อีกอย่างที่น่าสนใจก็คือ พบว่าที่ปอมเปอีมีร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดด้วย วางขายกันริมถนนเลย มีเคาท์เตอร์ที่ใส่อาหารไว้ ส่วนมากจะเป็นที่นิยมกับคนที่มีฐานะยากจนที่ไม่มีที่สำหรับทำอาหารเองในอพาร์ทเมนท์ของตัวเอง (13)
มาคุยถึงความเป็นอยู่ของชาวปอมเปอีบ้าง ที่บอกไปในเธรดก่อนหน้าว่าอยู่ดีกินดีกันจนฟันสวย มีเรื่องของการกินอูนิ (หอยเม่นทะเล) กับเนื้อยีราฟด้วยนะคะ! (12)
อีกหนึ่งเหตุผลที่ปอมเปอีเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยว คือ โรงโสเภณี (brothel) ค่ะ บางคนเอ่ยว่าที่นี่คือศูนย์กลางเลย ซึ่งเจ้าที่ใหญ่ที่สุดในเมืองชื่อ Lupanar อยู่กลางเมืองเลย นักโบราณคดีเชื่อว่าเป็นโรงโสเภณีเพราะภายในแบ่งเป็นห้อง มีเตียง รวมถึงมีภาพวาบหวิวและราคาด้วย (11)
สมัยนั้น โรมเป็นเมืองที่ประชากรหนาแน่นมากๆ และในช่วงหน้าร้อนก็คือร้อนสุดๆ เหล่าคนร่ำคนรวยชาวโรมันก็เลยมักจะหาสถานที่พักผ่อนสำหรับพักร้อนค่ะ ปอมเปอีเป็นเมืองคนน้อย (กว่าโรม) สถาปัตยกรรมก็สวย มีย่านการค้า มีโรงอาบน้ำอีก คนเลยนิยมมาเที่ยวที่ปอมเปอีกัน (10)
ในเมือง Herculaneum ที่เป็นเมืองพี่เมืองน้องกับปอมเปอี อยู่ใกล้ภูเขาไฟเหมือนกัน ก็ประสบปัญหาเดียวกันค่ะ ประชากรหลายๆคนคิดหนีไปทางเรือ ผ่านทางอ่าวเนเปิลส์ แต่เพราะท้องฟ้ามืดสนิทและตามชายฝั่งเต็มไปด้วยหินภูเขาไฟ ทำให้เรือออกหรือเข้าไม่ได้ สุดทัายก็หนีกันไม่ทันอยู่ดี (9)
นอกจากแก๊ซ ควัน และความร้อนแล้ว สิ่งที่คร่าชีวิตผู้คนอีกอย่างคือเศษหินจากภูเขาที่ตกลงมาใส่ เหมือนฝนตกเลยค่ะ มีหลายคนที่เสี่ยงวิ่งหนีแก๊ซ แต่ก็ไม่รอดจากหิน (8)
จริงๆก่อนหน้าที่จะเกิดภูเขาไฟระเบิด ก็มีสัญญาณเตือนแล้วนะคะ แต่ด้วยว่าคนสมัยนั้นยังไม่รู้จักมัน (ยังไม่มีแม้แต่คำเรียกด้วย) คนก็เลยไม่รู้กัน มีทั้งแผ่นดินไหว ปลาลอยตายเหนือน้ำ (เพราะระดับกรดในน้ำที่เพิ่มขึ้น) แล้วก็น้ำพุที่ผุดจากใต้ดินเริ่มแห้ง (7)
การค้นพบเมืองปอมเปอีนั้นเกิดขึ้นโดยบังเอิญค่ะ โดยในช่วง ศ.ที่ 16 มีกลุ่มคนงานที่กำลังขุดช่องน้ำไหลแล้วพบกับภาพวาดปูนเปียก และตัวอักษรจารึกชื่อเมือง แต่คนก็ยังไม่รู้ว่านี่คือเมืองทั้งเมืองถูกฝังอยู่ จนผ่านไปอีก 150 ปีจนคิง Charles of Bourbon มีการสั่งขุดจริงจังในช่วง 1740s (6)
เมื่อภูเขาไฟระเบิดและเกิดควันหนาและขี้เถ้า ชาวปอมเปอีก็พยายามเอาชีวิตรอดค่ะ มีการขุดพบซากของคนที่ปรากฎเสื้อคลุมรัดเอวเอามาพันไว้รอบหน้า คือคนเขาก็พยายามรับมือเท่าที่ทำได้ล่ะนะ แต่ไม่พอจริงๆ (5)
จริงๆแล้วผู้คนในปอมเปอีไม่ได้เสียชีวิตจากเถ้าในอากาศกันเป็นส่วนมากนะคะ นั่นก็ส่วนนึง แต่ผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตทันทีจากความร้อนค่ะ ซึ่งเชื่อว่าอุณหภูมิที่พวกเขาเจอในทันทีนั้นมากถึง 1000 องศาเลยทีเดียว (4)
สิ่งหนึ่งที่นักโบราณคดีค้นพบจากการสร้างสถานการณ์จำลองด้วยโปรแกรมสามมิติ ก็คือชาวปอมเปอีแทบทุกคนฟันสวยมากกกกก เชื่อว่าเป็นผลมาจากการกินของดีๆ (ปอมเปอีอุดมไปด้วยผักและผลไม้) รวมไปถึงการที่มีธาตุฟลูออรีนมากในบริเวณรอบๆภูเขาไฟด้วย (3)
ถ้าพูดคำว่า ‘ปอมเปอี’ ขึ้นมา เราก็คงจะโยงมันเข้ากับภูเขาไฟและลาวาใช่ไหมคะ แต่ชาวปอมเปอีในสมัยนั้น ไม่รู้จักคำว่า ‘ภูเขาไฟ’ ค่ะ เพราะสมัยนั้นยังไม่มีคำที่ใช้เรียกแทนเลย คำว่าภูเขาไฟ มาจากภูเขาเอ็ทน่า (Mt. Etna) ในช่วง 1610s จากคำว่า Vulcan ซึ่งเป็นเทพโรมันแห่งไฟ (2)
ภูเขาวิสุเวียส (Mount Vesuvius) คือต้นเหตุของหายนะในครั้งนี้ ซึ่งนักโบราณคดีเชื่อว่ามันปะทุในวันที่ 24 ส.ค. 79 AD แต่มีการค้นพบไม่นานมานี้ว่าอาจมีการประเมินช่วงเวลาคลาดเคลื่อนค่ะ โดยมีการพบตัวหนังสือบนผนังที่เขียนตามปฏิทินโรมันโบราณ ซึ่งชี้ไปที่เดือนตุลาคมแทนต่างหาก (1)
ถ้าพูดถึง ‘ปอมเปอี’ เชื่อว่าแทบทุกคนจะต้องนึกถึงเหตุการณ์ปะทุของภูเขาไฟครั้งใหญ่ที่คร่าชีวิตคนไปมากมายแน่ๆ เธรดนี้อยากมาเล่าเกี่ยวกับเรื่องราวของ ‘วันสุดท้ายของปอมเปอี’ และเรื่องราวของผู้คนในนั้น ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ให้ได้อ่านกันค่ะ
วันนี้วันเกิดชิกามารุนี่นา สุขสันต์วันเกิดนะเจ้ากวางน้อย ♥
คิดถึงดิสนีย์สตอร์ที่ชิบูย่าที่สุด แค่ไปถ่ายรูปก็คุ้มแล้ว ㅜㅡㅜ
Tea gown ของสาวๆสำหรับใส่ก่อนมื้อค่ำที่บ้านแบบกิโมโนสไตล์ล่ะ จ๋วยมากกกก 🤍🤍 ก่อนมื้อค่ำถ้าไม่ได้ไปปาร์ตี้ที่ไหนก็ใส่ชุดสบายๆ คอร์เซ็ตหรือคริโนไลน์ก็ไม่จำเป็น ผ้าดูใส่สบายสุดๆเลยด้วย
อีกชุดนึงที่ดัดแปลงมาจากกิโมโน อันนี้ช่วงปี 1885 เลยนะ เห็นว่าตอนแรกชุดนี้มาในรูปแบบของ furisode (ฟุริโซเดะ) ซึ่งเป็นกิโมโนประเภทที่จะใส่โดยสาวโสดเท่านั้น ว้าวมากๆๆๆๆๆ
เพิ่งเคยเห็น ชุดช่วงปลายยุคศตวรรษที่ 19 ที่ผสมความกิโมโนจากญี่ปุ่นเข้าไป โอ้ย สวยมาก ㅜㅡㅜ เห็นว่าชุดนี้ผลิตที่เกียวโตแต่จัดจำหน่ายให้กับทางตะวันตกล่ะ
ชุดช่วงกลางวันจากปี 1860s ล่ะ สวยมากกก เหมาะกับการใส่ไปทานมื้อเที่ยงในวันคริสมาสต์จัง 🎄 ที่ต้องบอกว่าเป็นชุดช่วงกลางวัน เพราะสาวๆยุคนั้นเปลี่ยนชุดบ่อยมาก ตามเวลาและโอกาส ถ้าไปจิบชายามบ่ายก็ชุดนึง งานเลี้ยงตอนค่ำก็ชุดนึง ชุดตอนเช้าก็ชุดนึง ฯลฯ
หนึ่งในซีนที่ดีที่สุดจากคนค่อมแห่งนอเธอร์ดาม ควอซี่เชื่อมาตลอดว่าตัวเองคือปีศาจ เป็นตัวอัปลักษณ์ เพราะหน้าตาผิดแปลกและมีแต่คนกรอกหูแบบนั้นใส่ เอสเมอรัลดาเลยดูดวงอ่านลายมือของควอซี่ บอกว่ามีเส้นอายุยืน เส้นบอกว่าเป็นคนขี้อาย แต่ไม่เห็นมีเส้นปีศาจเลยนะ น่ารักมากๆ 🥺
ลืมเทียบสถาปัตยกรรมหน้าวิหารไปได้อย่างไร นี่คือบริเวณทางเข้าวิหารค่ะ จะมีนักบุญหลายท่านยืนสอดส่องความเป็นไปของวิหารอยู่ ซึ่งในซีนเปิดซีนแรกของหนัง ที่ฟรอลโล่กระทำบาปมหันต์นั้น ก็ไม่มีทางรอดพ้น ‘สายตาแห่งนอเธอร์ดาม’ ได้เป็นแน่ (13)
ฟันแฟค: คำว่า ‘ยิปซี’ จริงๆแล้วเป็น slur (การพูดป้ายสีคนอื่น) ด้วยนะคะ เป็นคำเรียกชาวโรมานีที่อพยพจากอินเดียไปยังตะวันออกกลางเข้าสู่ยุโรปและอเมริกาเหนือ ชาวยุโรปไปหาว่าเขามาจากอียิปต์เพราะผิวคล้ำเลยคิดคำว่ายิปซีมาใช้เรียก ซึ่งชาวโรมานีนี้ก็ถูกบังคับเป็นทาส ถูกกดขี่มามากมาย (9)
ถึงจะเห็นแบบนั้นแต่ประชากรเกือบ 70% เป็นคนยากจนที่ไม่ได้จ่ายภาษี แรกๆก็อยู่ได้เพราะพวกคนรวยทำบุญบริจาค (ศาสนศาสตร์ของยุคนั้นคือ ทำบุญเยอะๆจะได้ขึ้นสวรรค์) แต่ในช่วงของเซตติ้งหนัง ปารีสเกิดโรคระบาดและเต็มไปด้วยผู้อพยพจากสงคราม (เช่นเอสเมอรัลด้า ที่ถูกหาว่าเป็นพวกนอกคอก) (7)
ไม่พูดถึงเจ้าพวกนี้ก็คงไม่ได้ ในหนังดิสนีย์เรื่องอื่น ตัวเอกมักจะมีเพื่อนเป็นสัตว์ใช่ไหม แต่เรื่องนี้เพื่อนของตัวเอกคือรูปปั้นการ์กอย (Gargoyles) ค่ะ! ซึ่งสำหรับวิหารก็ทั้งใช้ตกแต่งและทำหน้าที่เป็นรางน้ำด้วย ในตำนานเชื่อว่าพวกการ์กอยมีหน้าที่ไล่วิญญาณร้ายไม่ให้มาใกล้น่ะเอง (5)