุกการแต่งงานในอังกฤษต้องผ่านโบสถ์แห่งอังกฤษ และการประกาศการแต่งงานจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ติดกัน 3 วัน—
แถมคู่รักจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองก่อนถ้าอายุไม่ถึง เพราะงั้นสำหรับคู่ไหนที่รีบมากๆๆๆ หรืออายุไม่ถึงและที่บ้านไม่อนุญาต สก็อตแลนด์จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเพราะใกล้สุด และไม่มีกฎหมายนี้เหมือนที่อังกฤษด้วย (10)
คู่รักยุครีเจนซีจะสื่อสารกันผ่านจดหมายค่ะ ซึ่งการส่งจดหมายนี่ถือว่าเป็นเรื่องจริงจังสำหรับทั้งคู่แล้ว เพราะการเขียนจดหมายสามารถสื่อรักไปถึงอีกฝ่ายได้อย่างชัดเจน ทำให้รู้จักกันมากขึ้นด้วย ซึ่งจะเป็นฝ่ายชายที่ต้องเขียนออกมาให้ดี ในขณะที่ฝ่ายหญิงคือผู้อ่านและตัดสิน (11)
‘การแต่งงานคือการหมุนเวียนความร่ำรวย’ เพราะแบบนี้บรรดาอีลีทในยุคนี้จะเฝ้าจับตามองความเป็นไปของการจีบกันของแต่ละคนมากๆ การเดทกันจึงไม่มีทางเป็นความลับได้ และไม่มีทางหนีนิตยาสารซุบซิบหรือการนินทาได้เลย ส่วนมากแค่เห็นหญิงโสดชายโสดอยู่ด้วยกันคนก็เอาไปพูดต่อเป็นตุเป็นตะแล้วค่ะ (12)
ไม่ได้ทำเล็บมานานมาก ทำทั้งที่ก็ต้องทำแล้วกลายเป็นเงือกสิค้าบ 🧜🏻‍♀️
ขอแนะนำคลิปประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นคลิปนี้ แค่ 9 นาทีแต่สนุก+ตลกมากกกก ถึงจะไม่ลึกแต่ทำให้เราเข้าใจความเป็นมาของญี่ปุ่นได้ดี ต่อยอดให้อยากหาศึกษาต่อ อีกคลิปที่เขาทำคือประวัติศาสตร์โลก อันนี้ก็เจ๋ง คุณเขาพูดเร็วหน่อย แนะนำให้ปรับความเร็วลงนิดนึงตอนดู เพลินจริง ฝึกภาษาได้ด้วย
ซีรีส์อาหารในประวัติศาสตร์เธรดนี้ขอเสนอ: อาหารการกินของคนชนชั้นสูงในยุควิคตอเรียน ประเทศอังกฤษค่ะ มาลองอ่านกันว่าบรรดาผู้ดี ครอบครัวคนมีเงินทั้งหลายกินอะไรกันบ้าง และจะพาทุกคนไป ‘จิบน้ำชายามบ่าย’กันค่ะ รวมทั้งที่มาของประเพณีนี้ดัวย 🫖
ด้วยความที่เป็นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และมีระบบคมนาคมอย่างเช่นรถไฟขนส่ง ทำให้วัตถุดิบในการทำอาหารส่งถึงกันมากขึ้น รวมไปถึงวัตถุดิบจากต่างประเทศ แต่ก็ราคาแพงมาก ทำให้อาหารถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่คนชนชั้นสูงใช้สำหรับโชว์ความร่ำรวยของตัวเองค่ะ อารมณ์ยิ่งวัตถุดิบแปลกคือยิ่งรวย (1)
จะยังไม่พูดถึงชนชั้นแรงงานในเธรดนี้นะคะ มาเริ่มกันที่มื้อเช้าค่ะ ในยุคนี้ มื้อเช้าก็เป็นมื้อที่สำคัญ ส่วนมากก็จะเป็นอาหารคลาสสิคอย่าง เบคอนกับไข่ หรือปลาคิปเปอร์/เฮอร์ริงกับมะเขือเทศย่าง เป็นมื้อที่จัดโปรตีนหนักๆเลยค่ะ บางบ้านมื้อเช้ามีหลายคอร์สเลย แต่เป็นคอร์สเล็กๆค่ะ (2)
จานอื่นๆที่อยากแนะนำก็เช่น • Kedegree (มาจากอาหารอินเดียที่ชื่อ Khichdi) เป็นข้าวผัดใส่เนื้อปลา ไข่ นม • นมใส่น้ำตาลที่นำไปเคี่ยวจนข้น • ข้าวต้มที่ทำจากวัตถุดิบชั้นดี เช่น ฟักทอง • Potted meat คล้ายๆแสปม กินคู่กันกับขนมปัง เช่น ทำเป็นไส้แซนด์วิช (เป็นมื้อเที่ยงก็ได้นะ) (3)
ต่อมาอยากเล่าถึง Afternoon tea หรือการดื่มชายามบ่ายกันค่ะ จริงๆแล้วก็มาจากยุคนี้นี่แหละนะ เริ่มมาจากดัชเชสอันนา (Anna, the seventh Duchess of Bedford) ที่เกิดมาหิวในช่วงบ่ายสี่โมง (บ้านเธอกินมื้อค่ำกันช้าแต่กินมื้อเที่ยงไว) เธอจึงขอให้มีชา ขนมปัง เนย และเค้ก ยกมาที่ห้องของเธอ (4)