#คุยเรื่องหนังสือ มันจะมีนิตยสารเกี่ยวกับสถาปัตฯ และการก่อสร้างหัวนึงชื่อ 建築知識 แต่ละเล่มจะหยิบท็อปปิกเกี่ยวกับวงการออกแบบและก่อสร้างมาพูดต่างกัน เราไม่ได้ซื้อทุกเล่ม และไม่ได้เรียนมาทางนี้แต่อย่างใด แต่จะซื้อเล่มที่ท็อปปิกน่าสนใจและอ่านเอาไว้เขียนนิยายได้→
จะชมลูกก็ต้องคิดให้ดีๆ ก่อน 😂
มีข่าวดีเรื่องไอ้หนุ่มอายุ 24 ที่เอาเงินภาษีประชาชนซึ่งเจ้าหน้าที่โอนผิดไปเล่นคาสิโนออนไลน์หมด ตอนนี้ทางบริษัท A ซึ่งเป็นตัวกลางฝากเงินเล่นคาสิโนออนไลน์ได้คืนเงินให้กับทางต.อะบุ 35 ล้านเยนแล้ว (จาก 46 ล้านเยนที่เอาไปเล่น) เป็นที่โล่งใจของประชาชนยิ่งนักที่อย่างน้อยยังได้คืนบ้าง→
ที่โรงเรียนคุเรฮะมีเด็กติดโควิด โรงเรียนส่งเมลมาบอกแบบว่าจะติดต่อเด็กและผู้ปกครองที่ต้องตรวจ PCR โดยตรงนะคะใครไม่ได้รับการติดต่อคือแปลว่าไม่เกี่ยว ก็มาเรียนปกติได้เลย แล้วคือไม่แพร่งพรายข้อมูลส่วนตัวของใครเลยว่าคนที่ติดเรียนห้องไหนชั้นไหน คือถ้าเอ็งไม่เกี่ยวก็ไปเรียน จบ ชอบมาก →
→ไม่ใช่แค่นักเรียนเรียกกันเอง ครูก็ต้องเรียกชื่อนักเรียนตามด้วย~ซังด้วย ต่อให้เราคุยกับครูแล้วเรียกลูกเราว่าคุเรฮะจังๆ ครูก็จะเรียกว่า `คุเรฮะซัง` เสมอ ทั้งนี้ก็เพื่อลดปัญหาการรังแกกันในโรงเรียนที่เริ่มมาจากการล้อเลียนกันเรื่องชื่อ/ตั้งฉายาให้เพื่อน เพราะเพื่อนอาจจะไม่ชอบ→
รายการข่าวเช้าของญี่ปุ่นมีพูดเรื่องที่สมัยนี้ไม่ให้เด็กๆ ในโรงเรียนเรียกชื่อเพื่อนตามด้วย ~คุง ~จัง กันแล้ว แต่ให้ใช้ ~ซังหมด และไม่ให้เรียกชื่อเล่นหรือตั้งฉายาให้ด้วย เคยพูดเรื่องนี้ไปเหมือนกันเพราะอั๊กกี้กับคุเรฮะก็ต้องเรียกอย่างนี้มาตั้งแต่ป.1 ไม่เหมือนสมัยก่อนอีกแล้ว →
→คุเรฮะเคยเลื่อนเปียโนคนเดียว แล้วเพื่อนมาเรียกว่ากอริลลาเพราะเห็นแรงเยอะ เพื่อนถูกเรียกไปอบรมเลยทีเดียว😂 คุเรฮะมาเล่าให้ฟังว่าหนูก็ไม่ได้คิดอะไรนะ ตลกดีออก แต่เราก็เข้าใจนะว่ามันไม่ใช่ว่าเจ้าตัวโอเคหรือไม่ เพราะเดี๋ยวจะเกิดปัญหาว่าทำไมคนนี้ OK คนนี้ไม่ OK ทำไมเธอใจแคบ→
→แต่ก็บอกออกมาไม่ได้ และที่สำคัญคืออยากให้เราคิดถึงความรู้สึกของคนอื่นให้มากขึ้น (แต่เพื่อนสนิทกัน นอกโรงเรียนจะเรียกอะไรก็เรียกไป) ทั้งนี้เลยทำให้เด็กสมัยใหม่หลายคนไม่รู้จักคำว่า あだ名 (อาดานะ) ที่แปลว่าฉายาหรือชื่อเล่นแล้ว เพราะไม่มีการตั้งให้กันเหมือนสมัยก่อน →
→กว่าคนนั้น อะไรงี้ เรียกลงท้ายด้วย ~ซังที่แปลว่าคุณให้หมดก็ดีละ ถึงจะฟังดูห่างเหินเหลือเกินก็เถอะ😂 อีกเหตุผลนึงที่คิดว่าดี คือทางกระทรวงต้องการให้ตื่นตัวเรื่อง Gender มากขึ้น ไม่อยากให้มีการใช้~คุงหรือ~จัง เพื่อบอกให้รู้ว่านี่เด็กผู้หญิงนี่เด็กผู้ชายอะไรอย่างนี้อีกแล้ว→
→ซึ่งก็ดีมากๆ สำหรับเด็กที่ก็ไม่ได้อยากจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายเสียหน่อย เรื่อง Gender นี่ก็เป็นหัวข้อในโรงเรียนมัธยมมาก ไม่ว่าจะโรงเรียนอาคิหรือคุเรฮะก็จะย้ำเรื่องอิสระมากขึ้น มีการรณรงค์เรื่องสิทธิเสรีภาพ รุ่นของเด็กๆ ที่โตไปจากนี้ก็น่าจะมีอิสระเรื่องนี้มากขึ้นเยอะเลยแหละ
วันก่อนดูข่าวว่าแถวมารุโนะอุจิที่โตเกียว (เป็นแอเรียธุรกิจอะ คล้ายๆ สีลม) จัดแข่งชักเย่อกระชับมิตรแบบให้แต่ละบริษัทส่งพนักงานตัวเองมาแข่งชักเย่อกัน ก็มากันทั้งซาลารี่แมนและOL ในแอเรียนั้น เพื่อนก็ลงมาเชียร์กัน รวมมาแข่งกัน 40 กว่าออฟฟิศ แล้วแข่งทัวร์นาเม้นต์หลายวันด้วย 😂→
วันก่อนเล่าว่าในร.ร.ญี่ปุ่นไม่ให้เด็กเรียกกันว่า~คุง~จังกันแล้ว แต่ให้เรียก~ซังแทนเพราะอยากให้รุ่นหลังจากเราไปตระหนักเรื่องอิสระใน Gender มากขึ้น วันนี้รายการทีวีอีกรายการทำสกู๊ปว่าของเล่นเด็กสมัยนี้ก็เปลี่ยนไปเช่นกัน คือพยายามจะไม่แยกว่านี่ของผู้หญิงของผู้ชายเหมือนแต่ก่อนแล้ว →
→ตุ๊กตาน้องสาวที่เด็กผู้หญิงนิยมซื้อไปเล่นเป็นน้อง แต่ก่อนก็จะมีแต่ตุ๊กตาเด็กผู้หญิงเป็นหลัก ตอนนี้ก็มีเวอร์ชั่นน้องผู้ชายมาให้เลือกได้ด้วย ขณะเดียวกันพวกของเล่นที่เคยคิดว่าเป็นของผู้ชายเช่นเครื่องมือช่าง ก็ออกเวอร์ชั่นสีสันหวานๆ มาให้เด็กผู้หญิงด้วย เธอก็เป็นได้นะ ช่างไม้!→
→เช่นมุมขายของเล่นที่แต่ก่อนเคยแยกว่ามุมนี้ของเด็กผู้หญิง มุมนี้ของเล่นเด็กผู้ชายก็ไม่มีป้ายแยกแล้ว ผู้ผลิตของเล่นก็เปลี่ยนมาใช้สีกลางๆ อย่างเคาน์เตอร์ครัวที่แต่ก่อนจะใช้สีแบบหญิงๆ ก็เปลี่ยนมาเป็นสีกลางๆ มากขึ้น และที่กล่องก็มีภาพเด็กผู้ชายตอนเล่นด้วย ให้รู้สึกว่าใครก็เล่นได้→
→ขนาดเลโก้เอง สมัยเราเด็กๆ ตัวคนในเลโก้ก็จะเป็นตัวผู้ชายกันเกือบหมด อัศวิน ตำรวจ นักดับเพลิง หมอ หรืออาชีพต่างๆ ตอนนี้ทุกอาชีพมีผู้หญิงด้วย ดูมีความหลากหลาย ไม่ยัดเยียดให้เด็กๆ เชื่อไปว่านี่ของผู้หญิง นี่ของผู้ชายอะไรอย่างนี้อีกแล้ว พ่อแม่หลายคนก็ไม่บังคับลูกเหมือนแต่ก่อน→
→เด็กผู้ชายก็ชอบก็ใส่สีชมพูได้ เด็กผู้หญิงก็ใส่แต่สีดำได้ (คุเรฮะตอนนี้เสื้อผ้าคือแมนมากทั้งสีและดีไซน์ แต่แม่ก็ไม่ได้ว่าอะไรจ้ะ TvT) เขาสามารถชอบอะไรและอยู่กับสิ่งนั้นได้อย่างธรรมชาติก็ดีแล้ว อย่างที่บอกว่ารุ่นต่อไปอะไรๆ น่าจะดีขึ้น เติบโตไปอย่างที่อยากจะเป็นกันนะ เด็กๆ TvTb
@dekchaipooming สามารถเรียกผู้ชายลงท้ายด้วยจังหรือเรียกผู้หญิงลงท้ายด้วยคุงได้ แต่มันมีเงื่อนไขและมีบริบทการใช้ของมันค่ะ เช่นตอนเป็นเด็กเล็กๆ ใช้จังได้หมด ถ้าโตแล้วมาเรียกผชที่ไม่ได้สนิท ก็เหมือนไปหาว่าเขาเป็นเด็กอ่อน ส่วนเรียกผญว่าคุงมักจะเจอในบริษัท เพราะส่วนหนึ่งไปเรียกเขาว่า~จังจะดู SH ค่ะ😃
วันนี้ไปประชุม PTA โรงเรียนอาคิ ซึ่งเป็นโรงเรียนฝั่งม.ปลายสำหรับผู้พิการมา เพิ่งเข้าม.4 ไปเมื่อเดือนเมษา แต่ประชุมวันนี้คือพูดถึงแนวทางการเลือกคอร์สเรียนเพื่อหาอาชีพให้เด็กๆ แล้ว โรงเรียนคือมีคอร์สหลังจบการศึกษาแยกให้เด็กหลายสาย และมีระบบที่ซัพพอร์ตร่วมกับท้องถิ่น→
กรมการกีฬาของญี่ปุ่นจะปฏิรูปชมรมกีฬาในร.ร.มัธยมด้วยการโอนการทำกิจกรรมชมรมในวันหยุดไปให้หน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องดูแลแทนครูอาจารย์ของร.ร.ตั้งแต่ปีหน้า พูดง่ายๆ ก็คือ ปกติโรงเรียนมัธยมญี่ปุ่นโดยเฉพาะชมรมกีฬาจะมีซ้อมหลังเลิกเรียนและเสาร์อาทิตย์ →
งานของตำรวจญี่ปุ่นทุกปี 😊 twitter.com/tyomateee2/sta…
โลกนี้มีเรื่องจริงเหมือนนิยาย ที่ถ้าพอเอาไปเป็นพล็อตเขียนนิยายแล้วคนอาจจะหาว่าเป็นไปไม่ได้ อย่างเช่นเพื่อนแม่บ้านคนนึงที่ชีแต่งงานกับสามีมาอย่างงงๆ ขอเรียกว่าแม่บ้าน A ตอนสาวๆ แม่บ้าน A ทำงานเป็น OL อกหักเลิกกับแฟน เลยไปดื่มกับเพื่อนที่ทำงานแล้วเมา ร้องห่มร้องไห้ตะโกนบอกว่า→
→ใครจะแต่งงานกับฉันยกมือขึ้น! เพื่อนก็ยิ้มแหะๆ ขอโทษคนในร้านเพื่อนเราเพิ่งเลิกกับแฟนมาอะค่ะ บลาๆ ปรากฏ… ผู้ชายที่มาดื่มกับเพื่อนอีกโต๊ะยกมือ (ไม่ได้เมา) แล้วบอกแต่งๆ แต่งกับเขามั้ย? ตอนแรกเพื่อนฝูงและคนในร้านก็หัวเราะกันขำๆ เหมือนเห็นคนช่วยตบมุก→
→แต่แม่บ้าน A ก็ยังไปย้ำผู้ชายเขาว่าอย่าลืมมาขอฉันนะเว้ย! จากนั้นเพื่อนก็ลากกลับบ้านกันไป วันรุ่งขึ้น ผู้ชายถือดอกไม้มาให้ที่ทำงาน ขอคบด้วยจริง!😂 คือตอนเมาไปบอกเขาหมดว่าทำงานที่นี่ๆ แผนกนี้นะ อย่าลืมมาขอนะ แม่บ้าน A ก็ตะลึงไป เพราะจำไม่ได้ ชื่อผู้ชายยังไม่รู้เลย แต่พยานพร้อม→