พรุ่งนี้เลือกตั้งซ่อม นายก อบจ ชวนนิสิตจุฬาพิจารณาสนับสนุนเลือกเบอร์ 2 พรรค นตว ครับ twitter.com/Sugreeya/statu…
18 มีนาคม เลือกตั้งซ่อมนายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ ขอเชิญชวนนิสิตจุฬาฯ แสดงพลังใน CU NEX เลือกเบอร์ 2 พรรค นตว (แนวร่วมต่อต้านวัฒนธรรมอำนาจนิยม)
ขอแสดงความยินดีกับ @Themindmints จากพรรค นตว ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ ต่อจากผมที่ถูกปลดก่อนหมดวาระ ซึ่งวาระนี้จะหมดในเดือนพฤษภาคมนี้ ส่วนเลือกตั้งใหญ่จริงปีการศึกษา65 จัดขึ้นวันที่ 31 มีค นี้ ขอเชิญชวนนิสิตเลือกเบอร์1 แรปเตอร์@RTsiraphop เป็นนายก และพรรคจุฬาของทุกคน
ที่ผ่านมา ในจุฬาฯ เรามีชมรมพุทธฯ สายเดียวคือ ชมรมพุทธศาสน์และประเพณี (สายวัดพระธรรมกาย) ขณะนี้ นิสิตกลุ่มศรัทธาสายวัดป่ามีความคิดอยากจัดตั้งชมรมในมหาลัย แต่จะทำได้ต้องมีนิสิตลงชื่อให้ 200ชื่อ จิตวิญญาณหลากหลายเป็นเรื่องดี ผมขอเชิญชวนนิสิตลงชื่อสนับสนุนให้เกิดชมรมใหม่นี้ขึ้นครับ
วันนี้ เลือกตั้งใหญ่ของจุฬาฯ เลือก อบจ สภานิสิต และผู้แทนสโมสรนิสิตแต่ละคณะ ขอเชิญชวนนิสิตทุกคนออกมาใช้สิทธิกันนะครับ
ยินดีกับแรปเตอร์ @RTsiraphop เป็นนายก อบจ 65 และน้องๆพรรคจุฬาของทุกคนที่ได้รับเลือกตั้ง นี่เป็นปีที่สองของการต่อสู้ของเราและได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนนิสิต เชื่อมั่นว่าจะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้จุฬาและสังคมได้ และไม่ต้องห่วงว่ามันส์และทำได้ดีกว่ารุ่นผมแน่ๆ ผมขออนุญาตลาพักยาวๆแล้ว
เป็นกรณีศึกษาได้เลย ศาลเจ้าแม่ของจริงแม้ถูกล้อมด้วยไซต์ก่อสร้าง คนยังไปไหว้ตลอด ขณะที่ศาลเก๊ จุฬาฯสร้างโดยไม่ได้ฟังเสียงประชาชนและนิสิต ที่อยู่อย่างหวาดระแวงนิสิตและประชาชนจะเข้ามาวิพากษ์วิจารณ์ ต้องมี รปภ คอยเฝ้าศาลตลอดเวลาและถ่ายรูปหรือไล่คนออกไป twitter.com/wirojlak/statu…
บทความว่าด้วยการเปลี่ยนชื่อบางกอกสู่กรุงเทพมหานครในนิวยอร์กไทม์ มีหลากหลายความเห็นในนี้รวมถึงผมด้วย ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง แต่นิวยอร์กไทม์ได้เขียนด้วยว่า อธิบายว่าผมถูกปลดออกจากตำแหน่งนายก อบจ เมื่อเดือนกุมภาฯที่ผ่านมา จากที่เชิญนักเคลื่อนไหวมาพูด nytimes.com/2022/04/02/wor…
แนะนำหนังสืออธิบายว่าทำไมควร #ยกเลิกเกณฑ์ทหาร twitter.com/SamyanPress/st…
เมื่อวานนี้ ผมและเพื่อนนิสิตได้ทดลองนั่งวีลแชร์เดินทางไปจุดต่างๆในจุฬาฯ จากจาม9 หอกลาง หอใน ไปจามจุรี10 และสวมผ้าปิดตาใช้ไม้เท้าเดินบนทางเท้า จำลองเป็นผู้พิการทางสายตาเพื่อเข้าใจและเห็นภาพปัญหาปัญหาการออกแบบพื้นที่ในจุฬาที่ไม่ได้คำนึงถึงการใช้งานอย่างเท่าเทียมต่อคนทุกกลุ่ม(1/5)
น่าตลกปนเศร้าด้วยเมื่อไปยังอาคารจามจุรี 10 ซึ่งเป็นอาคารที่สร้างไม่นานและน่าจะออกแบบทันสมัยที่สุดในจุฬาฯ กลับมีทางลาดวีลแชร์ที่ชันมาก ไม่มีพักระหว่างทาง เมื่อไปถึงห้องน้ำคนพิการที่เขียนว่า"ห้องน้ำสำหรับทุกคน"ก็มีอักษรเบลล์แบบแปลกๆ ไม่นูน สัมผัสไม่ได้ เป็นแบบปรินซ์มาติดเฉยๆ (2/5)
ในภาพรวม การออกแบบและก่อสร้างในจุฬายังใช้แนวคิดเพื่อทุกคนได้น้อยเกินไป หลายจุดไม่ผ่านมาตรฐานกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำ ไม่ใช่เฉพาะผู้พิการ เป็นเรื่องทุกคน ร่างกายอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ต้องมีทางสะดวกปลอดภัยให้ทุกคน(3/5)
งานนี้ ฝ่ายสวัสดิการนิสิต อบจ เป็นผู้จัด โดยพี่ซาบะ จากองค์กร Accessibility Is Freedom เป็นวิทยากรพาเดินให้ความรู้พวกเรา และพาทีมงานมาร่วมเดินและถ่ายภาพตลอดเส้นทาง ในอาทิตย์ข้างหน้า พี่ซาบะ และ อบจ จะเรียบเรียงจุดต่างๆที่มีปัญหา ทำจดหมายเสนอมหาลัยให้แก้ไขในลำดับต่อไป (4/5)
ครั้งนี้ถือเป็น Chula Walk ครั้งที่1 (ชื่อที่พี่ซาบะตั้งให้) เดินจุฬาฯเพื่อความเท่าเทียม แน่ล่ะปัญหาไม่ได้หมดไปในการเดินครั้งเดียว เราต้องเดินสำรวจเข้าใจปัญหามากขึ้น แต่ทุกการเดินจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน ขอชวนเพื่อนนิสิตล่วงหน้ามาร่วมเดินจุฬาครั้งถัดไปครับ (5/5)
เมื่อไหร่จะเรียนจบ? คือคำถามยอดฮิตที่ผมมักถูกถาม แต่ทำไมเราต้องจบภายในสี่ปีด้วย จบเร็วได้คำชม จบช้าเป็นเด็กโข่ง การเรียนรู้คนเราไม่จำต้องเหมือนกัน แล้วผมก็เชื่อว่า ผมใช้ชีวิตในมหาลัยอย่างมีความหมาย ผมถ่ายทอดไว้ผ่านหนังสือเล่มใหม่ของผม "การศึกษาของนิสิตเลว: 5 ปีในรั้วจุฬาฯ" (1/2)
เล่มนี้เป็นภาคต่อจาก "นักเรียนเลวในระบบการศึกษาแสนดี" ที่ผมเคยเขียนสมัยมัธยม โดยเล่าเรื่องราวชีวิตห้าปีในจุฬาฯ หนา 450 หน้า ถือว่าช่วยค่าเทอมในฐานะคนที่เรียนไปด้วย ทำกิจกรรมไปด้วย และเขียนหนังสือหาเลี้ยงชีพไปด้วย Pre-order พร้อมลายเซ็น ได้ที่ samyanpress.bentoweb.com/th/product/857… (2/2)
โรงเรียนสวนหลวง ดำเนินการกว่า 74 ปีในย่านสวนหลวง ก่อนที่จุฬาจะขอคืนพื้นที่เพื่อสร้างไอเฮาส์ 16 ปียังไม่ได้นานมากพอที่จะทำให้ครูและนักเรียนที่นี่ลืมวันวานที่อบอุ่นของพวกเขา และนั่นทำให้เราโชคดีที่มีโอกาสพูดคุยกับพวกเขาถ่ายทอดเรื่องราวของผู้คนและ‘โรงเรียนสวนหลวง’ ออกมาเป็นบทความนี้ twitter.com/the101_world/s…
เมื่อถามถึงเรื่องอธิการบดี ม.ศิลปากร “เรื่องนี้ทำให้เห็นว่าคนที่ยิ่งใหญ่กว่าเรา คนมีตำแหน่งมากกว่าเรา เราก็ต้องยอมเขา เราตรวจสอบได้แค่คนที่เล็กกว่า แต่คนใหญ่กว่าเรา เราก็กลัว นี่คือค่านิยมปัจจุบัน ผมก็เพิ่งถูกปลดด้วยข้อหาผิดคุณธรรมข้อนั้นข้อนี้ แต่ทีกับคนอย่างนี้ใครจะตรวจสอบเขา” twitter.com/MatichonOnline…
ขอร่วมไว้อาลัย 10 ปีการจากไปของ #อากง หลายเหตุการณ์อยุติธรรมยังคงเกิดซ้ำ แต่จิตสำนึกสังคม และการก้าวพ้นความกลัวของผู้คนได้เปลี่ยนไปมากแล้ว ในภาพเดินเป็นกิจกรรมเดินอภยยาตรา (Fearlessness walk) เพื่อประท้วงให้ปล่อยตัวอากง เมื่อวันที่ 10 ธค 2554 - ผมอยู่ด้านหน้าริมขวา
ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ชัชชาติ @chadchart_trip ผู้ว่า กทม.คนที่ 17 ผมเชื่อว่า อาจารย์และทีมงานจะเปลี่ยนแปลงกรุงเทพให้เป็นเมืองน่าอยู่และเป็นธรรมได้สำเร็จ แน่ล่ะ พวกเราทุกคนก็ต้องช่วยอาจารย์โดยเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันการเปลี่ยนแปลงด้วย
จริงๆ วันนี้ผมน่าจะได้ฉลองหมดวาระทำงาน พร้อมเพื่อนๆ คนอื่น เป็นอันยุติเวลาหนึ่งๆโดยสมบูรณ์ แต่วาระของผมก็อาจจะหมดไปตั้งแต่ถูกปลดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์แล้ว หรือเรียกว่ายังไม่หมดยังไม่จบก็ได้ เพราะถูกปลดอย่างไม่ยุติธรรม ยังต้องค้างเติ่ง ยังจบไม่สมบูรณ์และเริ่มต้นใหม่ไม่เต็มที่ (1/3)